วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2550

เลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสอง
เลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสอง หรือ บีซีดี (Binary-coded decimal : BCD) เป็นระบบเลขที่ใช้เลขฐานสองจำนวนอย่างน้อย 4 บิตแทนเลขฐานสิบ 0 ถึง 9 ในแต่ละหลัก เพื่อความสะดวกในการแสดงผลจากการคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่าง เลขฐานสิบ 127 จะสามารถแปลงเป็นบีซีดีได้เป็น 0001 0010 0111 เป็นต้น
โดยพื้นฐานแล้วบีซีดีจะต้องมีบิตอย่างน้อย 4 บิตจึงจะแสดงผลออกมาได้ครบทั้ง 0-9 แต่ในทางปฏิบัติแล้วเมื่อนำบีซีดีไปคำนวณ เช่นการบวกหรือการลบ อาจจะต้องมีบิตอื่นเพิ่ม เพื่อใช้ในการทดเลขหรือการกำหนดเครื่องหมาย และเนื่องจากบีซีดีเป็นระบบเลขที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานในคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก เลขในแต่ละบิตจึงสามารถเก็บอยู่ในหน่วยความจำได้

เลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสอง ประเภทของบีซีดี
คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันได้กำหนดหน่วยของความจุไว้ว่า 1 ไบต์เท่ากับ 8 บิต นั่นหมายความว่าเราสามารถเก็บบีซีดีได้ 1-2 หลักต่อ 1 ไบต์ ถ้าเก็บ 2 หลักจะเรียกว่า "packed BCD" และถ้าเก็บหลักเดียวเรียกว่า "unpacked BCD" ซึ่งสามารถดึงค่าออกมาคำนวณง่ายกว่า แต่กินเนื้อที่มากกว่าแบบแรกเป็นเท่าตัว ตัวอย่างเช่น เลขฐานสิบ 2653 เมื่อแปลงเป็นรูปแบบ packed จะได้เป็น 0010 0110 0101 0011 (ใช้หลักละ 4 บิต) ในขณะที่รูปแบบ unpacked จะเป็น 00000010 00000110 00000101 00000011 (เติม 0 ในบิตที่เหลือจนครบ 8 บิต)

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2550

กาลิทาส
กาลิทาส (ภาษาสันสกฤต : कालिदास) เป็นกวีและนักเขียนบทละครภาษาสันสกฤตที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่ง ได้รับการยกย่องเป็นรัตนกวี และกวิกุลคุรุ (ครูใหญ่แห่งกวีทั้งปวง) กาลิทาสเป็นกวีที่นับถือพระศิวะ และได้เขียนบทกวีและบทละครจำนวนมากตามขนบของปกรณัมและปรัชญาฮินดู ชื่อ กาลิทาสนั้น มีความหมายว่า ทาสรับใช้เจ้าแม่กาลี

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550

คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี หมายถึง คณะบุคคลฝ่ายบริหารในระดับสูงสุดของรัฐบาล ที่เข้ามาบริหารประเทศ โดยรัฐมนตรีจะแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2550

สภาสถาปนิก

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550


มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐแบบไม่จำกัดรับ (มหาวิทยาลัยเปิด) หนึ่งในสองแห่งของประเทศไทย

ปณิธานมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ตราประจำมหาวิทยาลัย
ต้นปาริชาตหรือต้นทองหลางลาย ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
เสื้อครุยพระราชทาน
มสธ.
สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระราชลัญจกรใน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นรูปพระแสงศรสามองค์เรียงกัน ภายใต้พระมหามงกุฏ นำมาประกอบกับส่วนยอดของเจดีย์ ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของกรุงสุโขทัย เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย

ตราประจำมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยกำหนดให้ ต้นปาริชาตหรือต้นทองหลางลายเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย เนื่องจากมีใบเป็นสีเขียวและเส้นใบเป็นสีทอง ตรงกับสีเขียวทองซึ่งเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย

สีประจำมหาวิทยาลัย

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาศิลปศาสตร์
สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
สาขาวิชานิติศาสตร์
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์
สาขาวิชารัฐศาสตร์
สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
สาขาวิชานิเทศศาสตร์
สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2550


คิมาริ หรือในชื่อเต็มว่า คิมาริ รอนโซ่ (「キマリ=ロンゾ」 Kimari Ronzo) เป็นตัวละครหนึ่งในเกม ไฟนอลแฟนตาซี X

คิมาริ คิมาริในไฟนอลแฟนตาซี X
คิมาริ เป็นชาวรอนโซ่ ซึ่งเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีลักษณะเหมือนสิงโต คิมาริมีขนสีน้ำเงินและเป็นผู้คุ้มกันคนแรกและซื่อสัตย์ของยูน่า โดยดูแลยูน่ามาตั้งแต่อายุ 7 ขวบ คิมาริไม่ได้รับการยอมรับจากพวกรอนโซ่เพราะความสูงน้อยกว่าคนอื่นและเขาบนศีรษะซึ่งถูกหักโดยไบรันที่เป็นชาวเผ่ารอนโซ่ด้วยกัน คิมาริเป็นคนพูดน้อยเพราะอายที่มีเขาที่โดนหัก คิมาริเคยสาบานไว้ว่าจะไม่กลับไปที่เทือกเขากากาเซ่บ้านเกิดของเขาอีก แต่ในที่สุดคิมาริก็กลับมาที่บ้านเกิดอีกครั้งระหว่างการเดินทางแสวงบุญของยูน่า
ครั้งแรกที่คิมาริพูดในเกมไฟนอลแฟนตาซี X คือ หลังจากปฏิบัติการที่มิเฮ็น โดยย้ำเตือนกับทีดัสซึ่งตกตะลึงที่ได้ยินคิมาริพูด โดยเขาย้ำเตือนให้ทีดัสให้ยิ้มแย้มและทำตัวสดใสเพื่อช่วยให้ยูน่ารู้สึกร่าเริงในระหว่างการเดินทางแสวงบุญ และหลังจากนั้นคิมาริจะพูดเท่าที่จำเป็นและจะเป็นคำแนะนำที่มีประโยชน์เสมอ และจะพูดโดยไม่มีการใช้สรรพนามแทนตัวเอง เช่น "คิมาริ (ตัวเขา) บอกการิคหลายครั้งแล้ว กำลังไม่ได้ช่วยให้แก้ปัญหาได้"
คิมาริจัดอยู่ในกลุ่มนักรบมังกรตามเกมไฟนอลแฟนตาซีภาคก่อน ๆ เนื่องจากความสามารถทางด้านอาวุธและการโจมตีด้วยการกระโดดและยังจัดอยู่ในกลุ่มนักเวทมนตร์น้ำเงิน โดยคิมาริมีความสามารถพิเศษที่เรียกว่า แลนเซ็ท ทำให้เรียนรู้การโจมตีของศัตรูได้ (เป็นความสามารถของนักรบมังกรในไฟนอลแฟนตาซี V) คิมาริเป็นตัวละครเพียงตัวเดียวที่ไม่มีตำแหน่งเริ่มต้นที่แน่นอนบนสเฟียร์กริด ทำให้ผู้เล่นสามารถเลือกให้คิมาริมีความสามารถตามที่ต้องการได้ตั้งแต่เริ่มเล่นเกม
คิมาริเริ่มคุ้มครองยูน่าตั้งแต่เธอตัดสินที่จะเป็นผู้อัญเชิญ หลังจากออกจากเทือกเขากากาเซ่เมื่อ 10 ปีก่อนที่เนื้อเรื่องในไฟนอลแฟนตาซี 10 เริ่มขึ้น คิมาริได้พบกับออรอนที่ใกล้ตายที่บีแวลล์หลังจากพยายามออกมาจากซานัคคันด์ ออรอนขอร้องให้คิมาริช่วยทำให้คำสัญญาของเขาต่อผู้อัญเชิญบราสก้าซึ่งเป็นพ่อของยูน่าสำเร็จ โดยให้พายูน่าออกจากบีแวลล์และพาไปที่เกาะบีเสดซึ่งยูน่าจะเติบโตได้อย่างสงบสุข
คิมาริรักษาสัญญาตามที่ออรอนขอร้องและพายูน่าถึงเกาะบีเสดอย่างปลอดภัย เมื่อคิมาริจะจากไป ยูน่าได้ขอร้องให้เขาอยู่กับเธอต่อไปและคิมาริก็ยินยอม เหตุการณ์สำคัญของคิมาริในไฟนอลแฟนตาซี X คือการต่อสู้ระหว่างคิมาริกับไบรันและเยนเค้ที่เทือกเขากากาเซ่ซึ่งทำให้คิมาริเติบโตขึ้น โดยการต่อสู้ครั้งนี้เป็นการทดสอบว่าคิมาริมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะผ่านเทือกเขานี้หรือไม่และเขาก็ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า เขาเหมาะที่จะเป็นชาวรอนโซ่โดยเอาชนะทั้งคู่ได้ ไบรันภูมิใจที่เห็นคิมาริเหนือกว่าเขา นอกจากนั้น ชาวรอนโซ่ได้ให้คำปฏิญาณว่าจะไม่ให้ผู้ใดผ่านไปเพื่อตามล่ายูน่าและเพื่อน ๆ ได้ แต่โชคร้ายที่ชาวเผ่ารอนโซ่ได้ถูกฆ่าอย่างโหดเหี้ยมเมื่อพยายามที่จะขัดขวางเซย์มัวร์ (ผู้นำชาวกวาโด้ที่มีความเชื่อว่าความตายเท่านั้นที่จะนำความสงบสุข) ที่กำลังตามล่ายูน่านั่นเอง

