วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2550

วัดโสธรวราราม
วัดโสธรวราราม ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพระอารามหลวง "หลวงพ่อพุทธโสธร" พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร วัดโสธรวรารามวรวิหาร ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมือง ริมแม่น้ำบางปะกง เดิมชื่อว่า วัดหงษ์ สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นที่ประดิษฐาน "หลวงพ่อพุทธโสธร" พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของฉะเชิงเทรา เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ หน้าตักกว้าง ๑.๖๕ เมตร สูง ๑.๔๘ เมตร ฝีมือช่างล้านช้าง
ตามประวัติเล่าว่าได้ปาฏิหาริย์ลอยน้ำมาและมีผู้อัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัดแห่งนี้ แต่เดิมเป็นพระพุทธรูปหล่อสำริดปางสมาธิหน้าตักกว้างศอกเศษ รูปทรงสวยงามมาก แต่พระสงฆ์ในวัดเกรงจะมีผู้มาลักพาไปจึงได้เอาปูนพอกเสริมหุ้มองค์เดิมไว้จนมีลักษณะที่เห็นในปัจจุบัน หลวงพ่อพุทธโสธร ประกอบด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังโดยรอบนับตั้งแต่พื้นพระอุโบสถ เสา ผนัง และเพดานจะบรรจุเรื่องราวให้เป็นแดนแห่งทิพย์ เป็นเรื่องราวของสีทันดรมหาสมุทร จตุโลกบาล สวรรค์ดาวดึง พรหมโลก ดวงดาว และจักรวาลตำแหน่งของดวงดาวบนเพดานจะกำหนดตำแหน่งตามดาราศาสตร์ ตรงกับวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งเป็นวันยกยอดฉัตรทองคำเหนือมณฑปพระอุโบสถ และภาพของจักรวาลบนเพดานจะเป็นภาพเขียน ประดับกระเบื้องโมเสกสี จึงเป็นพระอุโบสถที่มีขนาดใหญ่และสวยงามที่สุด

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส
'โอเพนซอร์ส'(open source) คือการพัฒนาระบบใดระบบหนึ่งทางด้านคอมพิวเตอร์ด้วยเงื่อนไขที่ผู้สร้างสรรค์หรือผู้คิดค้นไม่ถือเอาสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการพัฒนาระบบนั้นๆ พร้อมทั้งเปิดเผยแหล่งต้นกำเนิดของระบบนั้น เช่น source code หรือความเป็นมาทางด้านเทคนิคของการพัฒนาระบบดังกล่าว เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นนำเอาระบบนั้นๆไปพัฒนาได้ต่อไป โดยมีเงื่อนไขทางกฎหมายบางประเภท เช่น GPL , BSD , OSL,AFL เป็นต้น
'ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส' (open source software - OSS) คือ ซอฟต์แวร์ที่เปิดเเผยหลักการหรือแหล่งที่มาของเทคโนโลยี่ของซอฟท์แวรฺนั้นให้บุคคลภายนอกได้ใช้ ภายใต้เงื่อนไขบางประการที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ทำการแก้ไข ดัดแปลงและ เผยแพร่โปรแกรมต้นฉบับ(source code) ได้ภายใต้เงื่อนไขทางข้อตกลงทางกฎหมาย เช่น GPL License หนรือ BSDLicenseซึ่งปัจจุบันมีการกำหนดโดยกลุ่มผู้กำหนดโอเพ่นซอร์ส[1]]][2]ที่วางข้อกำหนดคำนิยาม ๑๐ ประการในการกำหนดว่าเงื่อนไขที่เกี่ยวกับโอเพ่นซอร์ส คือ

