วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550


ดูความหมายอื่นของ น่าน ได้ที่ น่าน (แก้ความกำกวม)
จังหวัดน่าน อยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ยาวนาน มีชื่อเรียกในพงศาวดารว่า นันทบุรี มีพื้นที่กว้างใหญ่ เป็นอันดับ 13 ของประเทศ แต่มีประชากรเบาบางเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศ พื้นที่เต็มไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซอน และมีลำน้ำหลายสายเช่น ลำน้ำน่าน ลำน้ำว้า ทั้งยังมีประชากรหลายชาติพันธุ์ นับว่าเป็นดินแดนของความหลากหลากอีกแห่งหนึ่งของประเทศ
พื้นที่จังหวัดน่าน มีเขตแดนด้านเหนือและตะวันออกติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ด้านใต้ติดกับจังหวัดอุตรดิตถ์ ทางตะวันตกติดกับจังหวัดพะเยาและแพร่ นอกจากนี้แล้ว จังหวัดน่านยังมีด่านเข้าออกกับประเทศลาวหลายแห่งด้วยกัน เช่น ด่านห้วยโก๋น จุดผ่อนปรนบ้านใหม่ชายแดน และจุดผ่อนปรนบ้านห้วยสะแตง

ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์เมืองน่าน เริ่มปรากฏขึ้นราว พ.ศ. 1825 ภายใต้การนำของพญาภูคา ศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองย่าง (เชื่อกันว่าคือบริเวณริมฝั่งด้านใต้ ของแม่น้ำย่าง ใกล้เทือกเขาดอยภูคาในเขตบ้านเสี้ยว บ้านทุ่งฆ้อง บ้านลอมกลาง ตำบลยม อำเภอท่าวังผา) เพราะปรากฏร่องรอย ชุมชนในสภาพที่เป็นคูน้ำ คันดิน กำแพงเมืองซ้อน กันอยู่ ต่อมาพระยาภูคา ได้ขยายอาณาเขตปกครองของตนออกไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยส่งราชบุตรบุญธรรม 2 คน ไปสร้างเมืองใหม่ โดย ขุนนุ่น ผู้พี่ไปสร้างเมืองจันทบุรี (เมืองพระบาง) และขุนฟองผู้น้อง สร้างเมืองวรนครหรือเมืองปัว
ภายหลังขุนฟองถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนราชบุตรจึงได้ขึ้นครองเมืองปัวแทน ด้านพญาภูคาครองเมืองย่างมานาน และมีอายุมากขึ้น มีความประสงค์จะให้เจ้าเก้าเถื่อนผู้หลานมาครองเมืองย่างแทน จึงให้เสนาอำมาตย์ไปเชิญ เจ้าเก้าเถื่อนเกรงใจปู่จึงยอมไปอย ู่เมืองย่างและมอบให้ชายา คือนางพญาแม่ท้าวคำปินดูแลรักษาเมืองปัวแทน เมื่อพญาภูคาถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนจึงครองเมืองย่างแทน ในช่วงที่เมืองปัวว่างจากผู้นำ เนื่องจากเจ้าเก้าเถื่อนไปครองเมืองย่างแทนปู่คือพญาภูคา พญางำเมืองเจ้าผู้ ครองเมืองพะเยา จึงได้ขยายอิทธิพลเข้าครอบครอง บ้านเมืองในเขตเมืองน่านทั้งหมด นางพญาแม่เท้าคำปิน พร้อมด้วยบุตรในครรภ์ ได้หลบหนีไปอยู่บ้านห้วยแร้ง จนคลอดได้บุตรชายชื่อว่าเจ้าขุนใส เติบใหญ่ได้เป็นขุนนาง รับใช้พญาคำเมืองจนเป็นที่โปรดปราน พญางำเมืองจึงสถาปนาให้เป็น เจ้าขุนใสยศ ครองเมืองปราดภายหลังมีกำลังพลมากขึ้นจึงยกทัพ มาต่อสู้จนหลุดพ้นจากอำนาจเมืองพะเยา และได้รับการสถาปนาเป็นพญาผานอง ขึ้นครองเมืองปัวอย่างอิสระระหว่างปี 1865 - 1894 รวม 30 ปี จึงพิราลัย