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2550


พุทธศักราช 1536 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 993 - มีนาคม ค.ศ. 994
มหาศักราช 915 พ.ศ. 1536 วันเกิด

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2550

หลุมดำ (แก้ความกำกวม)
หลุมดำ อาจหมายถึง


หลุมดำ ในเอกภพ
หลุมดำ รายการโทรทัศน์

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550


อัจฉริยะข้ามคืน ล้านที่ 14
อัจฉริยะข้ามคืน ล้านที่ 14

ผู้เข้าแข่งขัน
วิบูลย์ รักษ์เสรี ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายดูแลสัตว์น้ำ อันเดอร์วอเตอร์เวิลด์ พัทยา

วิทยากรพิเศษประจำสัปดาห์

อาหารและอุปกรณ์การกิน
อุปกรณ์ส่องสว่าง
เครื่องอุปโภค
อุปกรณ์ช่วยบันทึก
อุปกรณ์ตัด ติด ต่อ ห่อหุ้ม
โทรศัพท์มือถือที่โทรได้ครั้งเดียวไม่เกิน 1 นาที
อุปกรณ์ช่วยมัดและเลนส์นูน
ปริศนา ที่จะใช้ในภารกิจที่ 3 อุปกรณ์ในชุดยังชีพ
มีเวลา 30 วินาที จำตำแหน่งสัตว์ทะเล 8 คู่ จากนั้นจะปิดฝาครอบแล้วผลักกันเปิด ถ้าถูกคู่เปิดต่อ ถ้าผิดจะปิดฝาครอบแล้วหมุนโต๊ะ 90 องศา โดยแบ่งเป็นทีมละ 2 คน ทีมที่ใช้จำนวนครั้งในการเปิดมากที่สุด ตกรอบ

ภารกิจที่ 1
อันดับ 1 ชาคริต อาจารย์สอนแต่งหน้า - รัฐ นักธุรกิจร้อยล้าน เปิด 9 ครั้ง ใช้เวลา 24 วินาที
อันดับ 2 นุจริน นักศึกษาทุนวิจัย สวทช. - น้ำเพชร ครูสอนฟิตเนส เปิด 9 ครั้ง ใช้เวลา 47 วินาที
อันดับ 3 ปณิธาน ยุวกวีดีเด่น - นิยม หัวหน้าบริกรของบริษัทเรือท่องเที่ยว เปิด 10 ครั้ง ใช้เวลา 28 วินาที
อันดับ 4 เรือเอก วิวัฒน์ นายทหารการอาวุธ - ดร.จันทร์จิรา ผู้จบเอกจาก King's Collage เปิด 13 ครั้ง ตกรอบ

ผลการจับคู่และผลการแข่งขัน
งมเข็ม 7 เล่มในขวดที่ใส่ลงในตู้ที่มีน้ำอยู่ โดยใช้วิธีใดก็ได้โดยห้ามสัมผัสกับน้ำ ในเวลา 25 นาที โดยแบ่งเป็นทีมละ 2 คน ทีมที่งมเข็มออกมาได้น้อยที่สุด ตกรอบ ถ้าเท่ากันทีมที่ใช้เวลามากที่สุด ตกรอบ

ภารกิจที่ 2
อันดับ 1 น้ำเพชร ครูสอนฟิตเนส - ปณิธาน ยุวกวีดีเด่น งมได้ 7 เล่ม ใช้เวลา 18 นาที 42 วินาที
อันดับ 2 รัฐ นักธุรกิจร้อยล้าน - นุจริน นักศึกษาทุนวิจัย สวทช. งมได้ 7 เล่ม ใช้เวลา 23 นาที 25 วินาที
อันดับ 3 ชาคริต อาจารย์สอนแต่งหน้า - นิยม หัวหน้าบริกรของบริษัทเรือท่องเที่ยว งมได้ 5 เล่ม ใช้เวลา 25 นาที ตกรอบ

อัจฉริยะข้ามคืน ล้านที่ 14 ภารกิจที่ 3

ปณิธาน ยุวกวีดีเด่น (เข้าชิงคนที่ 1)
รัฐ นักธุรกิจร้อยล้าน (เข้าชิงคนที่ 2)
น้ำเพชร ครูสอนฟิตเนส ตกรอบ
นุจริน นักศึกษาทุนวิจัย สวทช. ตกรอบ ผลการแข่งขัน
"MISTERSHORTFOOT"

คำว่า MISTERSHORTFOOT แปลว่า นายเท้าสั้น
นายเท้าสั้น พ้องกับคำว่า Nine Thousand แปลว่า 9000
รหัสนี้ถอดได้เป็น 9000 อัจฉริยะข้ามคืน ล้านที่ 14 ภารกิจสุดท้าย - ตอบคำถาม
อันเดอร์ วอเตอร์ เวิลด์ พัทยา เป็นอะควาเรี่ยม หรือ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีจุดเด่นอยู่หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น "ทัชพูล" สระน้ำที่ให้ผู้มาเยี่ยมสัมผัสสัตว์ทะเลได้ เช่น ดาวทะเล หรือ ปลาปักเป้ากล่องมีเขา โดยเฉพาะปลาฉลามที่มีให้สัมผัสกันถึง 2 ชนิด ซึ่งก็คือ ปลาฉลามกบ และ ปลาฉลามเสือดาว และที่สำคัญอีกอย่างก็คืออุโมงค์แก้วลอดใต้ตู้ปลาขนาดใหญ่ที่นักท่องเที่ยวสามารถเดินลอดและชมปลาต่างๆที่ว่ายอยู่รอบๆได้ ซึ่งอุโมงค์นั้นแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ โซนปะการัง โซนปลาฉลามและปลากระเบน และสุดท้ายโซนเรืออับปางที่นำเอาเรือที่จมอยู่จริงมาจัดแสดง ชื่อว่าเรือ "ฮาร์ดีฟ" เป็นเรือขนส่งสินค้าของประเทศอินโดนิเซีย โดยอุโมงค์นี้ถือเป็นอุโมงค์ดูปลาที่ยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย ซึ่งมีความยาวรวมกันทั้งสิ้น 105 เมตร และสิ่งที่เป็นตัวนำโชคหรือมาสคอสของที่นี่จะเป็นตัวการ์ตูนปลาฉลามที่ชื่อว่า "ฉลามปิ๊บ" ซึ่งตั้งชื่อตามผู้ที่ออกแบบนั่นก็คือ ปิ๊บ รวิชญ์ เทิดวงส์ นักแสดงชื่อดังที่ทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าปลาฉลามเป็นโลโก้ของที่นี่ แต่จริงๆแล้วในโลโก้ของที่นี่เป็นปลาชนิดอื่นที่ไม่ใช่ปลาฉลาม ปลาอะไร
คำตอบ:ปลาโนรี