เงื่อนไขจะต้องไม่จำกัดผู้หนึ่งผู้ใดในการจำหน่ายหรือการจ่ายแจกซอฟท์แวร์ให้เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของซอฟท์แวร์แบบแยกส่วนที่ประกอบด้วยซอฟท์แวร์จากหลาหลายแหล่ง และจะต้องไม่มีข้อกำหนดใดๆที่เกี่ยวกันกับค่าใช้สิทธิหรือค่าสิทธิใดๆในการจำหน่ายซอฟท์แวร์นั้น กล่าวคือให้มีการจ่ายแจกได้อย่างไม่มีการคิดค่าตอบแทน
โปรแกรมนั้นจะต้องเผยแพร่โปรแกรมต้นฉบับ source codeและจำต้องยินยอมให้มีการแจกจ่ายโปรแกรมต้นฉบับ (source code)ได้เช่นเดียวกันกับโปรแกรมที่อยู่ในรูปของการแปลงเป็นโปรแกรมที่ใช้งานได้แล้ว โดยหากแม้ไม่สามารถนำสินค้านั้นแจกจ่ายได้พร้อมโปรแกรมต้นฉบับ (source code)ก็จำต้องแหล่งแห่งที่อันเป็นสาธารณะที่สามารถเข้าถึงโปรแกรมต้นฉบับ ซอร์สโค้ดได้โดยปราศจากค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนอื่นใด ทั้งนี้โปรแกรมต้นฉบับ (source code)นั้นจะต้ออยู่ในรูปแบบที่นักโปรแกรมสามารถที่จะแก้ไขได้โดยจำต้องปราศจากซึ่งการเขียนโปรแกรมต้นฉบับในลักษณะที่เป็นการสับสนโดยเจตนา รวมทั้งต้องไม่มีลักษณะของโครงสร้างการทำงานของโปรแกรมต้นฉบับที่จำต้องมีตัวแปลภาษาเฉพาะ(translator)หรือมีส่วนที่ต้องนำเข้าสู่โปรแกรมในรูปแบบของโปรแกรมที่แปลงสภาพแล้ว (preprocessor)
เงื่อนไขจะต้องยินยอมให้สามารถทำการพัฒนาต่อยอดได้ ภายใต้เงื่อนไขการจ่ายแจกเช่นเดียวกันกับเงื่อนไขของโปรแกรมฉบับเริ่มต้น
เงื่อนไขอาจจะวางข้อกำหนดในการจำกัดเผยแพร่โปรแกรมต้นฉบับ (source code)ฉบับที่แก้ไขแล้วได้ต่อเมื่อเงื่อนไขนั้นได้ยินยอมให้มีการแจกจ่าย patch file พร้อมโปรแกรมต้นฉบับเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขโปรแกรมนั้นในเวลาทำการสร้างโปรแกรม ทั้งเงื่อนไขจำต้องยินยอมให้มีการแจกจ่ายโปรแกรมนั้นที่ได้รับการแก้ไขโปรแกรมต้นฉบับได้ แต่เงื่อนไขนั้นอาจจะกำหนดให้โปรแกรมฉบับต่อยอดใช้ชื่อที่แตกต่างหรือใช้รุ่นที่แตกต่างจากโปรแกรมฉบับเริ่มต้นก็ได้
เงื่อนไขจะต้องไม่จำกัดเฉพาะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดๆ
เงื่อนไขต้องไม่จำกัดการใช้งานของโปรแกรมในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งอันเป็นการเฉพาะ
เงื่อนไขที่กำหนดจะต้องใช้กับทุกคนที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมนั้น
สิทธิใดๆของโปรแกรมนั้นจะต้องไม่มีเงื่อนไขที่เฉพาะเจาะจงกับสินค้าหนึ่งสินค้าใด
เงื่อนไขต้องไม่กำหนดอันเกี่ยวกับข้อจำกัดในการใช้ร่วมกันกับโปรแกรมอื่น เช่นกำหนดให้ต้องใช้โปรแกรมดังกล่าวกับโปรแกรมแบบโอเพ่นซอร์สเท่านั้น
ต้องไม่มีข้อกำหนดใดๆในเงื่อนไขที่กำหนดให้ใช้เทคโนโลยี่ของใครหรือเทคโนโลยี่แบบใดเป็นการเฉพาะ