ในสมัยของพญาการเมือง (กรานเมือง) โอรสของพญาผานอง เมืองปัว ได้มีการขยายตัวมากขึ้น ตลอดจนมีความสัมพันธ์ กับเมืองสุโขทัยอย่างใกล้ชิด พงศาวดารเมืองน่านกล่าวถึงพญาการเมืองว่า ได้รับเชิญจากเจ้าเมืองสุโขทัย (พระมหาธรรมราชาลิไท) ไปร่วมสร้างวัดหลวงอภัย (วัดอัมพวนาราม) ขากลับเจ้าเมืองสุโขทัย ได้พระราชทานพระธาตุ 7 องค์ พระพิมพ์ทองคำ 20 องค์ พระพิมพ์เงิน 20 องค์ ให้กับพญาการเมือง มาบูชา ณ เมืองปัวด้วยพญาการเมือง ได้ปรึกษาพระมหาเถรธรรมบาล จึงได้ก่อสร้างพระธาตุแช่แห้งขึ้นที่บนภูเพียงแช่แห้ง พร้อมทั้งได้อพยพผู้คนจากเมืองปัว ลงมาสร้างเมืองใหม่ที่บริเวณพระธาตุแช่แห้ง เรียกว่า ภูเพียงแช่แห้งในปี พ.ศ. 1902 โดยมีพระธาตุแช่แห้งเป็นศูนย์กลางเมือง หลังจากพญาการเมืองถึงแก่พิราลัย โอรสคือ พญาผากองขึ้นครองแทนอยู่มาเกิดปัญหาความแห้งแล้ง จึงย้ายเมืองมาสร้างใหม่ที่ริมแม่น้ำน่านด้านตะวันตกบริเวณบ้านห้วยไค้ คือบริเวณที่ตั้งของจังหวัดน่านในปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 1911
ในสมัยเจ้าปู่เข่งครองเมืองระหว่างปี พ.ศ. 1950 - 1960 ได้สร้างวัดพระธาตุช้างค้ำ วรวิหาร วัดพระธาตุเขาน้อย วัดพญาภู แต่สร้างไม่ทันเสร็จก็ถึงแก่พิราลัยเสียก่อน พญางั่วฬารผาสุมผู้เป็นหลานได้สร้างต่อจนแล้วเสร็จและได้สร้าง พระพุทธรูปทองคำปางลีลา ปัจจุบันคือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ในปี พ.ศ. 1993 พระเจ้าติโลกราชกษัตริษ์นครเชียงใหม่ มีความประสงค์จะครอบครองเมืองน่าน และแหล่งเกลือ บ่อมาง (ต.บ่อเกลือใต้ อ.บ่อเกลือ) ที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์และหาได้ยากทางภาคเหนือ จึงได้จัดกองทัพเข้ายึด เมืองน่าน พญาอินต๊ะแก่นท้าว ไม่อาจต้านทาน ได้จึงอพยพหนีไปอาศัยอยู่ ที่เมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) เมืองน่านจึงถูกผนวกเข้าไว้ในอาณาจักรล้านนาตั้งแต่นั้นมา
ตลอดระยะเวลาเกือบ 100 ปี ที่เมืองน่านอยู่ในครอบครองของ อาณาจักรล้านนา ได้ค่อย ๆ ซึมชับเอาศิลปวัฒนธรรมของล้านนา มาไว้ในวิถีชีวิต โดยเฉพาะการรับเอาศิลปกรรมทางด้านศาสนา ปรากฏศิลปกรรมแบบล้านนาเข้ามาแทนที่ศิลปกรรมแบบสุโขทัย อย่างชัดเจน ดังเช่น เจดีย์วัดพระธาตุแช่แห้ง เจดีย์วัดสวนตาล เจดีย์วัดพระธาตุช้างค้ำ แม้จะเหลือส่วนฐานที่มีช้างล้อมรอบ ซึ่งเป็นลักษณะศิลปะแบบสุโขทัยอยู่ แต่ส่วนองค์เจดีย์ขึ้นไปถึงส่วนยอดเปลี่ยนเป็นศิลปกรรมแบบล้านนาไปจนหมดสิ้น ในระหว่างปี พ.ศ. 2103 - 2328 เมืองน่านได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า อยู่หลายครั้งและต้องเป็นเมืองร้าง ไร้ผู้คนถึง 2 ครา คือ ครั้งแรก ปี พ.ศ. 2247 - 2249 ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ 2321 - 2344