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ชาวอารยัน
ชาวอารยัน หรืออินโดอารยัน เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากพวกอินโดยูโรเปียน สันนิษฐานว่ามีภูมิลำเนาอยู่ทางตอนกลางของทวีปเอเซีย บริเวณรอบๆ ทะเลแคสเปียน ภายหลังได้เดินทางเข้าสู่อินเดียโดยฝ่ายเปอร์เซีย อัฟกานิสถาน และช่องเขาไคเบอร์ เข้ามาประมาณ 1,500 B.C. เข้ายึดครองกลุ่มแม่น้ำสินธุ จากพวก ดารวิเดียน

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2550

อำเภอขุขันธ์
อำเภอขุขันธ์เป็นอำเภอหนึ่งที่อยู่ภายในจังหวัดศรีสะเกษ อำเภอขุบันธ์มีตำบลทั้งหมด 22 ตำบลด้วยกัน ปัจจุบัน นายอำเภอ ชื่อ นายกฤช รังสิเสนา ณ อยุธยา ภายในอำเภอขุขันธ์มีสถานที่ท่องเที่ยว คือ ปราสาทตาเล็ง และคุรุน้อย
อำเภอขุขันธ์ห่างจากตัวจังหวัดศรีสะเกษประมาณ 50 กิโลเมตร ภายในเขตของการปกครองอำเภอขุขันธ์ส่วนมากจะนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ ชาวบ้านมีอาชีพทำนากันส่วน มาก


เมืองศรีสะเกษ - ยางชุมน้อย - กันทรารมย์ - กันทรลักษ์ - ขุขันธ์ - ไพรบึง - ปรางค์กู่ - ขุนหาญ - ราษีไศล - อุทุมพรพิสัย - บึงบูรพ์ - ห้วยทับทัน - โนนคูณ - ศรีรัตนะ - น้ำเกลี้ยง - วังหิน - ภูสิงห์ - เมืองจันทร์ - เบญจลักษ์ - พยุห์
โพธิ์ศรีสุวรรณ - ศิลาลาด

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550


ดูความหมายอื่นของ น่าน ได้ที่ น่าน (แก้ความกำกวม)
จังหวัดน่าน อยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ยาวนาน มีชื่อเรียกในพงศาวดารว่า นันทบุรี มีพื้นที่กว้างใหญ่ เป็นอันดับ 13 ของประเทศ แต่มีประชากรเบาบางเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศ พื้นที่เต็มไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซอน และมีลำน้ำหลายสายเช่น ลำน้ำน่าน ลำน้ำว้า ทั้งยังมีประชากรหลายชาติพันธุ์ นับว่าเป็นดินแดนของความหลากหลากอีกแห่งหนึ่งของประเทศ
พื้นที่จังหวัดน่าน มีเขตแดนด้านเหนือและตะวันออกติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ด้านใต้ติดกับจังหวัดอุตรดิตถ์ ทางตะวันตกติดกับจังหวัดพะเยาและแพร่ นอกจากนี้แล้ว จังหวัดน่านยังมีด่านเข้าออกกับประเทศลาวหลายแห่งด้วยกัน เช่น ด่านห้วยโก๋น จุดผ่อนปรนบ้านใหม่ชายแดน และจุดผ่อนปรนบ้านห้วยสะแตง

ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์เมืองน่าน เริ่มปรากฏขึ้นราว พ.ศ. 1825 ภายใต้การนำของพญาภูคา ศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองย่าง (เชื่อกันว่าคือบริเวณริมฝั่งด้านใต้ ของแม่น้ำย่าง ใกล้เทือกเขาดอยภูคาในเขตบ้านเสี้ยว บ้านทุ่งฆ้อง บ้านลอมกลาง ตำบลยม อำเภอท่าวังผา) เพราะปรากฏร่องรอย ชุมชนในสภาพที่เป็นคูน้ำ คันดิน กำแพงเมืองซ้อน กันอยู่ ต่อมาพระยาภูคา ได้ขยายอาณาเขตปกครองของตนออกไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยส่งราชบุตรบุญธรรม 2 คน ไปสร้างเมืองใหม่ โดย ขุนนุ่น ผู้พี่ไปสร้างเมืองจันทบุรี (เมืองพระบาง) และขุนฟองผู้น้อง สร้างเมืองวรนครหรือเมืองปัว
ภายหลังขุนฟองถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนราชบุตรจึงได้ขึ้นครองเมืองปัวแทน ด้านพญาภูคาครองเมืองย่างมานาน และมีอายุมากขึ้น มีความประสงค์จะให้เจ้าเก้าเถื่อนผู้หลานมาครองเมืองย่างแทน จึงให้เสนาอำมาตย์ไปเชิญ เจ้าเก้าเถื่อนเกรงใจปู่จึงยอมไปอย ู่เมืองย่างและมอบให้ชายา คือนางพญาแม่ท้าวคำปินดูแลรักษาเมืองปัวแทน เมื่อพญาภูคาถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนจึงครองเมืองย่างแทน ในช่วงที่เมืองปัวว่างจากผู้นำ เนื่องจากเจ้าเก้าเถื่อนไปครองเมืองย่างแทนปู่คือพญาภูคา พญางำเมืองเจ้าผู้ ครองเมืองพะเยา จึงได้ขยายอิทธิพลเข้าครอบครอง บ้านเมืองในเขตเมืองน่านทั้งหมด นางพญาแม่เท้าคำปิน พร้อมด้วยบุตรในครรภ์ ได้หลบหนีไปอยู่บ้านห้วยแร้ง จนคลอดได้บุตรชายชื่อว่าเจ้าขุนใส เติบใหญ่ได้เป็นขุนนาง รับใช้พญาคำเมืองจนเป็นที่โปรดปราน พญางำเมืองจึงสถาปนาให้เป็น เจ้าขุนใสยศ ครองเมืองปราดภายหลังมีกำลังพลมากขึ้นจึงยกทัพ มาต่อสู้จนหลุดพ้นจากอำนาจเมืองพะเยา และได้รับการสถาปนาเป็นพญาผานอง ขึ้นครองเมืองปัวอย่างอิสระระหว่างปี 1865 - 1894 รวม 30 ปี จึงพิราลัย
ในสมัยของพญาการเมือง (กรานเมือง) โอรสของพญาผานอง เมืองปัว ได้มีการขยายตัวมากขึ้น ตลอดจนมีความสัมพันธ์ กับเมืองสุโขทัยอย่างใกล้ชิด พงศาวดารเมืองน่านกล่าวถึงพญาการเมืองว่า ได้รับเชิญจากเจ้าเมืองสุโขทัย (พระมหาธรรมราชาลิไท) ไปร่วมสร้างวัดหลวงอภัย (วัดอัมพวนาราม) ขากลับเจ้าเมืองสุโขทัย ได้พระราชทานพระธาตุ 7 องค์ พระพิมพ์ทองคำ 20 องค์ พระพิมพ์เงิน 20 องค์ ให้กับพญาการเมือง มาบูชา ณ เมืองปัวด้วยพญาการเมือง ได้ปรึกษาพระมหาเถรธรรมบาล จึงได้ก่อสร้างพระธาตุแช่แห้งขึ้นที่บนภูเพียงแช่แห้ง พร้อมทั้งได้อพยพผู้คนจากเมืองปัว ลงมาสร้างเมืองใหม่ที่บริเวณพระธาตุแช่แห้ง เรียกว่า ภูเพียงแช่แห้งในปี พ.ศ. 1902 โดยมีพระธาตุแช่แห้งเป็นศูนย์กลางเมือง หลังจากพญาการเมืองถึงแก่พิราลัย โอรสคือ พญาผากองขึ้นครองแทนอยู่มาเกิดปัญหาความแห้งแล้ง จึงย้ายเมืองมาสร้างใหม่ที่ริมแม่น้ำน่านด้านตะวันตกบริเวณบ้านห้วยไค้ คือบริเวณที่ตั้งของจังหวัดน่านในปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 1911
ในสมัยเจ้าปู่เข่งครองเมืองระหว่างปี พ.ศ. 1950 - 1960 ได้สร้างวัดพระธาตุช้างค้ำ วรวิหาร วัดพระธาตุเขาน้อย วัดพญาภู แต่สร้างไม่ทันเสร็จก็ถึงแก่พิราลัยเสียก่อน พญางั่วฬารผาสุมผู้เป็นหลานได้สร้างต่อจนแล้วเสร็จและได้สร้าง พระพุทธรูปทองคำปางลีลา ปัจจุบันคือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ในปี พ.ศ. 1993 พระเจ้าติโลกราชกษัตริษ์นครเชียงใหม่ มีความประสงค์จะครอบครองเมืองน่าน และแหล่งเกลือ บ่อมาง (ต.บ่อเกลือใต้ อ.บ่อเกลือ) ที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์และหาได้ยากทางภาคเหนือ จึงได้จัดกองทัพเข้ายึด เมืองน่าน พญาอินต๊ะแก่นท้าว ไม่อาจต้านทาน ได้จึงอพยพหนีไปอาศัยอยู่ ที่เมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) เมืองน่านจึงถูกผนวกเข้าไว้ในอาณาจักรล้านนาตั้งแต่นั้นมา
ตลอดระยะเวลาเกือบ 100 ปี ที่เมืองน่านอยู่ในครอบครองของ อาณาจักรล้านนา ได้ค่อย ๆ ซึมชับเอาศิลปวัฒนธรรมของล้านนา มาไว้ในวิถีชีวิต โดยเฉพาะการรับเอาศิลปกรรมทางด้านศาสนา ปรากฏศิลปกรรมแบบล้านนาเข้ามาแทนที่ศิลปกรรมแบบสุโขทัย อย่างชัดเจน ดังเช่น เจดีย์วัดพระธาตุแช่แห้ง เจดีย์วัดสวนตาล เจดีย์วัดพระธาตุช้างค้ำ แม้จะเหลือส่วนฐานที่มีช้างล้อมรอบ ซึ่งเป็นลักษณะศิลปะแบบสุโขทัยอยู่ แต่ส่วนองค์เจดีย์ขึ้นไปถึงส่วนยอดเปลี่ยนเป็นศิลปกรรมแบบล้านนาไปจนหมดสิ้น ในระหว่างปี พ.ศ. 2103 - 2328 เมืองน่านได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า อยู่หลายครั้งและต้องเป็นเมืองร้าง ไร้ผู้คนถึง 2 ครา คือ ครั้งแรก ปี พ.ศ. 2247 - 2249 ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ 2321 - 2344

