วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2550
บ้านหนองขาว : " ไอ้บุญทองบ้านหนองขาว" อ.ท่าม่วง จ. กาญจนบุรี
บ้านหนองขาว ตั้งขึ้นมาจากการรวมตัวของชาวบ้านสองหมู่บ้าน คือ หมู่บ้านดงรัง และหมู่บ้านดอนกระเดื่อง ที่ถูกพม่าเผาทำงายเสียหาย เมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 ซึ่งได้รวมตัวกันตั้งหมู่บ้านใหม่ เมื่อสมเด็จพระเข้าตากสินมหาราชทรงกู้เอกราชแล้ว ณ บริเวณหนองน้ำใหญ่ ซึ่งเต็มไปด้วยหญ้าดอกขาว จึงเรียกว่า "หนองหญ้าดอกขาว" และเรียกสั้น ๆ ต่อมาว่า " หนองขาว" ใน�! �ี่สุด
ร่องรองของหนองหญ้าดอกขาวที่ว่านี้ ยังพอมีให้เห็นในหมู่บ้านหนองชาวที่หมู่ 3 หรือหมู่คอกวัว ซึ่งปัจจุบันเป็นหนองน้ำที่ถมอย่างไรก็ยังมีสภาพที่เป็นหนองน้ำอยู่ เพราะเมื่อทิ้งไว้สักระยะหนึ่ง ก็ปรากฏว่ามักมีน้ำเอ่อขังขึ้นมาอยู่เสมอ
ส่วนหมู่บ้านดงรังอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านหนองขาว มีร่องรอยซากปรักหักพังของเจดีย์ พระอุโบสถ และพระพุทธรูป ที่วัดส้มใหญ่ หรือวัดใหญ่ดงรัง ซึ่งเคยถูกพม่าเผาทำลายกลายเป็นวัดร้าง และต่อมาได้รับการบูรณะใหม่เมื่อพ.ศ. 2525 และหมู่บ้านดอนกระเดื่องอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านหนองขาว ราว 1 กิโลเมตร ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนหนองขาวโกวิทพิทยาคม เดิ�! �หมู่บ้านดอนกระเดื่องมีวัดโบสถ์ เป็นวัดประจำหมู่บ้าน แต่ถูกพม่าเผาทำลายเหลืองเพียงซากปรักหักพังของเจดีย์เช่นกัน
คนหนองขาวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก พ้นที่ทำนาทางด้านจะวันออกของหมู่บ้านเรียกกันว่า " นาทุ่ง " หรือ "นาลุ่ม " อยู่ใกล้แหล่งน้ำ มีน้ำเพียงพอแก่การทำนา ส่วนทางด้านจะวันตก เรียก " นาป่า" ซึ่งต้องรอฤดูฝน เพราะไม่มีแหล่งน้ำ
"ไอ้บุญทองบ้านหนองขาว" เป็นละครเพลงที่ถ่ายทอดเรื่องราวทางวัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวบ้านหนองขาว จากบทประพันธ์ของ พงอนันต์ สรรพานิช เมื่อครั้งเป็นผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคกลาง เขต 1 อยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวหมู่บ้านวัฒนธรรมบ้านหนองขาว โดยเริ่มแสดงครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2541 แต่แรก�! �ริ่มนั้น " ไอ้บุญทองบ้านหนองขาว" จัดแสดงในวันสงกรานต์ ซึ่งเป็นงานประจำปีงานหนึ่งของหมู่บ้านหนองขาว โดยใช้พื้นที่ว่างของวัดอินทาราม หรือวัดหนองขาว ที่ปัจจุบันเป็นตลาดนัด เป็นที่จัดแสดงมาก่อน ต่อมา พ.ศ.2543 จึงมีการจัดสร้างที่แสดงอย่างถาวรเป็นบ้านเรือไทย 2 ชั้น ขึ้นที่ลานหน้าวัดอินทาราม โดยพื้นที่บนระเบียงบ้าน เวที ปูนหน้าบ้าน และสนามหญ้าหน้าเวท�! � เป็นเวทีแสดง รวมทั้งเวท� ��ด้านจ้างอีกหนึ่งเวที ขณะที่ผู้ชมถูกจัดให้ปู่เสื่อนั่งชมอยู่ตรงลานหน้าบ้านที่เป็นสนามหญ้า แวดล้อมไปด้วยต้นไม้ และซุ้มไม้ไผ่หลายหลังที่ทำเป็นศาลาอาหารสำหรับแขกผู้มาเยือน
โรงละครกลางแจ้งแห่งนี้ ได้ชื่อว่า " บ้านไอ้บุญทอง" เกิดจากความร่วมแรงร่วมใจกันของคนหนองขาว ซึ่งมีพระครูถาวรกาญจนนิมิต เจ้าอาวาสวัดอินทาราม เป็นศูนย์รวมจิตใจและได้รับงบประมาณสนับสนุนบางส่วน จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ( ททท.) ไม่เพียงเป็นเป็นโรงละคร ภายในบ้านไอ้บุญทอง ยังรวบรวมข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้านหนองขาวไว้ให้ชมด้วย โดยจัดเป็นห้องต่า�! � ๆ เช่น ห้องครัว จำลองบรรยากาศครัวไทยพื้นบ้านและอุปกรณ์ในการหุงต้มแบบโบราณ ห้องนอน มีเปลเด็ก ที่ผูกขึ้นด้วยผ้าขาวม้าพื้นบ้านหนองขาว และยังมีภาพถ่ายขาว –ดำ สมัยเก่าติดไว้ให้ชมตามฝาห้อง เช่น ภาพคนหนองขาวสมัยก่อน ภาพเชยศึกในเมืองกาญจน์เมื่อครั้งสมครามโลก ครั้งที่ 2
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น