สมัยล้านนา
ปี พ.ศ. 2331 เจ้าอัตถวรปัญโญ ได้ลงมาเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เพื่อขอเป็น ข้าขอบขันทสีมา เจ้าอัตถวรปัญโญ หลังจากขึ้นครองเมืองน่านยังมิได้เข้าไปอยู่เมืองน่านเสียทีเดียว เนื่องจากเมืองน่าน ยังรกร้างอยู่ ได้ย้ายไปอาศัยอยู่ตามที่ต่างๆ คือ บ้านตึ๊ดบุญเรือง เมืองงั้ว (บริเวณอำเภอนาน้อย) เมืองพ้อ (บริเวณอำเภอเวียงสา) หลังจากได้บูรณะซ่อมแซมเมืองน่านแล้ว พร้อมทั้งได้ขอพระบรมราชานุญาตกลับเข้ามาอยู่ในเมืองน่าน ในปี พ.ศ. 2344 ในยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เมืองน่านมีฐานะเป็นหัวเมืองประเทศราช เจ้าผู้ครองนครน่านในชั้นหลังทุกองค์ ต่างปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความเที่ยงธรรมมีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี ได้ช่วยราชการบ้านเมืองสำคัญหลายครั้งหลายคราด้วยกัน นอกจากนี้เจ้าผู้ครองนครน่าน ต่างได้ทำนุบำรุงกิจการพุทธศาสนาในเมืองน่าน และอุปถัมภ์ค้ำจูนพระพุทธศาสนาเป็นสำคัญ ได้สร้างธรรมนิทานชาดก การจารพระไตรปิฎกลงในคัมภีร์ใบลาน นับเป็นคัมภีร์ได้ 335 คัมภีร ์นับเป็นผูกได้ 2,606 ผูก ได้นำไปมอบให้ เมืองต่างๆ มีเมืองลำปาง เมืองลำพูน เมืองเชียงใหม่ เมืองเชียงราย และเมืองหลวงพระบาง
ในปี พ.ศ. 2446 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้เจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดชฯ เลือนยศฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็น "พระเจ้านครน่าน" มีพระนามปรากฏตามสุพรรณปัฏว่า "พระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงศา ธิบดี สุริตจารีราชนุภาวรักษ์ วิบูลยศักดิ์กิติไพศาล ภูบาลบพิตรสถิตย์ ณ นันทราชวงษ์" เป็นพระเจ้านครน่านองค์แรก และองค์เดียวในประวัติศาสตร์น่าน ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าน่าน พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ จึงได้สร้าง หอคำ (คุ้มหลวง) ขึ้นแทนหลังเดิมซึ่งสร้างในสมัยของ เจ้าอนันตวรฤิทธิเดชฯ และด้านหน้าหอคำ มีข่วงไว้ทำหน้าที่คล้ายสนามหลวง สำหรับจัดงานพิธีต่างๆ ตลอดจนเป็นที่จัดขบวนทัพออกสู้ศึก จัดขบวนนำเสด็จหรือขบวนรักแขกเมืองสำคัญและในปี พ.ศ. 2474 เจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่าน ถึงแก่พิราลัย ตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครก็ถูกยุบเลิกตั้งแต่นั้นมา ส่วนหอคำได้ใช้เป็น ศาลากลางจังหวัดน่าน จนปี พ.ศ. 2511 จังหวัดน่าน ได้มอบหอคำให้กรมศิลปากร ใช้เป็นสถานที่จัดตั้ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่านจนกระทั่งปัจจุบัน
ในยุคประชาธิปไตย จังหวัดน่านยังมีตำนานการเป็นแหล่งกบดานของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยเฉพาะที่อำเภอทุ่งช้าง ซึ่งเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญอีกแห่งหนึ่ง โดยมีอนุสรณ์สถานวีรกรรมทุ่งช้าง เป็นพยานช่วยเตือนความจำให้แก่ชนรุ่นหลัง