สมัยล้านนา
ปี พ.ศ. 2331 เจ้าอัตถวรปัญโญ ได้ลงมาเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เพื่อขอเป็น ข้าขอบขันทสีมา เจ้าอัตถวรปัญโญ หลังจากขึ้นครองเมืองน่านยังมิได้เข้าไปอยู่เมืองน่านเสียทีเดียว เนื่องจากเมืองน่าน ยังรกร้างอยู่ ได้ย้ายไปอาศัยอยู่ตามที่ต่างๆ คือ บ้านตึ๊ดบุญเรือง เมืองงั้ว (บริเวณอำเภอนาน้อย) เมืองพ้อ (บริเวณอำเภอเวียงสา) หลังจากได้บูรณะซ่อมแซมเมืองน่านแล้ว พร้อมทั้งได้ขอพระบรมราชานุญาตกลับเข้ามาอยู่ในเมืองน่าน ในปี พ.ศ. 2344 ในยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เมืองน่านมีฐานะเป็นหัวเมืองประเทศราช เจ้าผู้ครองนครน่านในชั้นหลังทุกองค์ ต่างปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความเที่ยงธรรมมีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี ได้ช่วยราชการบ้านเมืองสำคัญหลายครั้งหลายคราด้วยกัน นอกจากนี้เจ้าผู้ครองนครน่าน ต่างได้ทำนุบำรุงกิจการพุทธศาสนาในเมืองน่าน และอุปถัมภ์ค้ำจูนพระพุทธศาสนาเป็นสำคัญ ได้สร้างธรรมนิทานชาดก การจารพระไตรปิฎกลงในคัมภีร์ใบลาน นับเป็นคัมภีร์ได้ 335 คัมภีร ์นับเป็นผูกได้ 2,606 ผูก ได้นำไปมอบให้ เมืองต่างๆ มีเมืองลำปาง เมืองลำพูน เมืองเชียงใหม่ เมืองเชียงราย และเมืองหลวงพระบาง
ในปี พ.ศ. 2446 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้เจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดชฯ เลือนยศฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็น "พระเจ้านครน่าน" มีพระนามปรากฏตามสุพรรณปัฏว่า "พระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงศา ธิบดี สุริตจารีราชนุภาวรักษ์ วิบูลยศักดิ์กิติไพศาล ภูบาลบพิตรสถิตย์ ณ นันทราชวงษ์" เป็นพระเจ้านครน่านองค์แรก และองค์เดียวในประวัติศาสตร์น่าน ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าน่าน พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ จึงได้สร้าง หอคำ (คุ้มหลวง) ขึ้นแทนหลังเดิมซึ่งสร้างในสมัยของ เจ้าอนันตวรฤิทธิเดชฯ และด้านหน้าหอคำ มีข่วงไว้ทำหน้าที่คล้ายสนามหลวง สำหรับจัดงานพิธีต่างๆ ตลอดจนเป็นที่จัดขบวนทัพออกสู้ศึก จัดขบวนนำเสด็จหรือขบวนรักแขกเมืองสำคัญและในปี พ.ศ. 2474 เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน ถึงแก่พิราลัย ตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครก็ถูกยุบเลิกตั้งแต่นั้นมา ส่วนหอคำได้ใช้เป็น ศาลากลางจังหวัดน่าน จนปี พ.ศ. 2511 จังหวัดน่าน ได้มอบหอคำให้กรมศิลปากร ใช้เป็นสถานที่จัดตั้ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่านจนกระทั่งปัจจุบัน
ในยุคประชาธิปไตย จังหวัดน่านยังมีตำนานการเป็นแหล่งกบดานของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยเฉพาะที่อำเภอทุ่งช้าง ซึ่งเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญอีกแห่งหนึ่ง โดยมีอนุสรณ์สถานวีรกรรมทุ่งช้าง เป็นพยานช่วยเตือนความจำให้แก่ชนรุ่นหลัง

สมัยรัตนโกสินทร์
จังหวัดน่านมีสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา โดยเฉพาะบริเวณชายแดนด้านเหนือและตะวันออก ซึ่งเป็นรอยต่อติดกับลาว แต่ก็ยังมีแม่น้ำสายสำคัญด้วย นั่นคือ แม่น้ำน่าน ซึ่งมีต้นกำเนิดทางตอนเหนือของจังหวัด แล้วไหลลงไปยังเขื่อนสิริกิติ์ ในจังหวัดอุตรดิตถ์ และบรรจบกับแม่น้ำปิง แม่น้ำวัง และแม่น้ำยม ที่จังหวัดนครสวรรค์ เป็นแม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากนี้ยังมีลำน้ำสาขาต่างๆ ที่สำคัญ เช่น ลำน้ำสา ลำน้ำว้า ลำน้ำสมุน ลำน้ำปัว ลำน้ำย่าง
เมื่อถึงฤดูหนาว อากาศหนาวจัด เนื่องจากแวดล้อมไปด้วยภูเขาสูง ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ดอยภูคา ในอำเภอปัว มีความสูงถึง 1,980 เมตร

ภูมิศาสตร์
ประชากรในจังหวัดน่านมีอยู่อย่างเบาบางเป็นอันดับ 4 ของประเทศ (40 คน ต่อตารางกิโลเมตร) กระจัดกระจายไปตามสภาพทางภูมิศาสตร์ ในพื้นที่ราบ มักเป็นที่อาศัยของชาวไทย เช่น ไทยล้านนา และไทยลื้อ ส่วนบริเวณที่สูง ตามไหล่เขา เป็นชุมชนของชนกลุ่มน้อย ที่เรียกกันว่า ชาวเขา ได้แก่ ชาวม้ง เมี่ยน ลัวะ ขมุ และรวมถึงชาวตองเหลือง ที่อาศัยอยู่ในบริเวณอำเภอเวียงสาด้วย ผู้คนในจังหวัดน่านจึงมีภาษาพูดที่หลากหลายด้วยเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่จะพูดภาษาไทยถิ่นเหนือ หรือพูดคำเมือง สำเนียงน่าน

