วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2550

วัดโสธรวราราม
วัดโสธรวราราม ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพระอารามหลวง "หลวงพ่อพุทธโสธร" พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร วัดโสธรวรารามวรวิหาร ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมือง ริมแม่น้ำบางปะกง เดิมชื่อว่า วัดหงษ์ สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นที่ประดิษฐาน "หลวงพ่อพุทธโสธร" พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของฉะเชิงเทรา เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ หน้าตักกว้าง ๑.๖๕ เมตร สูง ๑.๔๘ เมตร ฝีมือช่างล้านช้าง
ตามประวัติเล่าว่าได้ปาฏิหาริย์ลอยน้ำมาและมีผู้อัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัดแห่งนี้ แต่เดิมเป็นพระพุทธรูปหล่อสำริดปางสมาธิหน้าตักกว้างศอกเศษ รูปทรงสวยงามมาก แต่พระสงฆ์ในวัดเกรงจะมีผู้มาลักพาไปจึงได้เอาปูนพอกเสริมหุ้มองค์เดิมไว้จนมีลักษณะที่เห็นในปัจจุบัน หลวงพ่อพุทธโสธร ประกอบด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังโดยรอบนับตั้งแต่พื้นพระอุโบสถ เสา ผนัง และเพดานจะบรรจุเรื่องราวให้เป็นแดนแห่งทิพย์ เป็นเรื่องราวของสีทันดรมหาสมุทร จตุโลกบาล สวรรค์ดาวดึง พรหมโลก ดวงดาว และจักรวาลตำแหน่งของดวงดาวบนเพดานจะกำหนดตำแหน่งตามดาราศาสตร์ ตรงกับวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งเป็นวันยกยอดฉัตรทองคำเหนือมณฑปพระอุโบสถ และภาพของจักรวาลบนเพดานจะเป็นภาพเขียน ประดับกระเบื้องโมเสกสี จึงเป็นพระอุโบสถที่มีขนาดใหญ่และสวยงามที่สุด

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส
'โอเพนซอร์ส'(open source) คือการพัฒนาระบบใดระบบหนึ่งทางด้านคอมพิวเตอร์ด้วยเงื่อนไขที่ผู้สร้างสรรค์หรือผู้คิดค้นไม่ถือเอาสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการพัฒนาระบบนั้นๆ พร้อมทั้งเปิดเผยแหล่งต้นกำเนิดของระบบนั้น เช่น source code หรือความเป็นมาทางด้านเทคนิคของการพัฒนาระบบดังกล่าว เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นนำเอาระบบนั้นๆไปพัฒนาได้ต่อไป โดยมีเงื่อนไขทางกฎหมายบางประเภท เช่น GPL , BSD , OSL,AFL เป็นต้น
'ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส' (open source software - OSS) คือ ซอฟต์แวร์ที่เปิดเเผยหลักการหรือแหล่งที่มาของเทคโนโลยี่ของซอฟท์แวรฺนั้นให้บุคคลภายนอกได้ใช้ ภายใต้เงื่อนไขบางประการที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ทำการแก้ไข ดัดแปลงและ เผยแพร่โปรแกรมต้นฉบับ(source code) ได้ภายใต้เงื่อนไขทางข้อตกลงทางกฎหมาย เช่น GPL License หนรือ BSDLicenseซึ่งปัจจุบันมีการกำหนดโดยกลุ่มผู้กำหนดโอเพ่นซอร์ส[1]]][2]ที่วางข้อกำหนดคำนิยาม ๑๐ ประการในการกำหนดว่าเงื่อนไขที่เกี่ยวกับโอเพ่นซอร์ส คือ

เงื่อนไขจะต้องไม่จำกัดผู้หนึ่งผู้ใดในการจำหน่ายหรือการจ่ายแจกซอฟท์แวร์ให้เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของซอฟท์แวร์แบบแยกส่วนที่ประกอบด้วยซอฟท์แวร์จากหลาหลายแหล่ง และจะต้องไม่มีข้อกำหนดใดๆที่เกี่ยวกันกับค่าใช้สิทธิหรือค่าสิทธิใดๆในการจำหน่ายซอฟท์แวร์นั้น กล่าวคือให้มีการจ่ายแจกได้อย่างไม่มีการคิดค่าตอบแทน
โปรแกรมนั้นจะต้องเผยแพร่โปรแกรมต้นฉบับ source codeและจำต้องยินยอมให้มีการแจกจ่ายโปรแกรมต้นฉบับ (source code)ได้เช่นเดียวกันกับโปรแกรมที่อยู่ในรูปของการแปลงเป็นโปรแกรมที่ใช้งานได้แล้ว โดยหากแม้ไม่สามารถนำสินค้านั้นแจกจ่ายได้พร้อมโปรแกรมต้นฉบับ (source code)ก็จำต้องแหล่งแห่งที่อันเป็นสาธารณะที่สามารถเข้าถึงโปรแกรมต้นฉบับ ซอร์สโค้ดได้โดยปราศจากค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนอื่นใด ทั้งนี้โปรแกรมต้นฉบับ (source code)นั้นจะต้ออยู่ในรูปแบบที่นักโปรแกรมสามารถที่จะแก้ไขได้โดยจำต้องปราศจากซึ่งการเขียนโปรแกรมต้นฉบับในลักษณะที่เป็นการสับสนโดยเจตนา รวมทั้งต้องไม่มีลักษณะของโครงสร้างการทำงานของโปรแกรมต้นฉบับที่จำต้องมีตัวแปลภาษาเฉพาะ(translator)หรือมีส่วนที่ต้องนำเข้าสู่โปรแกรมในรูปแบบของโปรแกรมที่แปลงสภาพแล้ว (preprocessor)
เงื่อนไขจะต้องยินยอมให้สามารถทำการพัฒนาต่อยอดได้ ภายใต้เงื่อนไขการจ่ายแจกเช่นเดียวกันกับเงื่อนไขของโปรแกรมฉบับเริ่มต้น
เงื่อนไขอาจจะวางข้อกำหนดในการจำกัดเผยแพร่โปรแกรมต้นฉบับ (source code)ฉบับที่แก้ไขแล้วได้ต่อเมื่อเงื่อนไขนั้นได้ยินยอมให้มีการแจกจ่าย patch file พร้อมโปรแกรมต้นฉบับเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขโปรแกรมนั้นในเวลาทำการสร้างโปรแกรม ทั้งเงื่อนไขจำต้องยินยอมให้มีการแจกจ่ายโปรแกรมนั้นที่ได้รับการแก้ไขโปรแกรมต้นฉบับได้ แต่เงื่อนไขนั้นอาจจะกำหนดให้โปรแกรมฉบับต่อยอดใช้ชื่อที่แตกต่างหรือใช้รุ่นที่แตกต่างจากโปรแกรมฉบับเริ่มต้นก็ได้
เงื่อนไขจะต้องไม่จำกัดเฉพาะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดๆ
เงื่อนไขต้องไม่จำกัดการใช้งานของโปรแกรมในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งอันเป็นการเฉพาะ
เงื่อนไขที่กำหนดจะต้องใช้กับทุกคนที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมนั้น
สิทธิใดๆของโปรแกรมนั้นจะต้องไม่มีเงื่อนไขที่เฉพาะเจาะจงกับสินค้าหนึ่งสินค้าใด
เงื่อนไขต้องไม่กำหนดอันเกี่ยวกับข้อจำกัดในการใช้ร่วมกันกับโปรแกรมอื่น เช่นกำหนดให้ต้องใช้โปรแกรมดังกล่าวกับโปรแกรมแบบโอเพ่นซอร์สเท่านั้น
ต้องไม่มีข้อกำหนดใดๆในเงื่อนไขที่กำหนดให้ใช้เทคโนโลยี่ของใครหรือเทคโนโลยี่แบบใดเป็นการเฉพาะ

วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

การประชุมเอสเปรันโตโลก
การประชุมเอสเปรันโตโลก (อังกฤษ: World Congress of Esperanto, เอสเปรันโต: Universala Kongreso de Esperanto) เป็นการร่วมประชุมภาษาเอสเปรันโตในระดับนานาชาติอันหนึ่งที่มีประวัติยาวนาน โดยจัดครั้งแรกในปี ค.ศ. 1905ที่เมือง บูลอน ซู แมร์ ในประเทศฝรั่งเศส โดยมีการจัดต่อเนื่องทุกปียกเว้นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และ สงครามโลกครั้งที่ 2
การประชุมจัดขึ้นทั่วโลกและเปลี่ยนสถานที่จัดทุกปี ในประมาณช่วงปลายเดือนกรกฎาคม หรือเดือนสิงหาคม โดยในปี ค.ศ. 2004 จัดที่ปักกิ่ง ประเทศจีน มีผู้เข้าร่วม 2,031 คน และ ค.ศ. 2005 จัดที่ประเทศลิทัวเนีย มีผู้เข้าร่วม 2,235 คน โดยในครั้งต่อไป ปี ค.ศ. 2006, 2007, 2008 จัดที่ ฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี, โยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น และ รอตเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ตามลำดับ

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550

หนังสือกินเนส
กินเนสส์บุ๊ค (Guinness World Records) เป็นหนังสือที่บันทึกที่สุดในโลกด้านต่างๆ โดยออกเป็นรูปแบบหนังสือรายปี

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2550

GATT
ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและภาษีศุลกากร (แกตต์) หรือ General Agreement on Tariffs and Trade (GATT) เป็นความตกลงระหว่างชาติเพื่อส่งเสริมประโยชน์ทางการค้าและเศรษฐกิจที่ร่วมกันลงนามเมื่อ พ.ศ. 2490 มีเป้าหมายเพื่อเพื่อให้เกิดการค้าเสรีโดยการลดภาษีศุลกากรระหว่างชาติ การเจรจารอบที่ 8 ที่เรียกว่า "รอบอุรุกวัย" (Uruguay Round) เกิดปัญหาซับซ้อนและใช้เวลาเจรจากันนานถึง 7 ปี (พ.ศ. 2529-2536) และได้รับการต่อต้านมากที่สุดโดยเฉพาะเกษตรกรชาวฝรั่งเศส ผลการเจรจามีการตกลงลดภาษีมากถึงร้อยละ 40 และมีผลให้เกิดการจัดตั้งองค์การนานาชาติขึ้มาใหม่คือ "องค์การการค้าโลก" (WTO) เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง
องค์การการค้าโลก จะทำหน้าที่ดูแลข้อตกลงย่อย 3 ข้อตกลง คือ ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและภาษีศุลกากร (General Agreement on Tariff and Trade; GATT) ที่ดำเนินการมาก่อนหน้านี้, ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Services; GATS) และ ความตกลงว่าด้วยการค้าที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา (The agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights; TRIPS)

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ค.ศ. 481
พุทธศักราช 1024 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 481 - มีนาคม ค.ศ. 482
มหาศักราช 403 วันเกิด

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550


ส่วนหนึ่งของ พุทธศาสนา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เพื่อความดับทุกข์ · นิพพาน
พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์
อภิญญา แปลว่า ความรู้ยิ่ง หมายถึงปัญญาความรู้ที่สูงเหนือกว่าปกติ เป็นความรู้พิเศษที่เกิดขึ้นจากการอบรมจิตเจริญปัญญาหรือบำเพ็ญกรรมฐาน
อภิญญา อภิญญาในคำวัดหมายถึงคุณสมบัติพิเศษของพระอริยบุคคลซึ่งเป็นเหตุให้มีอิทธิฤทธิ์ต่างๆ มี 6 อย่าง คือ

อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ เช่น ล่องหนได้ เหาะได้ ดำดินได้
ทิพพโสต มีหูทิพย์
เจโตปริยญาณ กำหนดรู้ใจผ็อื่นได้
ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้
ทิพพจักขุ มีตาทิพย์
อาสวักขยญาณ รู้การทำอาสวะให้สิ้นไป

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2550

หญ้าฝรั่น
หญ้าฝรั่น (ออกเสียง ฝะ-หรั่น) จัดเป็นเครื่องเทศและเครื่องยาที่สำคัญอย่างหนึ่ง มีการนำเข้าในประเทศไทยจากประเทศแถบอาหรับ (เช่น เปอร์เซีย) หรือชาวตะวันตก มาช้านาน
หญ้าฝรั่น ในภาษาอาหรับเรียก ซะฟะรัน เป็นไม้ดอกสีม่วง เพาะพันธุ์ด้วยหัว อยู่ในตระกูลเดียวกับไอริส จึงมีเกสรข้างในสีเหลืองทอง เมื่อแห้ง ใช้เติมรสและกลิ่นในอาหาร และใช้เป็นสีย้อมได้ด้วย หญ้าฝรั่นมีกลิ่นฉุนเฉพาะตัวและมีรสค่อนข้างขม ชาวตะวันออกและผู้คนแถบทะเลเมดิเตอเรเนียนนิยมใช้ในการปรุงรสและแต่งสีแต่งกลิ่นอาหารมาแต่ครั้งโบราณกาล โดยเฉพาะในข้าวและอาหารจำพวกปลา ส่วนชาวอังกฤษ สแกนดิเนเวียน และผู้คนแถบทะเลบอลข่านใช้ผสมกับขนมปัง นับว่าเป็นส่วนผสมที่สำคัญในตำรับอาหารฝรั่งเศสด้วย
สีเหลืองทองสำหรับย้อมผ้าละลายน้ำได้นั้น กลั่นมาจากเกสรหญ้าฝรั่นในอินเดียสมัยโบราณ หลังพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานไม่นานนัก เหล่าสงฆ์ทั้งหลายก็ใช้หญ้าฝรั่นเป็นสีย้อมจีวรอย่างกว้างขวาง สีย้อมดังกล่าวยังใช้สำหรับภูษาอาภรณ์ของกษัตริย์ ในหลายวัฒนธรรม
มีการหว่านเครื่องเทศหญ้าฝรั่นนี้ภายในอาคารต่างๆ เช่น ภายในราชสำนัก หอประชุม โรงละคร และโรงอาบน้ำของกรีกและโรมัน เพื่อเป็นเครื่องหอม ภายหลังมีความผูกพันเป็นพิเศษกับเฮไตไร หรือนางคณิกาของกรีก บรรดาถนนสายต่างๆ ของโรมก็ล้วนโปรยปรายไปด้วยหญ้าฝรั่น เมื่อจักรพรรดิเนโรเสด็จเข้ามายังพระนคร
หญ้าฝรั่นนี้เชื่อกันว่าเป็นพืชพื้นเมืองแถบทะเลเมดิเตอเรเนียน เอเชียไมเนอร์ และอิหร่าน โดยมีการปลูกมาช้านานแล้วในอิหร่าน และแคว้นแคชเมียร์ของอินเดีย และเข้าใจว่ามีการนำเข้าไปยังแผ่นดินจีนเมื่อครั้งพวกมองโกลบุกรุก
ในตำราแพทย์แผนโบราณของจีน สมัยยุคศตวรรษที่ 16 นั้นก็ยังมีกล่าวถึงหญ้าฝรั่นโดยแพทย์จีนเรียกหญ้าฝรั่นนี้ว่า ซีหงฮวา ซึ่งแปลว่า ดอกไม้สีแดงจากตะวันตก ส่วนชาวอาหรับและพวกแขกมัวร์ในประเทศสเปนก็รู้จักการปลูกหญ้าฝรั่นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1504 และยังมีการกล่าวไว้ในตำราทางการแพทย์ของอังกฤษ เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 10 (พ.ศ. 1444- 1543) แต่อาจสูญหายไปจากยุโรป กระทั่งพวกครูเสดนำเข้าไปอีกครั้ง ในช่วงสมัยต่างๆ หญ้าฝรั่นมีค่ามากกว่าทองคำเมื่อเทียบน้ำหนักกัน และยังคงเป็นเครื่องเทศที่มีราคาแพงที่สุดในโลกจนปัจจุบัน
ส่วนตำราการแพทย์แผนโบราณของไทยนั้น หญ้าฝรั่นถือได้ว่าเป็นของที่สูงค่ามีราคาแพงมาก จัดเป็นตัวยาที่ช่วยในการแก้ลมวิงเวียน บำรุงหัวใจ เป็นตัวยาหลักที่ใช้ในตำรับยาหอมต่างๆ และยังใช้บดเป็นผงให้ละเอียดแล้วละลายในน้ำต้มสุกที่ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วกินเป็นน้ำกระสายยาคู่กับการกินยาตำรับต่างๆอีกด้วย
ปัจจุบันนี้มีการปลูกหญ้าฝรั่นกันมากในสเปน ฝรั่งเศส ซิซิลี อิตาลี อิหร่าน และแคชเมียร์ จะมีการเก็บเกสรตัวเมียดอกละสามอัน นำไปวางแผ่ไว้ในถาด ย่างไฟที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง นำมาแต่งรสชาติและกลิ่นของอาหาร หญ้าฝรั่นแห้งที่ได้ 1 กิโลกรัม เท่ากับผลผลิต 120,000 - 160,000ดอก ดังนั้นจึงต้องเก็บเกสรตัวเมียจากดอกของหญ้าฝรั่นด้วยมือจำนวนมากถึงจะได้ปริมาณตามที่ต้องการ ทำให้หญ้าฝรั่นจัดเป็นเครื่องเทศที่มีราคาแพงที่สุดในโลกโดยน้ำหนักในบรรดาเครื่องเทศทั้งหลาย ซึ่งโดยเฉลี่ยขายปลีกกันประมาณกิโลกรัมละ 77,700 บาท ทำให้ในปัจจุบันมีการเอาดอกคำฝอย ซึ่งมีลักษณะที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกันมากกับหญ้าฝรั่นแต่มีราคาที่ถูกกว่ามากมาผสมปนอยู่ด้วยในเวลาที่ขายในร้านขายเครื่องเทศและสมุนไพรต่างๆ