สมัยรัตนโกสินทร์
จังหวัดน่านมีสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา โดยเฉพาะบริเวณชายแดนด้านเหนือและตะวันออก ซึ่งเป็นรอยต่อติดกับลาว แต่ก็ยังมีแม่น้ำสายสำคัญด้วย นั่นคือ แม่น้ำน่าน ซึ่งมีต้นกำเนิดทางตอนเหนือของจังหวัด แล้วไหลลงไปยังเขื่อนสิริกิติ์ ในจังหวัดอุตรดิตถ์ และบรรจบกับแม่น้ำปิง แม่น้ำวัง และแม่น้ำยม ที่จังหวัดนครสวรรค์ เป็นแม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากนี้ยังมีลำน้ำสาขาต่างๆ ที่สำคัญ เช่น ลำน้ำสา ลำน้ำว้า ลำน้ำสมุน ลำน้ำปัว ลำน้ำย่าง
เมื่อถึงฤดูหนาว อากาศหนาวจัด เนื่องจากแวดล้อมไปด้วยภูเขาสูง ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ดอยภูคา ในอำเภอปัว มีความสูงถึง 1,980 เมตร

ภูมิศาสตร์
ประชากรในจังหวัดน่านมีอยู่อย่างเบาบางเป็นอันดับ 4 ของประเทศ (40 คน ต่อตารางกิโลเมตร) กระจัดกระจายไปตามสภาพทางภูมิศาสตร์ ในพื้นที่ราบ มักเป็นที่อาศัยของชาวไทย เช่น ไทยล้านนา และไทยลื้อ ส่วนบริเวณที่สูง ตามไหล่เขา เป็นชุมชนของชนกลุ่มน้อย ที่เรียกกันว่า ชาวเขา ได้แก่ ชาวม้ง เมี่ยน ลัวะ ขมุ และรวมถึงชาวตองเหลือง ที่อาศัยอยู่ในบริเวณอำเภอเวียงสาด้วย ผู้คนในจังหวัดน่านจึงมีภาษาพูดที่หลากหลายด้วยเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่จะพูดภาษาไทยถิ่นเหนือ หรือพูดคำเมือง สำเนียงน่าน