น่าน กลุ่มชาติพันธุ์

พระยาพิชัยชาญฤทธิ์ พ.ศ. 2433 - 2435
พระยาสุนทรนุรักษ์ พ.ศ. 2435 - 2437
หลวงชาญภูเบศร์ (สวัสดิ์ ภูมิรัตน์) พ.ศ. 2437 - 2439
จหมื่นมหาดเล็ก (เรือง ภูมิรัตน์) พ.ศ. 2439 - 2444
พระยาบรมนาทบำรุง พ.ศ. 2444 - 2449
พระยาอุทัยมนตรี (พร จารุจินดา) พ.ศ. 2449 - 2450
พระยาอมฤทธิ์ธำรง (ฉี่ บุญนาค) พ.ศ. 2450 - 2451
พระยาทรธนพัฒน์ (เจิม จารุจินดา) พ.ศ. 2451 - 2454
พระยาอารีราชการัณย (ม.ร.ว.ปาร นพวงศ์) พ.ศ. 2454 - 2467
พระยาวรวิไชย วุฒิกรณ์ (เลื่อน สนธิรัตน์) พ.ศ. 2467 - 2470
พระยาอนุบาล พายัพกิจ (ปุ่น อาสนจินดา) พ.ศ. 2470 - 2471
พระยากรุงศรี สวัสดิ์การ (จำรัส สวัสดิ์ชูโต) พ.ศ. 2471 - 2476
พระเกษตร สรรพกิจ (นุ่ม วรรณโกมล) พ.ศ. 2476 - 2480
พระบริหาร ทัณฑนิติ (ประเสริฐ เศวตกนิษฐ์) พ.ศ. 2480 - 2482
พระชาติการ (ม.ร.ว.จิตร ดเนจร) พ.ศ. 2482 - 2482
หลวงทรงประศาสน์ (ทองคำ นวลทรง) พ.ศ. 2482 - 2488
ขุนระดับคดี (ปัญญา รมยานนท์) พ.ศ. 2488 - 2488
ขุนอักษรสารสิทธิ์ (พินิจ อักษรสารสิทธิ์) พ.ศ. 2488 - 2489
ขุนวิศิษฐ์ อุดรการ (กรี วิศิษฐ์อุดรการ) พ.ศ. 2489 - 2490
นายชลอ จารุจินดา พ.ศ. 2490 - 2490
นายนวล มีชำนาญ พ.ศ. 2490 - 2496
นายมานิต ปุรณพรรค์ พ.ศ. 2496 - 2500
หลวง อนุมัติ ราชกิจ (อั๋น อนุมัติราชกิจ) พ.ศ. 2500 - 2503
นายวิชาญ บรรณโศภิษฐ์ พ.ศ. 2503 - 2510
นายชิต ทองประยูร พ.ศ. 2510 - 2511
พล.ต.ต.ศรีศักดิ์ ธรรมรักษ์ พ.ศ. 2511 - 2514
นายสุกิจ จุลละนันทน์ พ.ศ. 2514 - 2517
นายสวัสดิ์ ประไพพานิช พ.ศ. 2517 - 2518
นายโชดก วีรธรรมพูลสวัสดิ พ.ศ. 2518 - 2520
นายสายสิทธิ พรแก้ว พ.ศ. 2520 - 2521
พ.ท.น.พ.อุดม เพ็ชรศิริ พ.ศ. 2521 - 2523
นายชัยวัฒน์ หุตะเจริญ พ.ศ. 2523 - 2526
นายประกอบ แพทยกุล พ.ศ. 2526 - 2528
นายเฉลิม พรหมเลิศ พ.ศ. 2528 - 2530
นายกาจ รักษ์มณี พ.ศ. 2530 - 2532
พ.ต.ปรีดา นิสัยเจริญ พ.ศ. 2532 - 2533
นายอำนวย ยอดเพรช พ.ศ. 2533 - 2535
นายจิโรจน์ โชติพันธุ์ พ.ศ. 2535 - 2536
นายประวิทย์ สีห์โสภณ พ.ศ. 2536 - 2537
นายสุจริต นันทมนตรี พ.ศ. 2537 - 2539
นายจเด็จ อินสว่าง พ.ศ. 2539 - 2541
นายเชิดพงษ์ อุทัยสาง พ.ศ. 2541 - 2541
ร.ต.ต.ธนะพงษ์ จักกะพาก พ.ศ. 2541 - 2545
นายสุวัฒน์ โชคสุวัฒนสกุล พ.ศ. 2545 - 2548
นายปริญญา ปานทอง พ.ศ. 2548 - 2550
นายสมพงษ์ อนุยุทธพงศ์ พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน ทำเนียบรายนามผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน
การปกครองแบ่งออกเป็น 14 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 99 ตำบล 848 หมู่บ้าน

อำเภอเมืองน่าน อยู่ในบริเวณกึ่งกลางของพื้นที่จังหวัด เป็นเมืองขนาดย่อม มีประชากรไม่หนาแน่น
อำเภอแม่จริม อยู่ทางตะวันออกของจังหวัด มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม
อำเภอบ้านหลวง อยู่ทางตะวันตก ติดกับจังหวัดพะเยา มีผู้คนเบาบาง
อำเภอนาน้อย ทางด้านใต้ของจังหวัด มีเส้นทางติดกับจังหวัดแพร่ มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ คือ อุทยานแห่งชาติศรีน่าน และเสาดินนาน้อย
อำเภอปัว อำเภอศูนย์กลางเศรษฐกิจทางตอนบนของจังหวัด,มีสถานที่ท่องเที่ยวที่เก่าแก่ และเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา พื้นที่โดยรอบมีสภาพเป็นภูเขา
อำเภอท่าวังผา บริเวณช่วงกลางของจังหวัด มีชื่อเสียงเรื่องการทอผ้า ของหมู่บ้านไทยลื้อ และมีวัดเก่าแก่ คือวัดหนองบัว
อำเภอเวียงสา เดิมเรียกอำเภอสา มีน้ำตกดอยสวรรค์ วัดดอยไชย และวัดบุญยืน
อำเภอทุ่งช้าง สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นที่มั่นสำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์ประเทศไทย มีอนุสาวรีย์วีรกรรมทุ่งช้างประดิษฐานอยู่
อำเภอเชียงกลาง อำเภอเล็กๆ ทางตอนเหนือ มีรีสอร์ทสวยๆ สำหรับนักท่องเที่ยวหลายแห่ง
อำเภอนาหมื่น อำเภอทางใต้สุดของจังหวัด ติดกับจังหวัดอุตรดิตถ์ มีหมู่บ้านชาวประมงน้ำจืด ที่อาศัยแอ่งน้ำเหนือเขื่อนสิริกิติ์ทำการประมง และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ
อำเภอสันติสุข อำเภอขนาดเล็กทางตะวันออกของจังหวัด มีความสงบ ท่ามกลางขุนเขา
อำเภอบ่อเกลือ มีบ่อเกลือโบราณ และตำนานเก่าแก่ สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นที่ตั้งของเมืองภูคาสมัยโบราณ ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ โดยเฉพาะเป้นจุดเริ่มต้นของการล่องแก่งน้ำว้า
อำเภอสองแคว อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด ติดกับจังหวัดพะเยา และมีด่านชายแดนไทยลาวทางตอนเหนือ มีหมู่บ้านชนกลุ่มน้อย ที่เรียกว่า ชาวขมุ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขาสูง
กิ่งอำเภอภูเพียง อยู่ใกล้กับอำเภอเมืองน่าน เป็นที่ตั้งของพระธาตุแช่แห้ง
อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเหนือสุดของจังหวัดน่าน มีด่านชายแดนไทยลาว และหมู่บ้านชาวเขา เป็นแหล่งปลูกส้มที่สำคัญของจังหวัด และแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำสายสำคัญ คือแม่น้ำน่าน หน่วยการปกครอง