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550


ไคฟง (จีน: 开封, 開封; พินอิน: Kāifēng) เป็นเมืองในมณฑลเหอหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน อยู่ริมฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำฮวงโห (หรือแม่น้ำเหลือง) ไคฟงเป็นหนึ่งในเมืองหลวงเก่าของจีน
ไคฟง เป็นเมืองที่ใต้เท้าเปาบุ้นจิ้น ในรัชสมัยฮ่องเต้เหยินจง แห่งราชวงศ์ซ่ง ซึ่งได้ทำการพิพากษาและเป็นเจ้าเมือง
ไคเฟิง

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ทับศัพท์
การทับศัพท์ คือการถ่ายทอดคำที่เขียนด้วยอักษรในภาษาหนึ่ง เพื่อใช้เขียนด้วยอักษรอีกแบบหนึ่งสำหรับใช้ในภาษานั้นๆ เพื่อให้สามารถเขียนคำต่างประเทศ ด้วยภาษาอักษรในภาษานั้นๆ ได้สะดวก เช่น การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ (ที่เขียนด้วยอักษรโรมัน) มาเพื่อเขียนด้วยอักษรไทย สำหรับการใช้ในภาษาไทย
การทับศัพท์นั้น มีหลักกว้างๆ อยู่ 2 ประการด้วยกัน คือ

การถ่ายถอดเสียง เป็นการถ่ายถอดวิธีการเขียนคำภาษาหนึ่ง ไปสู่การเขียนในภาษาที่สอง โดยยึดหลักเทียบเสียงเป็นสำคัญ ข้อดีของการทับศัพท์แบบนี้คือ ทำให้ผู้ใช้ภาษาที่สองสามารถอ่านออกเสียงคำนั้นๆ ได้ใกล้เคียงกับภาษาเดิม แต่มีข้อเสียคือ ทำให้ไม่สามารถคาดเดาได้ หรือถ่ายถอดกลับไปยังภาษาเดิมได้ หลักการนี้ได้ใช้สำหรับการทับศัพท์โดยทั่วไป
การถ่ายถอดตัวอักษร (ปริวรรต)เป็นการถ่ายถอดคำศัพท์แบบ "ตัวต่อตัว" เพื่อความสะดวกในการเขียนเพียงอย่างเดียว มักใช้กับภาษาโบราณ เช่น ถ่ายถอดอักษรมอญโบราณ เป็นอักษรไทยปัจจุบัน, ถ่ายถอดอักษรขอมโบราณ เป็นอักษรไทย การถ่ายถอดตัวอักษรนั้น เคร่งครัดในการคงตัวอักษร และเครื่องหมายวรรคตอนทุกอย่างเอาไว้ เพื่อให้ผู้ที่อ่านภาษานั้นๆ ได้เข้าใจเสมือนอ่านต้นฉบับจริง ทั้งนี้การปริวรรตไม่สนใจความแตกต่างของเสียงในภาษา