น่าน กลุ่มชาติพันธุ์

พระยาพิชัยชาญฤทธิ์ พ.ศ. 2433 - 2435
พระยาสุนทรนุรักษ์ พ.ศ. 2435 - 2437
หลวงชาญภูเบศร์ (สวัสดิ์ ภูมิรัตน์) พ.ศ. 2437 - 2439
จหมื่นมหาดเล็ก (เรือง ภูมิรัตน์) พ.ศ. 2439 - 2444
พระยาบรมนาทบำรุง พ.ศ. 2444 - 2449
พระยาอุทัยมนตรี (พร จารุจินดา) พ.ศ. 2449 - 2450
พระยาอมฤทธิ์ธำรง (ฉี่ บุญนาค) พ.ศ. 2450 - 2451
พระยาทรธนพัฒน์ (เจิม จารุจินดา) พ.ศ. 2451 - 2454
พระยาอารีราชการัณย (ม.ร.ว.ปาร นพวงศ์) พ.ศ. 2454 - 2467
พระยาวรวิไชย วุฒิกรณ์ (เลื่อน สนธิรัตน์) พ.ศ. 2467 - 2470
พระยาอนุบาล พายัพกิจ (ปุ่น อาสนจินดา) พ.ศ. 2470 - 2471
พระยากรุงศรี สวัสดิ์การ (จำรัส สวัสดิ์ชูโต) พ.ศ. 2471 - 2476
พระเกษตร สรรพกิจ (นุ่ม วรรณโกมล) พ.ศ. 2476 - 2480
พระบริหาร ทัณฑนิติ (ประเสริฐ เศวตกนิษฐ์) พ.ศ. 2480 - 2482
พระชาติการ (ม.ร.ว.จิตร ดเนจร) พ.ศ. 2482 - 2482
หลวงทรงประศาสน์ (ทองคำ นวลทรง) พ.ศ. 2482 - 2488
ขุนระดับคดี (ปัญญา รมยานนท์) พ.ศ. 2488 - 2488
ขุนอักษรสารสิทธิ์ (พินิจ อักษรสารสิทธิ์) พ.ศ. 2488 - 2489
ขุนวิศิษฐ์ อุดรการ (กรี วิศิษฐ์อุดรการ) พ.ศ. 2489 - 2490
นายชลอ จารุจินดา พ.ศ. 2490 - 2490
นายนวล มีชำนาญ พ.ศ. 2490 - 2496
นายมานิต ปุรณพรรค์ พ.ศ. 2496 - 2500
หลวง อนุมัติ ราชกิจ (อั๋น อนุมัติราชกิจ) พ.ศ. 2500 - 2503
นายวิชาญ บรรณโศภิษฐ์ พ.ศ. 2503 - 2510
นายชิต ทองประยูร พ.ศ. 2510 - 2511
พล.ต.ต.ศรีศักดิ์ ธรรมรักษ์ พ.ศ. 2511 - 2514
นายสุกิจ จุลละนันทน์ พ.ศ. 2514 - 2517
นายสวัสดิ์ ประไพพานิช พ.ศ. 2517 - 2518
นายโชดก วีรธรรมพูลสวัสดิ พ.ศ. 2518 - 2520
นายสายสิทธิ พรแก้ว พ.ศ. 2520 - 2521
พ.ท.น.พ.อุดม เพ็ชรศิริ พ.ศ. 2521 - 2523
นายชัยวัฒน์ หุตะเจริญ พ.ศ. 2523 - 2526
นายประกอบ แพทยกุล พ.ศ. 2526 - 2528
นายเฉลิม พรหมเลิศ พ.ศ. 2528 - 2530
นายกาจ รักษ์มณี พ.ศ. 2530 - 2532
พ.ต.ปรีดา นิสัยเจริญ พ.ศ. 2532 - 2533
นายอำนวย ยอดเพรช พ.ศ. 2533 - 2535
นายจิโรจน์ โชติพันธุ์ พ.ศ. 2535 - 2536
นายประวิทย์ สีห์โสภณ พ.ศ. 2536 - 2537
นายสุจริต นันทมนตรี พ.ศ. 2537 - 2539
นายจเด็จ อินสว่าง พ.ศ. 2539 - 2541
นายเชิดพงษ์ อุทัยสาง พ.ศ. 2541 - 2541
ร.ต.ต.ธนะพงษ์ จักกะพาก พ.ศ. 2541 - 2545
นายสุวัฒน์ โชคสุวัฒนสกุล พ.ศ. 2545 - 2548
นายปริญญา ปานทอง พ.ศ. 2548 - 2550
นายสมพงษ์ อนุยุทธพงศ์ พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน ทำเนียบรายนามผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน
การปกครองแบ่งออกเป็น 14 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 99 ตำบล 848 หมู่บ้าน