อุทยานแห่งชาติขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ มีพรรณไม้และสัตว์ป่าที่น่าสนใจมากมาย มีอาณเขตประมาณ 260,000 ไร่
อุทยานแห่งชาติขุนสถาน อำเภอนาน้อยและอำเภอนาหมื่น มีพรรณไม้และน้ำตกหลายแห่ง
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อุทยานแห่งชาติที่สำคัญของจังหวัดน่าน มีอาณาเขตกว้างขวางโดยมีพื้นที่ประมาณ 1,080,000 ไร่ ประกอบด้วยพรรณไม้ที่หลากหลาย มีการค้นพบพืชสำคัญหลายชนิด เช่น เต่าร้างยักษ์ภูคา ที่พบเฉพาะที่นี่เพียงแห่งเดียว รวมถึงต้นชมพูภูคา ซึ่งพบที่นี่เพียงแห่งเดียวเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีถ้ำที่น้อยคนเคยเข้าไปเที่ยว
อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน อยู่ในอำเภอสองแคว ทางตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตประมาณ 280,000 ไร่
อุทยานแห่งชาตินันทบุรี อยู่ในอำเภอปัว มีเนื้อที่ถึง 740,900 ไร่
อุทยานแห่งชาติแม่จริม มีสถานที่ล่องแพอย่างสนุกสนาน อยู่ในอำเภอแม่จริม มีอาณาเขตประมาณ 270,000 ไร่
อุทยานแห่งชาติศรีน่าน อยู่ในเขตอำเภอนาน้อย มีอาณาเขตประมาณ 583,750 ไร่
อุทยานแห่งชาติขุนสถาน ตั้งอยู่ที่ บ้านขุนสถาน หม่ที่ 9 ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน อยู่ระหว่างเขตรอยต่อจังหวัดน่านและแพร่ ที่ทำการตั้งอยู่บน กม. 26 ถนนสาย 1216 แหล่งท่องเที่ยวและเรียนรู้

ตราประจำจังหวัด: รูปพระธาตุแช่แห้งอยู่บนหลังโคอุสุภราช
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกเสี้ยวดอกขาว (Bauhinia variegata)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: เสี้ยวดอกขาว (Bauhinia variegata)
คำขวัญประจำจังหวัด: แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2550

เจ้าแม่กวนอิม
เจ้าแม่กวนอิม พระโพธิสัตว์ ของพระพุทธศาสนา ฝ่ายมหายาน เป็นองค์เดียวกันกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในภาษาสันสกฤต ซึ่งมีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานในอินเดีย และได้ผสมผสานกับความเชื่อพื้นถิ่นดั้งเดิมของจีน คือตำนานเรื่องพระธิดาเมี่ยวซ่าน ก่อให้เกิดเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคสตรีขึ้น เพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้นดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร ซึ่งเป็นการผสมผสานกลมกลืนทางความเชื่อที่ปราศจากข้อขัดแย้ง เนื่องจากในสัทธรรมปุณฑรีกสูตรได้อธิบายว่า พระอวโลกิเตศวรนั้นสามารถแบ่งภาคเพื่อโปรดสรรพสัตว์ได้มากมายทั้งปางบุรุษและสตรี และเป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์มหายานที่เมื่อเข้าไปสู่ดินแดนอื่นทั้งทิเบต จีน หรือญี่ปุ่น ย่อมผสมผสานกลมกลืนได้กับเทพท้องถิ่นนั้น ๆ อย่างในกรณีพระอวโลกิเตศวรนี้ Sir Charles Eliot ได้ตั้งข้อสังเกตว่า "คงเนื่องมาจากความสับสนทางความคิดของชาวจีนในยุคนั้น ซึ่งบูชาเทพเจ้าต่างๆ ของตนอยู่แล้ว และเมี่ยวซ่านก็เป็นเทพวีรชนดั้งเดิมอยู่ก่อน พออารยธรรมพระโพธิสัตว์จากอินเดียแผ่เข้าไปถึง ได้เกิดการผสานทางวัฒนธรรมเปลี่ยนชื่อเสียงคงไว้เพียงแต่คุณลักษณะต่าง ๆ พอให้แยกออกว่าเป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์"

บทสวดมนต์เจ้าแม่กวนอิม
นำโม กวงซีอิม ผู่สัก ( 3 หรือ 5 หรือ 9 จบ)

วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2550


ชาวไทยเชื้อสายจีน คือ ชาวจีนที่เกิดในประเทศไทย และ เป็นเชื้อสายของผู้อพยพชาวจีน หรือ ชาวจีนโพ้นทะเล คนไทยเชื้อสายจีน มีประมาณ 8 ล้านคนในประเทศไทย หรือ 14% ของประชากรทั้งประเทศ และยังมีอีกจำนวนมากไม่สามารถนับได้ เพราะที่กลมกลืนกับคนไทยไปแล้วโดยการแต่งงานข้ามเชื้อชาติ
ชาวไทยเชื้อสายจีน ส่วนมากบรรพบุรษจะมาจาก จังหวัดแต้จิ๋ว ในมณฑลกวางตุ้ง ทางตอนใต้ของจีน พูดภาษาแต้จิ๋ว ซึ่งเป็นภาษากลุ่มหมินหนาน รองลงมาคือมาจาก แคะ ฮกเกี้ยน และไหหลำ
ชาวจีนทางตอนใต้ของประเทศจีนมักประกอบอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรมเป็นหลัก เช่น ทำสวน ทำไร่ ฯลฯ จีนทางตอนใต้เหล่านี้ถือว่าเป็นชาวจีนที่ยากจน ไม่ได้เรียนหนังสือ มีความรู้น้อย ชีวิตที่ประเทศจีนอยู่อย่างลำบากยากจน จึงแสวงหาถิ่นที่อยู่ที่ดีกว่า การอพยพจึงเป็นทางออก และ ย่านเยาวราชเป็นหนึ่งในย่านที่มีคนไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่มากที่สุด

ไทยเชื้อสายจีน กลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีน
แต้จิ๋ว (潮州 ; Teochew ; ภาษาจีนกลาง: Cháozhōu) เป็นกลุ่มชาวจีนที่มากที่สุด ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามพื้นที่รอบๆแม่น้ำเจ้าพระยา ได้มาที่สยามตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาแล้ว โดยมาจาก มณฑลฝูเจี้ยน และ มณฑลกวางตุ้ง ส่วนมากจะทำการค้าทางด้าน การเงิน ร้านขายข้าว และ ยา มีบางส่วนที่ทำงานให้กับภาครัฐ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พ่อค้าจีนแต้จิ๋วจำนวนมากได้รับสิทธิพิเศษ ชาวจีนกลุ่มนี้จึงเรียกว่า จีนหลวง(Royal Chinese) สาเหตุเนื่องจาก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงมีเชื้อสายแต้จิ๋วเช่นกัน และในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ชาวแต้จิ๋วจึงอยู่ที่สำเพ็ง และเยาวราช

แต้จิ๋ว
แคะ (客家 ; Hakka ; ภาษาจีนกลาง: kèjiā) เป็นกลุ่มชาวจีนอพยพที่มาจาก มณฑลฝูเจี้ยนเป็นส่วนมาก จะอพยพมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 และตั้งถิ่นฐานทีแถบจังหวัดสงขลา และ จังหวัดภูเก็ต ส่วนมากจะชำนาญทางด้าน หนังสัตว์ เหมือง และเกษตรกรรม นอกจากนี้ ชาวจีนแคะยังเป็นเจ้าของธนาคารอีกหลายแห่ง

แคะ
ไหหลำ (海南 ; ภาษาจีนกลาง: Hǎinán) เป็นชาวจีนที่อพยพมาจากเกาะไหหลำของจีน จะชำนาญทางด้าน ร้านอาหาร และ โรงงาน

ไหหลำ
ฮกเกี้ยน หรือ ฝูเจี้ยน (福建 ; Hokkien ; ภาษาจีนกลาง: Fújiàn) จะเชี่ยวชาญทางด้านการค้าขายทางเรือ รับราชการ ส่วนมากจะมีตระกูลสูงกว่า และเข้ามาอาศัยในสมัยอยุธยามากที่สุด

ประวัติ
ชาวจีนเริ่มเดินเรือสำเภามาค้าขายในดินแดนสุวรรณภูมิตั้งแต่ก่อนสมัยอาณาจักรสุโขทัย แต่หลักฐานที่ชัดเจนที่สุดคือ เมื่อชาวจีนมาสอนการทำเครื่องถ้วยชาม โดยเฉพาะเครื่องสังคโลก

สมัยสุโขทัย
ชาวจีนได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่มาก โดยส่วนมากจะมาจากตอนใต้ของประเทศจีน เพื่อมาตั้งรกรากและทำการค้า