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550

เจียง ไคเช็ค
เจียง ไคเชก (ภาษาจีนกลาง: เจียง จุง-เช็ง : Chiang Kai-Shek, Chiang chung-cheng) เกิดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2430 (ค.ศ. 1887) จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยของญี่ปุ่นและกลับมาเป็นขุนศึกค้ำบัลลังก์ของ ดร. ซุน ยัตเซน ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) รวมอายุได้ 88 ปี มีวันเกิดตรงกับวันปล่อยผีของฝรั่ง (Holloween) และมีวันตายตรงกับวันไหว้ผีของจีน (เชงเม้ง)
เป็นผู้นำของจีนระหว่าง พ.ศ. 2471 ถึง พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1928) ถึง (ค.ศ. 1949) ต่อมาได้ไปตั้งรัฐบาลจีนคณะชาติที่ไต้หวัน เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมอยู่ในการปฏิวัติ ปี พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) ต่อต้านรัฐบาลของหยวนซื่อไข่ และตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) ได้เข้าร่วมรัฐบาลพรรคก๊กมินตั๋งของ ดร. ซุน ยัตเซน และเมื่อ ซุน ยัตเซน ถึงแก่อสัญกรรม ในปี พ.ศ. 2468 (ค.ศ. 1925) เจียง ไคเชกได้เป็นผู้นำพรรคแทน และพยายามรวบอำนาจในพรรคด้วยการกำจัดแกนนำพรรคคนอื่น ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้งด้วยอำนาจทหารและอำนาจเงิน โดยมีการต่อท่อสายสัมพันธ์อันดีกับสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น กระทั่งสามารถยกตนเองก้าวขึ้นเป็นประธานาธิบดีของจีนแผ่นดินใหญ่
เจียง ไคเชกย้ายที่ตั้งรัฐบาลไปอยู่เมืองหนานจิง (นานกิง) ซึ่งอยู่ใกล้กับภูมิลำเนาเดิมบ้านที่มณฑลเจ้อเจียง แต่จากปัญหาฉ้อราษฎร์บังหลวง และถูกซ้ำเติมด้วยการรุกรานของกองทัพญี่ปุ่นจนเกิดความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า เป็นเหตุให้เกิดกลุ่มต่อต้านขึ้นมามากมายเพื่อโค่นล้มการปกครองของพรรคก๊กมินตั๋ง
กลุ่มที่สำคัญที่สุดคือ พรรคคอมมิวนิสต์จีน จงกว๋อก้งฉ่านต่าง โดยมีเหมาเจ๋อตุง เป็นแกนนำสำคัญของพรรคนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) จนกระทั่งกลายเป้นสงครามกลางเมือง ระหว่างปี พ.ศ. 2470 ถึง พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1927) ถึง (ค.ศ. 1937) และระหว่างปี พ.ศ. 2489 ถึง พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1946) ถึง (ค.ศ. 1949) แต่บางครั้งทั้งสองฝ่ายก็หันมาร่วมมือกัน เช่น ในสงครามจีน-ญี่ปุ่น ระหว่างปี พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) ถึงปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) และในสงครามโลกครั้งที่สอง
โดยในช่วงหลังปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) การทำสงครามกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ รัฐบาลเจียง ไคเชกเป็นฝ่ายแพ้ต้องอพยพไปตั้งรัฐบาลจีนคณะชาติที่ไต้หวันในปี พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาด้วยดีตลอดมาจนถึงปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) จีนคณะชาติที่ไต้หวันถึงถูกถอดออกจากการเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ เปิดทางให้สาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าเป็นสมาชิกแทน

วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550

สภาพทางภูมิศาสตร์
เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงใน ปี พ.ศ. 2310 ตำแหน่งเจ้าพระยานครศรีธรรมราชว่างอยู่ หลวงสิทธนายเวรมหาดเล็ก(หนู)ซึ่งออกไปรับราชการตำแหน่งปลัดเมือง เป็นผู้รักษาราชการเมืองนครศรีธรรมราช ครั้นทราบว่ากรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ไม่มีเจ้านายปกครองประเทศ หลวงสิทธิจึงตั้งตัวเป็นเจ้าผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช เป็นอิสระอยู่ก๊กหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2312 พระเจ้ากรุงธนบุรียกกองทัพไปปราบ จับตัวเจ้านครได้ และมีดำริว่าเจ้านครมิได้มีใจกบฏคิดร้ายต่อประเทศ แต่ตั้งตัวขึ้นเนื่องจากบ้านเมืองเป็นจลาจล จึงให้มารับราชการอยู่ที่กรุงธนบุรี และให้เจ้านราสุริยวงศ์หลานเธอออกไปครองเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาเจ้านราสุริยวงศ์ถึงแก่พิราลัย พระเจ้ากรุงธนบุรีดำริว่า เจ้านครได้เข้ามารับราชการมีความจงรักภักดีและได้ถวายธิดาทำราชการมีราชบุตร (คือพระพงษ์นรินทรและพระอินทร์อภัย) เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง จึงโปรดฯ ให้เจ้านครออกไปครองเมืองนครศรีธรรมราช และสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้านครศรีธรรมราช เจ้าขันธสีมา เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 11 ขึ้น 3 ค่ำ จุลศักราช 1138(พ.ศ. 2319) ปีวอกอัฐศก
ในสมัยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระราชดำริว่า พระเจ้านครศรีธรรมราชมีความชราทุพพลภาพ ไม่สามารถปกครองบ้านเมืองได้ จึงโปรดให้ออกจากตำแหน่ง กลับเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ และโปรดให้ เจ้าอุปราช (พัฒน์) บุตรเขยเจ้านคร ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อวันอังคาร เดือน 8 แรม 11 ค่ำ จุลศักราช 1146 (พ.ศ. 2327) ปีมะโรงศก แต่โปรดให้มียศเพียง เจ้าพระยาตามประเพณีแต่เดิมเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองนครศรีธรรมราชจึงเป็นเมืองที่เคยมีกษัตริย์ปกครอง และมีฐานะเป็นประเทศราช 8 ปี
มีเกร็ดย่อยคือ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) รับราชการจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 มีความชราภาพ จึงทรงยกขึ้นเป็น เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี ตำแหน่งกิตติมศักดิ์ และทรงตั้งพระบริรักษ์ภูเบศร์ (น้อย) บุตรเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราชคนใหม่ แต่มีเรื่องปรากฏหลักฐานในสมัยนั้นว่า เจ้าพระยานคร (น้อย) นี้ที่จริงเป็นราชบุตรลับของพระเจ้ากรุงธนบุรี เนื่องจากเมื่อครั้งเจ้านครทำราชการอยู่ที่กรุงธนบุรี และถวายธิดาทำราชการฝ่ายในแก่พระเจ้ากรุงธนบุรี และมีน้องสาวมาอยู่ด้วยในวังคนหนึ่ง ความปรากฏตามพงศาวดารว่า เจ้าพระยาพิชัยราชา เจ้าเมืองสวรรคโลกให้ไปขอ พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบทรงพระพิโรธ ว่าเจ้าพระยาพิชัยราชาบังอาจจะเป็นคู่เขยของพระองค์ ให้เอาไปประหารเสีย ต่อมาวงศ์ญาติเจ้านครจึงนำธิดาคนนี้ถวายพระเจ้ากรุงธนเสีย ต่อมาเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เมื่อครั้งยังเป็นอุปราชเมืองนครอยู่ ภริยาซึ่งเป็นบุตรเจ้านครเสียชีวิต เจ้าพระยานคร (พัฒน์) ทำความชอบได้เข้าเฝ้าครั้งหนึ่ง พระเจ้ากรุงธนบุรีเห็นว่าภริยาเสียชีวิตก็สงสารจึงจะพระราชทานธิดาเจ้านครให้ใหม่ และให้นำตัวธิดาคนเล็กเจ้านครไปพระราชทาน แต่นางในกระซิบว่า ดูเหมือนว่านางจะขาดระดูอยู่ แต่พระเจ้ากรุงธนตรัสว่า "ได้ออกปากให้เขาแล้ว ก็พาไปเถอะ" เมื่อท้าวนางพาธิดาเจ้านครไปส่งนั้น เจ้าอุปราช (พัฒน์) ก็ทราบความลับนั้น มีความยำเกรงพระบารมีก็ต้องรับไว้เป็นท่านผู้หญิงกิตติมศักดิ์อยู่ตลอดอายุ และนางนั้นก็มีบุตรกับเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เพียงคนเดียว คือ เจ้าพระยานคร (น้อย) คนต่อมา

ประวัติศาสตร์
การปกครองแบ่งออกเป็น 21 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ 165 ตำบล 1428 หมู่บ้าน

อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
อำเภอพรหมคีรี
อำเภอลานสกา
อำเภอฉวาง
อำเภอพิปูน
อำเภอเชียรใหญ่
อำเภอชะอวด
อำเภอท่าศาลา
อำเภอทุ่งสง
อำเภอนาบอน
อำเภอทุ่งใหญ่
อำเภอปากพนัง
อำเภอร่อนพิบูลย์
อำเภอสิชล
อำเภอขนอม
อำเภอหัวไทร
อำเภอบางขัน
อำเภอถ้ำพรรณรา
อำเภอจุฬาภรณ์
อำเภอพระพรหม
กิ่งอำเภอนบพิตำ
กิ่งอำเภอช้างกลาง
อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช
เทศบาลนครนครศรีธรรมราช หน่วยการปกครอง

ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัด: พระบรมธาตุมีรัศมีล้อมรอบด้วย 12 นักษัตรโดยในสมัยเจ้าจันทรภาณุทรงมีพระปรีชาสามารถขยายอาณาเขตได้ครอบคลุมเมืองบริวารทั้งหลาย เมืองบริวารทั้งหมดต้องส่งเครื่องราชบรรณาการแก่เจ้าผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช บรรดาเมืองบริวารทั้ง 12 เมืองได้แก่
เมืองสายบุรี ใช้ตราหนู เมืองสายบุรีเป็นเมืองเก่าบนฝั่งแม่น้ำสายบุรี ประกอบด้วยชุมชนเกษตรกรรมบนพื้นราบริมทะเลหลายแห่ง จัดเป็นหัวเมืองที่ 1 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราหนู (ชวด) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นอำเภอในจังหวัดปัตตานี
เมืองปัตตานี ใช้ตราวัว เมืองตานีเคยเป็นเมืองท่าสำคัญในภาคใต้ฝั่งตะวันออกซึ่งรู้จักในหมู่พ่อค้าต่างชาติช่วงพุทธศตวรรษที่ 10-18 ในชื่อ "ลังกาสุกะ" จัดเป็นหัวเมืองที่ 2 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราวัว (ฉลู) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดปัตตานี
เมืองกลันตัน ใช้ตราเสือ เมืองกลันตันเป็นชุมชนเก่าแก่ทางตะวันออกของคาบสมุทรมลายู แต่เดิมประชาชนนับถือศาสนาพุทธและฮินดู ในราวพุทธศตวรรษที่ 21 จึงเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม จัดเป็นหัวเมืองที่ 3 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราเสือ (ขาล) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งของประเทศมาเลเซีย
เมืองปาหัง ใช้ตรากระต่าย เมืองปาหังเป็นชุมชนทางตอนล่างของแหลมมลายู ติดกับไทรบุรีหรือเกดะห์ จัดเป็นหัวเมืองที่ 4 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตรากระต่าย (เถาะ) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งในประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย
เมืองไทรบุรี ใช้ตรางูใหญ่ เมืองไทรบุรีเป็นชุมชนเก่าทางฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบและบึงตม เดิมประชาชนนับถือพุทธศาสนา ล่วงถึงพุทธศตวรรษที่ 20 จึงเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม จัดเป็นหัวเมืองที่ 5 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตรางูใหญ่ (มะโรง) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งในประเทศมาเลเซีย ชื่อว่า "เกดะห์"
เมืองพัทลุง ใช้ตรางูเล็ก เมืองพัทลุงเป็นชุมชนเก่าแก่แต่ครั้งพุทธศตวรรษที่ 11-13 ได้รับอิทธพลทางพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชอย่างต่อเนื่องทุกยุคสมัย จัดเป็นหัวเมืองที่ 6 ในทำเนียบสิบสองนักษัตร ถือตรางูเล็ก (มะเส็ง) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดพัทลุง
เมืองตรัง ใช้ตราม้า เมืองตรังเป็นเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันตก ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่ควนธานี ต่อมาได้ย้ายไปที่กันตังและทับเที่ยงตามลำดับ จัดเป็นหัวเมืองที่ 7 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราม้า (มะเมีย) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดตรัง
เมืองชุมพร ใช้ตราแพะ เมืองชุมพรเป็นชุมชนเกษตรและท่าเรือบนคาบสมุทรขนาดเล็ก มีประชากรไม่มากนักเนื่องจากดินฟ้าอากาศไม่อำนวยให้ทำมาหากิน จัดเป็นหัวเมืองที่ 8 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราแพะ (มะแม) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดชุมพร
เมืองบันทายสมอ ใช้ตราลิง เมืองบันทายสมอสันนิษฐานว่าเป็นเมืองไชยา ซึ่งเป็นชุมชนใหญ่มาแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๐ เป็นอย่างน้อย มีร่องรอยความเจริญทางเศรษฐกิจและศาสนาพุทธนิกายหินยานและมหายาน รวมทั้งศาสนาฮินดูนิกายไวษณพและนิกายไศวะจำนวนมาก จัดเป็นหัวเมืองที่ 9 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราลิง (วอก) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
เมืองสะอุเลา ใช้ตราไก่ เมืองสะอุเลาสันนิษฐานว่าเป็นเมืองท่าทองอุแทหรือกาญจนดิษฐ์ ซึ่งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำท่าทอง และลุ่มคลองกะแดะ เคยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงชั้นเอกและเป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญของนครศรีธรรมราช จัดเป็นหัวเมืองที่ 10 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราไก่ (ระกา) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคืออำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เมืองตะกั่วป่า ใช้ตราสุนัข เมืองตะกั่วป่าเคยเป็นเมืองท่าสำคัญทางฝั่งทะเลตะวันตก เป็นแหล่งผลิตดีบุกและเครื่องเทศมาแต่โบราณ จัดเป็นหัวเมืองที่ 11 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราสุนัข (จอ) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคืออำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
เมืองกระบุรี ใช้ตราหมู เมืองกระบุรีเป็นชุมชนเล็ก ๆ บนฝั่งแม่น้ำกระบุรี ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่า และภูเขาสลับซับซ้อน จัดเป็นหัวเมืองที่ 12 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราสุกร (กุน) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นอำเภอในจังหวัดระนอง
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกราชพฤกษ์ (Cassis fistula)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: แซะ (Millettia atropurpurea)
คำขวัญประจำเมือง: เราชาวนครอยู่เมืองพระ มั่นในสัจจะศีลธรรม กอปรกรรมดี มีมานะพากเพียร ไม่เบียดเบียนทำอันตรายผู้ใด
คำขวัญประจำจังหวัด: นครศรีธรรมราช เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู
อักษรย่อจังหวัด : นศ. สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

จังหวัดนครศรีธรรมราช สถานที่ท่องเที่ยว

พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
ศาลหลักเมือง
พระพุทธสิหิงค์
ท้าวขัตตุคาม-รามเทพ (ท้าวจตุคาม รามเทพ)
หอพระอิศวร
หอพระนารายณ์
หอพระสูง สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง

อุทยานแห่งชาติเขาหลวง
อุทยานแห่งชาติเขานัน
อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง
อุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีด อุทยานแห่งชาติทางทะเล

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองกะทูน

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2550


พอล แอนเดอร์สัน (Poul Anderson) (25 พ.ย. 2469 -31 ก.ค. 2544) เป็นนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ที่มีผลงานเป็นจำนวนมาก ในช่วงยุคทองของนิยายวิทยาศาสตร์ ในช่วงแรกของการตีพิมพ์ผลงาน เขาใช้นามแฝงหลายชื่อ ได้แก่ "A. A. Craig", "Michael Karageorge", และ "Winston P. Sanders". นอกจากเรื่องแนววิทยาศาสตร์แล้ว พอล แอนเดอร์สัน ยังเขียนเรื่องแนวแฟนตาซีอีกด้วย เช่นเรื่องชุด the King of Ys.
แอนเดอร์สัน เกิดเมื่อ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) ที่ Bristol, เพนซิลเวเนีย, สหรัฐอเมริกา. ถึงแก่กรรมเมื่อ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
พอล แอนเดอร์สันพอล แอนเดอร์สัน