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

การประชุมเอสเปรันโตโลก
การประชุมเอสเปรันโตโลก (อังกฤษ: World Congress of Esperanto, เอสเปรันโต: Universala Kongreso de Esperanto) เป็นการร่วมประชุมภาษาเอสเปรันโตในระดับนานาชาติอันหนึ่งที่มีประวัติยาวนาน โดยจัดครั้งแรกในปี ค.ศ. 1905ที่เมือง บูลอน ซู แมร์ ในประเทศฝรั่งเศส โดยมีการจัดต่อเนื่องทุกปียกเว้นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และ สงครามโลกครั้งที่ 2
การประชุมจัดขึ้นทั่วโลกและเปลี่ยนสถานที่จัดทุกปี ในประมาณช่วงปลายเดือนกรกฎาคม หรือเดือนสิงหาคม โดยในปี ค.ศ. 2004 จัดที่ปักกิ่ง ประเทศจีน มีผู้เข้าร่วม 2,031 คน และ ค.ศ. 2005 จัดที่ประเทศลิทัวเนีย มีผู้เข้าร่วม 2,235 คน โดยในครั้งต่อไป ปี ค.ศ. 2006, 2007, 2008 จัดที่ ฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี, โยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น และ รอตเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ตามลำดับ

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550

หนังสือกินเนส
กินเนสส์บุ๊ค (Guinness World Records) เป็นหนังสือที่บันทึกที่สุดในโลกด้านต่างๆ โดยออกเป็นรูปแบบหนังสือรายปี

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2550

GATT
ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและภาษีศุลกากร (แกตต์) หรือ General Agreement on Tariffs and Trade (GATT) เป็นความตกลงระหว่างชาติเพื่อส่งเสริมประโยชน์ทางการค้าและเศรษฐกิจที่ร่วมกันลงนามเมื่อ พ.ศ. 2490 มีเป้าหมายเพื่อเพื่อให้เกิดการค้าเสรีโดยการลดภาษีศุลกากรระหว่างชาติ การเจรจารอบที่ 8 ที่เรียกว่า "รอบอุรุกวัย" (Uruguay Round) เกิดปัญหาซับซ้อนและใช้เวลาเจรจากันนานถึง 7 ปี (พ.ศ. 2529-2536) และได้รับการต่อต้านมากที่สุดโดยเฉพาะเกษตรกรชาวฝรั่งเศส ผลการเจรจามีการตกลงลดภาษีมากถึงร้อยละ 40 และมีผลให้เกิดการจัดตั้งองค์การนานาชาติขึ้มาใหม่คือ "องค์การการค้าโลก" (WTO) เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง
องค์การการค้าโลก จะทำหน้าที่ดูแลข้อตกลงย่อย 3 ข้อตกลง คือ ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและภาษีศุลกากร (General Agreement on Tariff and Trade; GATT) ที่ดำเนินการมาก่อนหน้านี้, ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Services; GATS) และ ความตกลงว่าด้วยการค้าที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา (The agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights; TRIPS)

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ค.ศ. 481
พุทธศักราช 1024 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 481 - มีนาคม ค.ศ. 482
มหาศักราช 403 วันเกิด

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550


ส่วนหนึ่งของ พุทธศาสนา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เพื่อความดับทุกข์ · นิพพาน
พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์
อภิญญา แปลว่า ความรู้ยิ่ง หมายถึงปัญญาความรู้ที่สูงเหนือกว่าปกติ เป็นความรู้พิเศษที่เกิดขึ้นจากการอบรมจิตเจริญปัญญาหรือบำเพ็ญกรรมฐาน
อภิญญา อภิญญาในคำวัดหมายถึงคุณสมบัติพิเศษของพระอริยบุคคลซึ่งเป็นเหตุให้มีอิทธิฤทธิ์ต่างๆ มี 6 อย่าง คือ

อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ เช่น ล่องหนได้ เหาะได้ ดำดินได้
ทิพพโสต มีหูทิพย์
เจโตปริยญาณ กำหนดรู้ใจผ็อื่นได้
ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
ทิพพจักขุ มีตาทิพย์
อาสวักขยญาณ รู้การทำอาสวะให้สิ้นไป