สมัยกรุงศรีอยุธยา
เมื่อครั้นเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ระหว่างปี พ.ศ. 2310 - พ.ศ. 2312 จักรวรรดิจีนได้ถูกรุกรานโดยพม่าที่กำลังขยายแสนยานุภาพ จักรพรรดิจีนในสมัยนั้นได้ส่งกองกำลังไปปราบปรามพม่าถึง 4 ครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ แต่ฝ่ายจีนก็ได้เบนความสนใจมาที่กองทัพพม่าในอาณาจักรอยุธยา ซึ่งกำลังถูกพม่ายึดครอง ขุนพลครึ่งไทยจีนนาม "สิน" ซึ่งมีบิดานาม ไหฮอง เป็นชาวจีนแต้จิ๋วและมารดานาม นกเอี้ยง ซึ่งเป็นชาวสยาม ได้ใช้สถานการณ์ที่ได้เปรียบนี้ทำให้สามารถกอบกู้เอกราชให้สยามได้สำเร็จ ขุนพลท่านนั้นต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แห่งกรุงธนบุรี หรือที่ชาวจีนขนามนามว่า แต้อ๊วง
เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงขึ้นครองราชย์แล้ว ชาวจีนแต้จิ๋วได้เข้ามาทำการค้า และอพยพมายังกรุงธนบุรีเป็นจำนวนมาก ทำให้ประชากรชาวจีนโพ้นทะเลในไทย เพิ่มขึ้นจาก 230,000 คนใน พ.ศ. 2368 เป็น 792,000 คนใน พ.ศ. 2453 และใน พ.ศ. 2475 ประชากรไทยถึง 12.2% เป็นชาวจีนโพ้นทะเล

สมัยกรุงธนบุรี
การอพยพของชาวจีนยุคแรก ส่วนมากเป็นผู้ชาย เมื่อเข้ามาตั้งรกรากแล้วก็จะแต่งงานกับผู้หญิงไทย และกลายเป็นค่านิยมในสมัยนั้น ลูกหลานจากการแต่งงานข้ามเชื้อชาตินี้เรียกว่า ลูกจีน แต่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ กระแสการอพยพเริ่มเปลี่ยนไป ผู้หญิงจีนอพยพเข้ามาในสยามมากขึ้น จึงทำให้การแต่งงานข้ามเชื้อชาติลดลง
การคอรัปชั่น ในรัฐบาลราชวงศ์ชิง และการเพิ่มขึ้นของประชากรในประเทศจีน ประกอบกับการเก็บภาษีที่เอาเปรียบ ทำให้ชายชาวจีนจำนวนมากมุ่งสู่สยามเพื่อหางานและส่งเงินกลับไปให้ครอบครัวในประเทศจีน ขณะนั้นชาวจีนจำนวนมากต้องจำยอมขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงการเก็บภาษีเพาะปลูกของทางการ
ในรัชสมัยปลายรัชกาลที่ 3 ประเทศไทยต้องระวังผลกระทบจากการที่ฝรั่งเศสได้ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และอังกฤษได้มลายูเป็นอาณานิคม ในขณะเดียวกัน ชาวจีนจากมณฑลยูนนานก็เริ่มไหลเข้าสู่ประเทศไทย กลุ่มชาวไทยชาตินิยมจากทุกระดับจึงได้เกิดความคิดต่อต้านชาวจีนขึ้น หลายร้อยปีก่อนหน้านี้ ชาวจีนกุมเศรษฐกิจการค้าส่วนใหญ่ไว้ และยังได้รับอำนาจผูกขาดการค้าและรวมถึงการเป็นนายอากรเก็บภาษีซึ่งเริ่มในสมัยรัชกาลที่ 3 ด้วย ในขณะนั้นอิทธิพลทางการค้าของชาติตะวันตกก็สูงขึ้น ทำให้พ่อค้าขาวจีนหันไปขายฝิ่นและเป็นนายอากรมากขึ้น นอกจากนี้ เจ้าของโรงสีและพ่อค้าข้าวคนกลางชาวจีนยังได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในสยามในปีซึ่งกินเวลาเกือบ 10 ปี หลังปี พ.ศ. 2448 ด้วย
การให้สินบนขุนนาง กลุ่มอันธพาลอั้งยี่ และการเก็บภาษีอย่างกดขี่ ทั้งหมดนี้จุดประกายให้คนไทยเกลียดชังคนจีนมากขึ้น ในขณะเดียวกันอัตราการอพยพเข้าประเทศไทยก็มากขึ้น ในพ.ศ. 2453 เกือบ 10 % ของประชากรไทยเป็นชาวจีน ซึ่งผู้อพยพใหม่เหล่านี้มากันทั้งครอบครัวและปฏิเสธที่จะอยู่ในชุมชนและสังคมเดียวกับคนไทย ซึ่งต่างกับผู้อพยพยุคแรกที่มักแต่งงานกับคนไทย ซุน ยัตเซ็น ผู้นำการปฏิวัติประเทศจีน ได้เผยแพร่ความคิดให้ชาวจีนในประเทศไทยมีความคิดชาตินิยมจีนให้มากขึ้นเพื่อต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติ ชุมชนชาวจีนจะสนับสนุนการตั้งโรงเรียนเพื่อลูกหลานจีนโดยเฉพาะโดยไม่เรียนรวมกับเด็กไทย ในปี พ.ศ. 2452 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ชาวต่างชาติในประเทศไทยจดทะเบียนเป็นคนต่างด้าว เหตุการณ์นี้ทำให้ชาวจีนจำนวนมากต้องเลือกว่าจะเป็นคนไทยโดยสมบูรณ์หรือจะยอมเป็นคนต่างด้าว ส่งผลให้การแบ่งแยกชาวไทยและชาวจีนลดน้อยลง
ชาวไทยเชื้อสายจีนจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารซึ่งเริ่มในประมาณพ.ศ. 2475 ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม มีการประกาศอาชีพสงวนของคนไทยเท่านั้น เช่น การปลูกข้าว ยาสูบ อีกทั้งประกาศอัตราภาษีและกฏการควบคุมธุรกิจของชาวจีนใหม่ด้วย
ในขณะที่มีการปลุกระดมชาตินิยมจีนและไทยขึ้นพร้อมกัน แต่ก็ยังมีชาวจีนอีกมากที่อยากเป็นคนไทยโดยสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2513 ลูกหลานจีนที่เกิดในไทยมากกว่า 90 % ถือสัญชาติไทยโดยสมบูรณ์ และเมื่อมีการเจริญความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการแล้วในปี พ.ศ. 2518 ชาวจีนที่ไม่ได้เกิดในประเทศไทย ก็มีสิทธิที่จะเลือกที่จะถือสัญชาติไทยได้ ยังคงเหลือชาวจีนต่างด้าวเพียงไม่เกิน 200,000 คนเท่านั้น

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ภาษาไทย และภาษาจีนนั้นมีหลักภาษาที่คล้ายกัน จึงทำให้ผู้ที่อพยพเข้ามาเรียนรู้ภาษาไทยได้เร็วกว่าภาษาอื่นๆ ภาษาไทยก็มีคำภาษาจีนจำนวนมาก ในปัจจุบันชาวไทยเชื้อสายจีนจะพูดภาษาไทยผสมภาษาจีนในการติดต่อกันเอง โดยเฉพาะชาวแต้จิ๋วที่อยู่ในกรุงเทพมหานครเป็นส่วนมาก และก็จะใช้ภาษาไทยติดต่อกับสังคมภายนอกได้ดีขึ้น แต่ลูกหลานจีนในปัจจุบันมีน้อยมากที่ยังพูดภาษาจีนของบรรพบุรุษได้ เนื่องจากอยู่กับสังคมภายนอกและที่บ้านเองก็พูดภาษาจีนกับตนน้อยลง ยังคงเหลือแต่ผู้อาวุโสในครอบครัวเท่านั้นที่ยังพูดภาษาจีนกับลูกหลาน อย่างไรก็ตามประเพณีและค่านิยมบางอย่างที่ยังคงปฏิบัติได้ ครอบครัวลูกหลานจีนก็ยังยึดถือปฏิบัติอยู่ เช่น การไหว้เจ้าในโอกาสต่างๆ ซึ่งถือเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ ปัจจุบัน กระแสความนิยมภาษาจีนกลาง กำลังมีสูง เนื่องจากเป็นภาษาที่สำคัญในการติดต่อธุรกิจระหว่างไทย-จีน และฮ่องกง ไต้หวัน และสำหรับลูกหลานจีนที่เป็นวัยรุ่นก็ได้รับสื่อต่างๆ จากประเทศไต้หวัน มาก ทั้งละคร และเพลง ทำให้ในปัจจุบันมีโรงเรียนสอนภาษาจีนเปิดสอนอยู่มากขึ้นตามเพื่อสนองความต้องการ