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2550

จูเลียส ซีซาร์จูเลียส ซีซาร์ ชีวประวัติและผลงาน
จูเลียส เกิดในวันที่ 12 กรกฎาคม เมื่อประมาณ 100 ปี ก่อนคริสตศักราช(พ.ศ. 444) ในตระกูลขุนนางเก่าตระกูลหนึ่ง มีบิดาชื่อเคอุส จูเลียส และมารดาชื่ออรอเรเลีย บิดาของเขาแม้จะมั่งคั่งร่ำรวย แต่ก็มิได้มีตำแหน่งสูงนักในทางราชการ จูเลียสเป็นกำพร้าบิดาตั้งแต่อายุยังน้อย คงมีแต่มารดาซึ่งคอยให้ความปกป้องคุ้มครองดูแลต่อมา
นับตั้งแต่เด็กมา จูเลียสไม่เคยคิดที่จะยึดเอาการทหารเป็นอาชีพอย่างแท้จริงเลยทั้ง ๆ ที่เขาเคยเข้าฝึกทหารอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เขาตั้งใจจะเป็นทนายความ หรือเป็นนักกฎหมายซึ่งเป็นอาชีพที่ขึ้นหน้าขึ้นตาในสมัยนั้นมากกว่า ครั้งหนึ่งเขาเคยถูกโจรสลัดจับตัวไปเรียกค่าไถ่ เมื่อเขารอดชีวิตกลับมาเขากลับรวบรวมสมัครพรรคพวกและเรือทั้งหลาย กลับไปยังเกาะที่เขาเคยถูกนำตัวไปกักไว้ ได้สู้รบกับบรรดาโจรสลัดจนได้ชัยชนะนำพวกโจรกลับมารับการลงโทษ เหตุการณ์นี้ได้แสดงให้เห็นว่า จูเลียสนั้นเป็นผู้ที่ชอบการสู้รบมาตั้งแต่เด็กๆ และก็ดูเหมือนว่าเขาจะมีชื่อเสียงที่สุดในด้านการทหาร เมื่ออายุ 21 ปี เขาได้รับเหรียญกล้าหาญในฐานะที่ได้ช่วยชีวิตทหารคนหนึ่งไว้ได้จากการรบ สามารถตีชนะประเทศต่าง ๆ ถึง 300 ประเทศ ได้เมืองต่าง ๆ ไว้ในอำนาจถึง 800 เมือง แม้แต่ในวงการทหารสมัยปัจจุบันก็ยังอดแปลกใจไม่ได้ว่าทำไมจูเลียส ซีซาร์ จึงสามารถเดินทัพ และทำสงครามเผด็จศึก ได้อย่างรวดเร็วถึงเพียงนั้น ทัพของโรมันได้ชัยชนะตั้งแต่ยุโรปทางตอนเหนือจรดยุโรปตอนใต้ จากสเปนไปจนถึงอาเซียนน้อยและเรื่อยไปจนถึงอียิปต์ ตลอดเวลาของการเดินทัพ จูเลียสจะกินอยู่หลับนอนร่วมกับทหารเลวทั้งหมด ทั้งมักจะชอบแสดงถึงความกล้าหาญ ปราศจากความกลัวในภยันตรายทั้งหลายทั้งปวงให้เหล่าทหารได้เห็น ครั้งหนึ่งเขาควบม้าอย่างรวดเร็ว เต็มฝีเท้าแต่กลับปล่อยมือจากสายบังเหียน แล้วยกขึ้นประสานไว้เหนือศีรษะ และอีกครั้งหนึ่งเขาได้ขอลองขึ้นขี่ม้าที่ขึ้นชื่อว่าดุที่สุด จนไม่มีใครกล้าขี่ ในการบุกทุกครั้ง จูเลียสจะเข้าร่วมอยู่ในกลุ่มทหาร ปฏิเสธไม่ยอมใส่แม้แต่หมวกเหล็กเพื่อให้ทหารจำได้ เขาไม่เคยตกใจจนทำอะไรไม่ถูกและไม่ว่าจะทำอะไรเขาจะทำอย่างเชื่อมั่นในตนเอง ตลอดเวลาเขามักจะคิดถึงแต่ความสง่างามความยิ่งใหญ่ของเขาในฐานะเป็นผู้นำ
ครั้งหนึ่งในการทำสงครามที่เฟซาเลีย ซึ่งในที่สุดโรมันก็เป็นฝ่ายได้ชัยชนะ ฟาร์เนเซส เจ้าผู้ครองแคว้นได้ก่อการกบฎขึ้น โดยปฏิเสธไม่ยอมสวามิภักดิ์ด้วย จูเลียสจึงยกทัพเข้าตะลุมบอน และได้ชัยชนะภายในเวลาเพียงวันเดียว ผลจากการสู้รบครั้งนี้เอง ทำให้เราได้รู้จักคำพูดที่เป็นอมตะประโยคหนึ่งของจูเลียส ซีซาร์ ซึ่งได้รายงานกลับมาโรมว่า Veni, Vedi, Vici! ซึ่งแปลว่า "ข้าไปถึงแล้ว ข้าได้เห็น และข้าก็ได้ชัยชนะ"

ช่วงต้นของชีวิต
เหตุการณ์ที่สำคัญนั้นก็คือ การยกทัพเข้ารุกรานเกาะอังกฤษ ที่เรียกว่าสำคัญก็ด้วยเหตุผลประการหนึ่งคือ ทำให้คนรุ่นหลังได้รู้จักประวัติของเกาะเล็ก ๆ เกาะหนึ่งซึ่งก่อนหน้านั้นไม่เคยมีอยู่บนแผนที่เลยด้วยซ้ำ ปีนั้นตรงกับปีที่ 55 ก่อนคริสตศักราช ซีซาร์ได้ครองอาณาจักรโกล ซึ่งปัจจุบันคือประเทศฝรั่งเศสเรียบร้อยแล้ว แต่พวกโกลมักจะได้รับความช่วยเหลือจากชนชาติหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าของเกาะเล็ก ๆ ที่อยู่ตรงข้ามเมืองคาเล่ส์ให้ก่อการกบฎอยู่เสมอ และถ้าพ่ายแพ้ พวกนี้ก็มักจะอพยพหนีไปพำนักพักพิงชั่วคราวอยู่ ณ เกาะเล็ก ๆ แห่งนั้น เกาะนั้นจะเป็นเกาะอะไร มีพลเมืองมากน้อยเพียงใด มีความเป็นอยู่อย่างไร จูเลียส ซีซาร์ หาได้มีความรู้แม้แต่น้อยไม่ แต่กระนั้น เขาก็ตัดสินใจยกทัพเข้ารุกรานทันที จูเลียส สั่งเตรียมทหารให้มาพร้อมกันลงเรือที่เมืองบูโลญราว 10,000 คน เพียงข้ามคืนเดียว กองทัพโรมก็จะขึ้นฝั่งได้แถบบริเวณโดเวอร์ แต่ชาวพื้นเมืองเตรียมต่อสู้อย่างเต็มที่ ทำให้จูเลียสต้องสั่งทหารให้แล่นเรือต่อไปรอบ ๆ เกาะจนถึงดีส จึงขึ้นบกและขับไล่ชาวพื้นเมืองให้หนีไปได้ เหตุการณ์เป็นปกติเรียบร้อย จนถึงวันที่สี่นับจากการยึดครองเกาะได้ คืนนั้นเป็นคืนพระจันทร์เต็มดวง น้ำทะเลขึ้นสูง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ชาวโรมันไม่เคยได้รู้จักมาก่อน กำลังน้ำทำลายเรือเสียมากต่อมาก ในที่สุดซีซาร์ต้องออกคำสั่งให้ถอยทัพกลับยุโรป พอดีกับเหตุการณ์วุ่นวายในแถบยุโรปตะวันออก ซึ่งซีซาร์ต้องเสียเวลาปราบปรามอยู่พักหนึ่ง
เดือนเมษายนปีต่อมา จูเลียส ซีซาร์ สั่งให้เตรียมกองทัพเรืออีกครั้ง คราวนี้มีเรือถึง 600 ลำ กองทหารถึง 28 กอง และเมื่อถึงวันที่ 20 กรกฎาคม ก็เริ่มออกเดินทาง คราวนี้ชาวเกาะมิได้คิต่อสู้เลย คงจะเกิดความกลัวตั้งแต่เห็นความยิ่งใหญ่ของกองเรือ จึงพากันอพยพหนีขึ้นไปทางเหนือ ซีซาร์ยกทัพตามขึ้นไปจนถึงเมืองเซนต์ อาลลานส์ เมื่อฤดูหนาวใกล้เข้ามาก็ตัดสินใจยกทัพกลับโรม โดยนำเชลยติดมาด้วยเป็นจำนวนมาก ชาวโรมันตื่นเต้นกันมากในชัยชยะครั้งนี้
เมื่อวัยหนุ่ม ซีซาร์ได้เดินทางไปรับการศึกษา ณ เกาะโรดส์ระหว่างนั้นได้เกิดสงครามขึ้น และซีซาร์ก็ได้ไปร่วมรบด้วย ทำให้เขามีชื่อเสียงขึ้น และเมื่อกลับมายังโรม เขาจึงได้รับแต่งตั้งเป็นมอนติเฟดส์ และเริ่มสนใจทางการเมือง เขาร่วมมือกับปอมเปย์ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทัพโรมัน และเครสซัส เศรษฐีคนหนึ่งเรียกคณะของตนว่า ไตรอุมวิเรท มีอำนาจควบคุมกิจการบริหารในสมัยนั้นอย่างมากมาย
ต่อมาราว 59 ปี ก่อนคริสตศักราช จูเลียสได้รับเลือกเป็นกงสุลและได้มีการแบ่งอำนาจกันระหว่างคู่สัญญาทั้งสาม ซึ่งทำให้จูเลียสได้โอกาสแผ่ขยายอำนาจต่อไปได้เต็มที่ จนปอมเปย์อิจฉา จนในที่สุดเกิดเป็นสงครามขึ้น ตอนนี้แครสซัสตายแล้ว จูเลียสได้ชัยชนะ ปอมเปย์หนีไปอียิปต์ และไปถูกฆ่าตายที่นั้น ราว 48 ปี ก่อนคริสตศักราช เขาได้เข้าเมืองอียิปต์ช่วยจัดการให้คลีโอพัตรา ซึ่งกำลังมีเรื่องแย่งราชสมบัติกับพระอนุชาให้ได้ขึ้นครองราชบัลลังก์ จนมีเรื่องลื่อกระฉ่อนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเขากับพระนางคลีโอพัตรา
อย่างไรก็ตาม ในตอนนี้จูเลียสก็ได้มีอำนาจเต็มที่ในโรมเขากลับมาถึงโรม และได้รับการยกย่องให้เป็น "ผู้มีอำนาจปกครองโดยเผด็จการ" โดยกำหนดให้มีอำนาจอยู่ครั้งละสิบปี และต่อมาเมื่อเขาปราบปรามตีดินแดนทางแถบอาฟริกาและสเปนได้ เขาจึงได้รับการอนุมัติให้เป็น "หัวหน้าผู้เผด็จการ" ตลอดชีวิต

ด้านมืด และจุดจบของซีซาร์
ซีซาร์เป็นเผด็จการแต่ก็ไม่เคยเป็นจักรพรรดิ แม้ว่าเขาจะมีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนั้น อันเป็นเหตุให้ถูกลอบสังหารในที่สุด คำพูดสุดท้ายของซีซาร์ได้แก่ καὶ σύ, τέκνον (kaì sú, téknon)ในภาษากรีก ภาษาของบุคคลชั้นสูงในกรุงโรม (หรือแปลเป็นภาษาละตินโดยซูเอโทนว่า "Tu quoque, fili" ซึ่งแปลว่า "เจ้าก็ด้วย ลูกชายของข้า") มีความเห็นต่างๆกันไปเกี่ยวกับความหมายในคำพูดสุดท้ายของจูเลียส ซีซาร์

การตีความที่พบบ่อยที่สุด คือซีซาร์รู้สึกประหลาดใจที่บุตรชายของตนเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้วางแผนทรยศ
บางคนเชื่อว่านี่เป็นคำสาปที่ซีซาร์แช่งให้บรูตุสได้รับชะตากรรมเดียวกับตน
การตีความอีกรูปแบบมีการอ้างอิงถึงสุขภาพที่ทรุดโทรมของซีซาร์ก่อนถึงแก่อสัญกรรม เขาอาจจะเป็นโรคเรื้อน ซึ่งทำให้เกิดอาการท้องเสีย อาเจียนอย่างรุนแรง ไม่ฟังเสียงทัดทานของคนรอบข้าง และเลือกจะจบชีวิตตนเองในที่สุด คำพูดสุดท้ายของซีซาร์จึงอาจตีความได้ว่า "เจ้าก็ด้วย ลูกชายของข้า เจ้าจะต้องแก่และอ่อนแอ และมีชะตากับเดียวกับข้า"
และท้ายสุด เป. อาร์โนด์ ได้เสนอแนวทางตีความต่อไปนี้ เราพบว่าซูเอโทนก็ใช้คำว่า καὶ σύ, τέκνον เมื่อ ซีซาร์ออกุสตุส กล่าวถึง กัลบา บุตรชาย (ซึ่งได้กลายเป็นจักรพรรดิในเวลาต่อมา) ในความหมายว่า "เจ้าก็ด้วย บุตรของข้า เจ้าจะสืบทอดอำนาจข้าต่อไป" แม้แต่ดิออน ซาสซิอุส ก็ใช้คำนี้เพื่อบอกเล่าเรื่องของ 'ทิเบรุส เคลาดิอุส เนโร' กล่าวกับกัลบา คนเดียวกัน ดังนั้น เมื่อซีซาร์ถูกลอบสังหารอย่างเป็นทางการเพื่อปกป้องสาธารณรัฐ เขาจึงได้กล่าวโทษบรูตุสซึ่งต้องการขึ้นสู่อำนาจเช่นเดียวกับเขา และได้กล่าวทำนายการลอบสังหารบรูตุสในอนาคตว่าจะเป็นเหตุผลเดียวกันกับที่เขาถูกลอบสังหาร

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2550

ภาษาแม่
คิมิงะโยะ (「君が代」 Kimi ga Yo) เป็นเพลงชาติของประเทศญี่ปุ่น เนื้อเพลงถูกนำมาจากบทกลอนในยุคสมัยเฮอัง ประมาณ 1 พันกว่าปีก่อน เนื้อเพลงเขียนโดยชาวอังกฤษชื่อ J. W. Fenton ในปี 1869 และนักดนตรีในยุคอิมพีเรียลได้นำเนื้อเพลงมาเรียบเรียงใหม่ ซึ่งใช้กันมาถึงปัจจุบัน โดยเนื้อเพลงมีดังนี้่