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2550

หญ้าฝรั่น
หญ้าฝรั่น (ออกเสียง ฝะ-หรั่น) จัดเป็นเครื่องเทศและเครื่องยาที่สำคัญอย่างหนึ่ง มีการนำเข้าในประเทศไทยจากประเทศแถบอาหรับ (เช่น เปอร์เซีย) หรือชาวตะวันตก มาช้านาน
หญ้าฝรั่น ในภาษาอาหรับเรียก ซะฟะรัน เป็นไม้ดอกสีม่วง เพาะพันธุ์ด้วยหัว อยู่ในตระกูลเดียวกับไอริส จึงมีเกสรข้างในสีเหลืองทอง เมื่อแห้ง ใช้เติมรสและกลิ่นในอาหาร และใช้เป็นสีย้อมได้ด้วย หญ้าฝรั่นมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัวและมีรสค่อนข้างขม ชาวตะวันออกและผู้คนแถบทะเลเมดิเตอเรเนียนนิยมใช้ในการปรุงรสและแต่งสีแต่งกลิ่นอาหารมาแต่ครั้งโบราณกาล โดยเฉพาะในข้าวและอาหารจำพวกปลา ส่วนชาวอังกฤษ สแกนดิเนเวียน และผู้คนแถบทะเลบอลข่านใช้ผสมกับขนมปัง นับว่าเป็นส่วนผสมที่สำคัญในตำรับอาหารฝรั่งเศสด้วย
สีเหลืองทองสำหรับย้อมผ้าละลายน้ำได้นั้น กลั่นมาจากเกสรหญ้าฝรั่นในอินเดียสมัยโบราณ หลังพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานไม่นานนัก เหล่าสงฆ์ทั้งหลายก็ใช้หญ้าฝรั่นเป็นสีย้อมจีวรอย่างกว้างขวาง สีย้อมดังกล่าวยังใช้สำหรับภูษาอาภรณ์ของกษัตริย์ ในหลายวัฒนธรรม
มีการหว่านเครื่องเทศหญ้าฝรั่นนี้ภายในอาคารต่างๆ เช่น ภายในราชสำนัก หอประชุม โรงละคร และโรงอาบน้ำของกรีกและโรมัน เพื่อเป็นเครื่องหอม ภายหลังมีความผูกพันเป็นพิเศษกับเฮไตไร หรือนางคณิกาของกรีก บรรดาถนนสายต่างๆ ของโรมก็ล้วนโปรยปรายไปด้วยหญ้าฝรั่น เมื่อจักรพรรดิเนโรเสด็จเข้ามายังพระนคร
หญ้าฝรั่นนี้เชื่อกันว่าเป็นพืชพื้นเมืองแถบทะเลเมดิเตอเรเนียน เอเชียไมเนอร์ และอิหร่าน โดยมีการปลูกมาช้านานแล้วในอิหร่าน และแคว้นแคชเมียร์ของอินเดีย และเข้าใจว่ามีการนำเข้าไปยังแผ่นดินจีนเมื่อครั้งพวกมองโกลบุกรุก
ในตำราแพทย์แผนโบราณของจีน สมัยยุคศตวรรษที่ 16 นั้นก็ยังมีกล่าวถึงหญ้าฝรั่นโดยแพทย์จีนเรียกหญ้าฝรั่นนี้ว่า ซีหงฮวา ซึ่งแปลว่า ดอกไม้สีแดงจากตะวันตก ส่วนชาวอาหรับและพวกแขกมัวร์ในประเทศสเปนก็รู้จักการปลูกหญ้าฝรั่นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1504 และยังมีการกล่าวไว้ในตำราทางการแพทย์ของอังกฤษ เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 10 (พ.ศ. 1444- 1543) แต่อาจสูญหายไปจากยุโรป กระทั่งพวกครูเสดนำเข้าไปอีกครั้ง ในช่วงสมัยต่างๆ หญ้าฝรั่นมีค่ามากกว่าทองคำเมื่อเทียบน้ำหนักกัน และยังคงเป็นเครื่องเทศที่มีราคาแพงที่สุดในโลกจนปัจจุบัน
ส่วนตำราการแพทย์แผนโบราณของไทยนั้น หญ้าฝรั่นถือได้ว่าเป็นของที่สูงค่ามีราคาแพงมาก จัดเป็นตัวยาที่ช่วยในการแก้ลมวิงเวียน บำรุงหัวใจ เป็นตัวยาหลักที่ใช้ในตำรับยาหอมต่างๆ และยังใช้บดเป็นผงให้ละเอียดแล้วละลายในน้ำต้มสุกที่ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วกินเป็นน้ำกระสายยาคู่กับการกินยาตำรับต่างๆอีกด้วย
ปัจจุบันนี้มีการปลูกหญ้าฝรั่นกันมากในสเปน ฝรั่งเศส ซิซิลี อิตาลี อิหร่าน และแคชเมียร์ จะมีการเก็บเกสรตัวเมียดอกละสามอัน นำไปวางแผ่ไว้ในถาด ย่างไฟที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง นำมาแต่งรสชาติและกลิ่นของอาหาร หญ้าฝรั่นแห้งที่ได้ 1 กิโลกรัม เท่ากับผลผลิต 120,000 - 160,000ดอก ดังนั้นจึงต้องเก็บเกสรตัวเมียจากดอกของหญ้าฝรั่นด้วยมือจำนวนมากถึงจะได้ปริมาณตามที่ต้องการ ทำให้หญ้าฝรั่นจัดเป็นเครื่องเทศที่มีราคาแพงที่สุดในโลกโดยน้ำหนักในบรรดาเครื่องเทศทั้งหลาย ซึ่งโดยเฉลี่ยขายปลีกกันประมาณกิโลกรัมละ 77,700 บาท ทำให้ในปัจจุบันมีการเอาดอกคำฝอย ซึ่งมีลักษณะที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกันมากกับหญ้าฝรั่นแต่มีราคาที่ถูกกว่ามากมาผสมปนอยู่ด้วยในเวลาที่ขายในร้านขายเครื่องเทศและสมุนไพรต่างๆ