ภาษาและวัฒนธรรม
ในปัจจุบันมีหนังสือพิมพ์ภาษาจีนในประเทศไทยอยู่ 6 ฉบับ ส่วนมากผู้อ่านจะเป็นผู้ที่อพยพมา ผู้เฒ่าผู้แก่ ลูกหลานคนจีน และ ผู้ที่เรียนภาษาจีนจะอ่าน

หนังสือพิมพ์ภาษาจีน
ในประเทศไทยก็มีโรงเรียนจีน แต่มีถึงแค่ ประถมศึกษาปีที่ 6 ที่โด่งดังที่สุด ได้แก่ โรงเรียนเผยอิง ในย่านเยาวราช
ที่มาของคำว่า "เรียบร้อยโรงเรียนจีน" นั้น มาจากการบุกตรวจค้นโรงเรียนจีนทั้งหลายว่าเป็นแหล่งซ่องสุมและเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ เมื่อประมาณ 30-40 ปีที่แล้ว

ศาสนาและความเชื่อ

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช - พระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี
นายชวน หลีกภัย - นายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2538 , พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2544) มีเชื้อสายจีนฮกเกี้ยน
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร - นายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2549) ไม่ใช่จีนแท้ๆ แต่ก็มีเชิ้อสายจีนแคะ
นายยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว - นักร้องนักดนตรีเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียง มีเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว
นายสนธิ ลิ้มทองกุล - ผู้ก่อตั้งและเจ้าของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการและสื่อในเครือผู้จัดการ มีเชื้อสายจีนไหหลำ

วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2550


ระบบประสาทของสัตว์ มีหน้าที่ในการออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และประมวลข้อมูลที่รับมาจากประสาทสัมผัสต่างๆ และสร้างคำสั่งต่าง ๆ (action) ให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงาน (ดูเพิ่มเติมที่ ระบบประสาทกลาง)
ระบบประสาทของสัตว์ที่มีสมองจะมีความคิดและอารมณ์ ระบบประสาทจึงเป็นส่วนของร่างกายที่ทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหว (ยกเว้นสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เช่น ฟองน้ำ) สารเคมที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทหรือเส้นประสาท (nerve) เรียกว่า สารที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ซึ่งมักจะมีผลทำให้เป็นอัมพาต หรือตายได้

ลักษณะทางกายวิภาค
ระบบประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลังสามารถแบ่งได้เป็นสองส่วน คือ ระบบประสาทกลาง (central nervous system - CNS) และ ระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system - PNS) ระบบประสาทกลางประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ระบบประสาทนอกส่วนกลางประกอบด้วยเส้นประสาทและนิวรอนที่ไม่ได้อยู่ในระบบประสาทกลาง โดยทั่วไปเรียกส่วนหลักของระบบประสาทนอกส่วนกลางว่า เส้นประสาท (ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็น แกนประสาท หรือ แอกซอน (axon) ของเซลล์ประสาท) ระบบประสาทนอกส่วนกลางยังสามารถแบ่งออกเป็นระบบประสาทโซมาติก (somatic nervous system) และระบบประสาทอิสระ (autonomic nervous system)
ระบบประสาทโซมาติก มีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายและรับสิ่งเร้า (stimulus) ต่าง ๆ จากภายนอกร่างกาย ระบบประสาทอิสระเป็นส่วนที่ไม่สามารถสั่งงานได้และมีหน้าที่ควบคุมอวัยวะภายในต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น หัวใจ, ปอด เป็นต้น
ระบบประสาทอิสระ ยังสามารถแบ่งออกเป็น ระบบประสาทซิมพาเทติก และระบบประสาทพาราซิมพาเทติก ระบบประสาทซิมพาเทติกจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นอันตรายหรือสถานการณ์ที่ตึงเครียด ระบบประสาทอันนี้ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นและเพิ่มความดันเลือด และเปลี่ยนแปลงสรีรวิทยาของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย และทำให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้น ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกจะทำงานตรงกันข้ามกับระบบประสาทซิมพาเทติก กล่าวคือ ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกจะทำงานเมื่อร่างกายรู้สึกผ่อนคลายหรือกำลังพัก มีผลทำให้รูม่านตาหดตัว, หัวใจเต้นช้าลง, เส้นเลือดขยายตัว และกระตุ้นให้ระบบย่อยอาหาร, ระบบสืบพันธุ์ และระบบขับถ่ายทำงานอีกด้วย

ระบบประสาทกลาง
ดูบทความหลักที่ สมอง
สมอง (brain) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
(medulla oblongate) สมองน้อย หรือ เซรีเบลลัม (cerebellum) และ พอนส์ (pons)
สมอง มี 2 ชั้น (ตรงข้ามกับไขสันหลัง)

สมองส่วนหน้า (forebrain หรือ prosencepphalon) ประกอบด้วยเทเลนเซฟาลอน (telencephalo) และไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) เทเลนเซฟาลอนคือสมองใหญ่ (cerebrum) ส่วนไดเอนเซฟาลอนประกอบด้วยไฮโพทาลามัส (hypothalamus) ทาลามัส (thalamus)
สมองส่วนกลาง (midbrain หรือ mesencephalon) ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของก้านสมองและเป็นจุดศูนย์กลางของรีเฟลกซ์เกี่ยวกับการมองเห็น (visual reflex) และรีเฟลกซ์เกี่ยวกับการได้ยิน (auditory reflex) ประกอบด้วยเซรีบรัมพีดังเคิล (cerebralpeduncle) และคอร์พอราควอไดร์เจอมินาร์ (corpora quadrigermina) ซึ่งแบ่งออกเป็น คอลิคูไลด์ (superior colliculi) 2 พู (lob) และอินฟีเรียคอลิคูไลด์ (inferior colliculi) 2 พู
สมองส่วนท้าย (hindbrain หรือ rhombencephalon) ประกอบด้วยเมดัลลาออบลองกาตา
เนื้อเทา (Gray matter) เป็นที่อยู่ของกระแสประสาทและแกนประสาท ที่ไม่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม
เนื้อขาว (White matter) เป็นที่อยู่ของแกนประสาทที่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม สมอง
เยื่อหุ้มสมอง (Meninges) 3 ชั้น คือ

เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก (Dura mater) เหนียว แข็งแรงมากโดยมีหน้าที่ป้องกันการกระทบกระเทือน
เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (Arachoid mater) เป็นเยื่อบางๆ
เยื่อหุ้มสมองชั้นใน (Pia mater) มีเส้นเลือดแทรกมากมายทำหน้าที่ส่งอาหารไปเลี้ยงสมอง ในระหว่างชั้นกลางกับชั้นในจะมีการบรรจุของเหลวที่เรียกว่า น้ำเลี้ยงสมองไขสันหลัง โดยจำทำหน้าที่ให้สมองและไขสันหลังเปียกชื้นอยู่เสมอ ระบบประสาท เยื่อหุ้มสมอง
ไขสันหลัง (spinal cord) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ส่วน คือ

เนื้อขาว (White matter) เป็นส่วนที่มีสีขาวรอบนอก ไม่มีเซลล์ประสาทจะมีเฉพาะใยประสาทที่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม
เนื้อเทา (Gray matter) เป็นส่วนสีเทา ประกอบด้วยใยประสาทที่ไม่มีเยื่อไมอิลินหุ้ม และตัวเซลล์ประสาทซึ่งมีทั้งประเภทประสานงานและนำคำสั่ง โครงสร้างของไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลัง
ดูบทความหลักที่ เซลล์ประสาท
เซลล์ประสาท ส่วนประกอบของเซลล์ประสาท

ตัวเซลล์ (cell body หรือ soma) มีส่วนประกอบเหมือนเซลล์ทั่วๆไป เช่น นิวเคลียส ไมโตคอนเดรีย
ใยประสาท (nerve fiber) คือส่วนของโปรโตพลาสซึมของเซลล์ที่ยื่นออกไปมี 2 ชนิดคือ