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2550

พ.ศ. 604
พุทธศักราช 604 ใกล้เคียงกับ ค.ศ. 61

พ.ศ. 604 วันเกิด

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550


เทศบาลตำบลแหลมฉบัง เป็นเทศบาลรูปแบบพิเศษที่จัดตั้งเพื่อรองรับการเป็นเมืองท่าพาณิชย์หลักของประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นเมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สำคัญของประเทศอีกด้วย โดยตั้งอยู่ในเขตอำเภอศรีราชา และ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

เมืองแหลมฉบัง ที่ตั้งและอาณาเขต
ปัจจุบันคาดว่ามีประชากรในเขตเทศบาลตำบลแหลมฉบังเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 70,000 คนในแต่ละวัน ในขณะที่สถิติของสำนักงานทะเบียนราษฎรท้องถิ่นเทศบาลตำบลแหลมฉบัง ณ มีจำนวน 45,012 คนแยกเป็นชาย 22,412 คนหญิง 22,601 คน ซึ่งส่วนมากจะเป็นประชากรแฝงประมาณ 40,000 คนที่เข้ามาทำงานในเขตนิคมอุตสาหกรรม ท่าเรือแหลมฉบัง และเครือสหพัฒน์ฯ และที่อื่น ๆ โดยที่ไม่มีการย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาอยู่แต่อย่างใด โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย รับจ้างทั่วไป และบางส่วนประกอบอาชีพเกษตรและประมง

ประชากร
ภายในเขตเทศบาลตำบลแหลมฉบังมีวัด จำนวน 14 แห่ง สำนักสงฆ์ 2 แห่ง และศาลเจ้า 4 แห่ง

ศาสนสถาน
ภายในเขตเทศบาลตำบลแหลมฉบัง มีสถานการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน

โรงเรียนสังกัดเทศบาล ได้แก่ โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 และโรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 2
โรงเรียนสังกัด สปช. จำนวน 10 โรงเรียน คือ โรงเรียนวัดมโนรม โรงเรียนบริษัทไทยกสิกรสงเคราะห์ โรงเรียนวัดใหม่เนินพยอม โรงเรียนบ้านชากยายจีน โรงเรียนวัดบ้านนา โรงเรียนวัดประทานพร โรงเรียนบ้านบางละมุง โรงเรียนวัดสุกรีย์บุญญาราม โรงเรียนบ้านทุ่งกราด และโรงเรียนวัดหนองคล้า
โรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา คือ โรงเรียนทุ่งศุขลาวิทยา "กรุงไทยอนุเคราะห์"
โรงเรียนเอกชน จำนวน 3 โรงเรียน คือ โรงเรียนบุญจิตวิทยา โรงเรียนทนาพรวิทยา และโรงเรียนเทคโนโลยีแหลมฉบัง
ระดับอุดมศึกษา หนึ่งแห่ง คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตศรีราชา) เมืองแหลมฉบัง การศึกษา
ภายในเทศบาลตำบลแหลมฉบัง มีสถานพยาบาลสำหรับบริการประชาชน ดังนี้

โรงพยาบาล 2 แห่งคือ โรงพยาบาลอ่าวอุดม และโรงพยาบาลแหลมฉบังอินเตอร
ศูนย์บริการสาธารณสุข 2 แห่ง คือ ศูนย์บริการสาธารณสุข 1 (เครือสหพัฒน์ฯ) ,ศูนย์บริการสาธารณสุข 2 (ทุ่งกราด)
คลินิก ประมาณ 10 แห่ง การสาธารณสุข
สภาพทางเศรษฐกิจภายในเขตเทศบาลแหลมฉบัง ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมเป็นหลักมีอัตราการขยายตัวของการลงทุนด้านอุตสาหกรรมที่สูงมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่เป้าหมายในเขตเศรษฐกิจใหม่ของการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ซึ่งมีภารกิจหลักที่จะต้อง พัฒนา คือ ท่าเรือพาณิชย์ หลักระหว่างประเทศนิคมอุตสาหกรรม และชุมชนเมืองใหม่ ด้านการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคและสาธารณูปการอย่างครบวงจรทำให้เหมาะแก่การจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมแหลมฉบังและในเขตสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒนฯกลุ่มอุตสาหกรรมภายในเขตเทศบาลตำบล แหลมฉบังเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญต่อ จังหวัดชลบุร และภาคตะวันออกเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมีมูลค่าการลงทุนสูงสุดของจังหวัดชลบุรีประมาณไม่ต่ากว่า 1 แสนล้านบาท มีผู้ประกอบการไม่น้อยกว่า 154 บริษัท และมีการจ้างงานเป็นจำนวนมากที่สุดของจังหวัดชลบุรี ประมาณ 5 หมื่นคน มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงที่สุดในสาขาการผลิตของจังหวัด

สภาพเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรมปิโตรเลี่ยมเป็นอุตสาหกรรมที่มีค่าการลงทุนสูงสุดในเขตเทศบาลตำบลแหลมฉบังจังหวัดชลบุรีแยกเป็น

โรงกลั่นน้ำมัน 3 แห่ง คือ โรงกลั่นน้ำมัน บริษัทไทยออยล์ จำกัด โรงกลั่นน้ำมัน บริษัทเอสโซ่แสตนดาร์ด ประเทศไทย(มหาชน)จำกัด และโรงกลั่นน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน บริษัทไทยลู้บเบส จำกัด
คลังเก็บน้ำมันปิโตรเลี่ยม 3 แห่ง ได้แก่ คลังเก็บน้ำมันของบริษัทไทยออยล์จำกัด คลังเก้บน้ำมันของบริษัทเอสโซ่แสตนดาร์ด์ ประเทศไทย(มหาชน)จำกัด และคลังเก็บน้ำมันของการปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทย
คลังเก็บก๊าช LPG ซึ่งเป็นก๊าชหุงต้ม 3 แห่งคือของบริษัทไทยออยล์จำกัด บริษัทเอสโซ่แสตนดาร์ดประเทศไทย(มหาชน)จำกัด และการปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเลียม
นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังเป็นกิจกรรมหลักในการพัฒนาที่สำคัญอย่างหนึ่งในพื้นที่เป้าหมายเขตเศรษฐกิจใหม่บริเวณแหลมฉบังอยู่ในความรับผิดชอบของ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยตั้งอยู่บนพื้นที่ 3,556 ไร่ ตำบลทุ่งสุขลาระหว่าง กม. 126-กม. 129 แบ่งเป็น
- เขตอุตสาหกรรมทั่วไป 1,098 ไร่
- เขตอุตสาหกรรมส่งออก 1,098 ไร่
- เขตพาณิชยกรรม 146 ไร่
ในปัจจุบัน นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง มีบริษัทเข้าไปลงทุนจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ 98 บริษัท

กลุ่มสวนอุตสาหรรมเครือสหพัฒนฯ
ท่าเรือแหลมฉบัง ตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกห่างจากกรุงเทพมหานคร ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 120 กิโลเมตรและห่างจากพัทยาประมาณ 15 กิโลเมตร มีพื้นที่ อาณาบริเวณทางบกประมาณ 6,341 ไร่ (ประมาณ 4 ต.ร.กม.) อาณาบริเวณทางน้ำประมาณ 55 ต.ร.กม. พื้นที่ถมทะเลเพื่อสร้างท่าเทียบเรือในโครงการขั้นที่ 1 ประมาณ 900 ไร่ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อรับเรือบรรทุกตู้สินค้า เรือสินค้าประเภทสินค้าเกษตรกรรมขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถเข้าเทียบท่าเรือกรุงเทพฯได้และการส่งเสริมการส่งออกที่สำคัญของไทยในอนาคต