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550


ไคฟง (จีน: 开封, 開封; พินอิน: Kāifēng) เป็นเมืองในมณฑลเหอหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน อยู่ริมฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำฮวงโห (หรือแม่น้ำเหลือง) ไคฟงเป็นหนึ่งในเมืองหลวงเก่าของจีน
ไคฟง เป็นเมืองที่ใต้เท้าเปาบุ้นจิ้น ในรัชสมัยฮ่องเต้เหยินจง แห่งราชวงศ์ซ่ง ซึ่งได้ทำการพิพากษาและเป็นเจ้าเมือง
ไคเฟิง

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ทับศัพท์
การทับศัพท์ คือการถ่ายทอดคำที่เขียนด้วยอักษรในภาษาหนึ่ง เพื่อใช้เขียนด้วยอักษรอีกแบบหนึ่งสำหรับใช้ในภาษานั้นๆ เพื่อให้สามารถเขียนคำต่างประเทศ ด้วยภาษาอักษรในภาษานั้นๆ ได้สะดวก เช่น การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ (ที่เขียนด้วยอักษรโรมัน) มาเพื่อเขียนด้วยอักษรไทย สำหรับการใช้ในภาษาไทย
การทับศัพท์นั้น มีหลักกว้างๆ อยู่ 2 ประการด้วยกัน คือ

การถ่ายถอดเสียง เป็นการถ่ายถอดวิธีการเขียนคำภาษาหนึ่ง ไปสู่การเขียนในภาษาที่สอง โดยยึดหลักเทียบเสียงเป็นสำคัญ ข้อดีของการทับศัพท์แบบนี้คือ ทำให้ผู้ใช้ภาษาที่สองสามารถอ่านออกเสียงคำนั้นๆ ได้ใกล้เคียงกับภาษาเดิม แต่มีข้อเสียคือ ทำให้ไม่สามารถคาดเดาได้ หรือถ่ายถอดกลับไปยังภาษาเดิมได้ หลักการนี้ได้ใช้สำหรับการทับศัพท์โดยทั่วไป
การถ่ายถอดตัวอักษร (ปริวรรต)เป็นการถ่ายถอดคำศัพท์แบบ "ตัวต่อตัว" เพื่อความสะดวกในการเขียนเพียงอย่างเดียว มักใช้กับภาษาโบราณ เช่น ถ่ายถอดอักษรมอญโบราณ เป็นอักษรไทยปัจจุบัน, ถ่ายถอดอักษรขอมโบราณ เป็นอักษรไทย การถ่ายถอดตัวอักษรนั้น เคร่งครัดในการคงตัวอักษร และเครื่องหมายวรรคตอนทุกอย่างเอาไว้ เพื่อให้ผู้ที่อ่านภาษานั้นๆ ได้เข้าใจเสมือนอ่านต้นฉบับจริง ทั้งนี้การปริวรรตไม่สนใจความแตกต่างของเสียงในภาษา

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550

เจียง ไคเช็ค
เจียง ไคเชก (ภาษาจีนกลาง: เจียง จุง-เช็ง : Chiang Kai-Shek, Chiang chung-cheng) เกิดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2430 (ค.ศ. 1887) จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยของญี่ปุ่นและกลับมาเป็นขุนศึกค้ำบัลลังก์ของ ดร. ซุน ยัตเซน ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) รวมอายุได้ 88 ปี มีวันเกิดตรงกับวันปล่อยผีของฝรั่ง (Holloween) และมีวันตายตรงกับวันไหว้ผีของจีน (เชงเม้ง)
เป็นผู้นำของจีนระหว่าง พ.ศ. 2471 ถึง พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1928) ถึง (ค.ศ. 1949) ต่อมาได้ไปตั้งรัฐบาลจีนคณะชาติที่ไต้หวัน เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมอยู่ในการปฏิวัติ ปี พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) ต่อต้านรัฐบาลของหยวนซื่อไข่ และตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) ได้เข้าร่วมรัฐบาลพรรคก๊กมินตั๋งของ ดร. ซุน ยัตเซน และเมื่อ ซุน ยัตเซน ถึงแก่อสัญกรรม ในปี พ.ศ. 2468 (ค.ศ. 1925) เจียง ไคเชกได้เป็นผู้นำพรรคแทน และพยายามรวบอำนาจในพรรคด้วยการกำจัดแกนนำพรรคคนอื่น ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้งด้วยอำนาจทหารและอำนาจเงิน โดยมีการต่อท่อสายสัมพันธ์อันดีกับสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น กระทั่งสามารถยกตนเองก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีของจีนแผ่นดินใหญ่
เจียง ไคเชกย้ายที่ตั้งรัฐบาลไปอยู่เมืองหนานจิง (นานกิง) ซึ่งอยู่ใกล้กับภูมิลำเนาเดิมบ้านที่มณฑลเจ้อเจียง แต่จากปัญหาฉ้อราษฎร์บังหลวง และถูกซ้ำเติมด้วยการรุกรานของกองทัพญี่ปุ่นจนเกิดความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า เป็นเหตุให้เกิดกลุ่มต่อต้านขึ้นมามากมายเพื่อโค่นล้มการปกครองของพรรคก๊กมินตั๋ง
กลุ่มที่สำคัญที่สุดคือ พรรคคอมมิวนิสต์จีน จงกว๋อก้งฉ่านต่าง โดยมีเหมาเจ๋อตุง เป็นแกนนำสำคัญของพรรคนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) จนกระทั่งกลายเป้นสงครามกลางเมือง ระหว่างปี พ.ศ. 2470 ถึง พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1927) ถึง (ค.ศ. 1937) และระหว่างปี พ.ศ. 2489 ถึง พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1946) ถึง (ค.ศ. 1949) แต่บางครั้งทั้งสองฝ่ายก็หันมาร่วมมือกัน เช่น ในสงครามจีน-ญี่ปุ่น ระหว่างปี พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) ถึงปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) และในสงครามโลกครั้งที่สอง
โดยในช่วงหลังปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) การทำสงครามกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ รัฐบาลเจียง ไคเชกเป็นฝ่ายแพ้ต้องอพยพไปตั้งรัฐบาลจีนคณะชาติที่ไต้หวันในปี พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาด้วยดีตลอดมาจนถึงปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) จีนคณะชาติที่ไต้หวันถึงถูกถอดออกจากการเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ เปิดทางให้สาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าเป็นสมาชิกแทน