อำเภอเมืองน่าน อยู่ในบริเวณกึ่งกลางของพื้นที่จังหวัด เป็นเมืองขนาดย่อม มีประชากรไม่หนาแน่น
อำเภอแม่จริม อยู่ทางตะวันออกของจังหวัด มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม
อำเภอบ้านหลวง อยู่ทางตะวันตก ติดกับจังหวัดพะเยา มีผู้คนเบาบาง
อำเภอนาน้อย ทางด้านใต้ของจังหวัด มีเส้นทางติดกับจังหวัดแพร่ มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ คือ อุทยานแห่งชาติศรีน่าน และเสาดินนาน้อย
อำเภอปัว อำเภอศูนย์กลางเศรษฐกิจทางตอนบนของจังหวัด,มีสถานที่ท่องเที่ยวที่เก่าแก่ และเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา พื้นที่โดยรอบมีสภาพเป็นภูเขา
อำเภอท่าวังผา บริเวณช่วงกลางของจังหวัด มีชื่อเสียงเรื่องการทอผ้า ของหมู่บ้านไทยลื้อ และมีวัดเก่าแก่ คือวัดหนองบัว
อำเภอเวียงสา เดิมเรียกอำเภอสา มีน้ำตกดอยสวรรค์ วัดดอยไชย และวัดบุญยืน
อำเภอทุ่งช้าง สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นที่มั่นสำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์ประเทศไทย มีอนุสาวรีย์วีรกรรมทุ่งช้างประดิษฐานอยู่
อำเภอเชียงกลาง อำเภอเล็กๆ ทางตอนเหนือ มีรีสอร์ทสวยๆ สำหรับนักท่องเที่ยวหลายแห่ง
อำเภอนาหมื่น อำเภอทางใต้สุดของจังหวัด ติดกับจังหวัดอุตรดิตถ์ มีหมู่บ้านชาวประมงน้ำจืด ที่อาศัยแอ่งน้ำเหนือเขื่อนสิริกิติ์ทำการประมง และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ
อำเภอสันติสุข อำเภอขนาดเล็กทางตะวันออกของจังหวัด มีความสงบ ท่ามกลางขุนเขา
อำเภอบ่อเกลือ มีบ่อเกลือโบราณ และตำนานเก่าแก่ สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นที่ตั้งของเมืองภูคาสมัยโบราณ ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ โดยเฉพาะเป้นจุดเริ่มต้นของการล่องแก่งน้ำว้า
อำเภอสองแคว อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด ติดกับจังหวัดพะเยา และมีด่านชายแดนไทยลาวทางตอนเหนือ มีหมู่บ้านชนกลุ่มน้อย ที่เรียกว่า ชาวขมุ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขาสูง
กิ่งอำเภอภูเพียง อยู่ใกล้กับอำเภอเมืองน่าน เป็นที่ตั้งของพระธาตุแช่แห้ง
อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอเหนือสุดของจังหวัดน่าน มีด่านชายแดนไทยลาว และหมู่บ้านชาวเขา เป็นแหล่งปลูกส้มที่สำคัญของจังหวัด และแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำสายสำคัญ คือแม่น้ำน่าน หน่วยการปกครอง

อุทยานแห่งชาติขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ มีพรรณไม้และสัตว์ป่าที่น่าสนใจมากมาย มีอาณเขตประมาณ 260,000 ไร่
อุทยานแห่งชาติขุนสถาน อำเภอนาน้อยและอำเภอนาหมื่น มีพรรณไม้และน้ำตกหลายแห่ง
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อุทยานแห่งชาติที่สำคัญของจังหวัดน่าน มีอาณาเขตกว้างขวางโดยมีพื้นที่ประมาณ 1,080,000 ไร่ ประกอบด้วยพรรณไม้ที่หลากหลาย มีการค้นพบพืชสำคัญหลายชนิด เช่น เต่าร้างยักษ์ภูคา ที่พบเฉพาะที่นี่เพียงแห่งเดียว รวมถึงต้นชมพูภูคา ซึ่งพบที่นี่เพียงแห่งเดียวเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีถ้ำที่น้อยคนเคยเข้าไปเที่ยว
อุทยานแห่งชาติถ้ำสะเกิน อยู่ในอำเภอสองแคว ทางตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตประมาณ 280,000 ไร่
อุทยานแห่งชาตินันทบุรี อยู่ในอำเภอปัว มีเนื้อที่ถึง 740,900 ไร่
อุทยานแห่งชาติแม่จริม มีสถานที่ล่องแพอย่างสนุกสนาน อยู่ในอำเภอแม่จริม มีอาณาเขตประมาณ 270,000 ไร่
อุทยานแห่งชาติศรีน่าน อยู่ในเขตอำเภอนาน้อย มีอาณาเขตประมาณ 583,750 ไร่
อุทยานแห่งชาติขุนสถาน ตั้งอยู่ที่ บ้านขุนสถาน หม่ที่ 9 ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน อยู่ระหว่างเขตรอยต่อจังหวัดน่านและแพร่ ที่ทำการตั้งอยู่บน กม. 26 ถนนสาย 1216 แหล่งท่องเที่ยวและเรียนรู้

ตราประจำจังหวัด: รูปพระธาตุแช่แห้งอยู่บนหลังโคอุสุภราช
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกเสี้ยวดอกขาว (Bauhinia variegata)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: เสี้ยวดอกขาว (Bauhinia variegata)
คำขวัญประจำจังหวัด: แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง

ไม่มีความคิดเห็น: