วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550


เทศบาลตำบลแหลมฉบัง เป็นเทศบาลรูปแบบพิเศษที่จัดตั้งเพื่อรองรับการเป็นเมืองท่าพาณิชย์หลักของประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นเมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สำคัญของประเทศอีกด้วย โดยตั้งอยู่ในเขตอำเภอศรีราชา และ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

เมืองแหลมฉบัง ที่ตั้งและอาณาเขต
ปัจจุบันคาดว่ามีประชากรในเขตเทศบาลตำบลแหลมฉบังเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 70,000 คนในแต่ละวัน ในขณะที่สถิติของสำนักงานทะเบียนราษฎรท้องถิ่นเทศบาลตำบลแหลมฉบัง ณ มีจำนวน 45,012 คนแยกเป็นชาย 22,412 คนหญิง 22,601 คน ซึ่งส่วนมากจะเป็นประชากรแฝงประมาณ 40,000 คนที่เข้ามาทำงานในเขตนิคมอุตสาหกรรม ท่าเรือแหลมฉบัง และเครือสหพัฒน์ฯ และที่อื่น ๆ โดยที่ไม่มีการย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาอยู่แต่อย่างใด โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย รับจ้างทั่วไป และบางส่วนประกอบอาชีพเกษตรและประมง

ประชากร
ภายในเขตเทศบาลตำบลแหลมฉบังมีวัด จำนวน 14 แห่ง สำนักสงฆ์ 2 แห่ง และศาลเจ้า 4 แห่ง

ศาสนสถาน
ภายในเขตเทศบาลตำบลแหลมฉบัง มีสถานการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน

โรงเรียนสังกัดเทศบาล ได้แก่ โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 และโรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 2
โรงเรียนสังกัด สปช. จำนวน 10 โรงเรียน คือ โรงเรียนวัดมโนรม โรงเรียนบริษัทไทยกสิกรสงเคราะห์ โรงเรียนวัดใหม่เนินพยอม โรงเรียนบ้านชากยายจีน โรงเรียนวัดบ้านนา โรงเรียนวัดประทานพร โรงเรียนบ้านบางละมุง โรงเรียนวัดสุกรีย์บุญญาราม โรงเรียนบ้านทุ่งกราด และโรงเรียนวัดหนองคล้า
โรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา คือ โรงเรียนทุ่งศุขลาวิทยา "กรุงไทยอนุเคราะห์"
โรงเรียนเอกชน จำนวน 3 โรงเรียน คือ โรงเรียนบุญจิตวิทยา โรงเรียนทนาพรวิทยา และโรงเรียนเทคโนโลยีแหลมฉบัง
ระดับอุดมศึกษา หนึ่งแห่ง คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตศรีราชา) เมืองแหลมฉบัง การศึกษา
ภายในเทศบาลตำบลแหลมฉบัง มีสถานพยาบาลสำหรับบริการประชาชน ดังนี้

โรงพยาบาล 2 แห่งคือ โรงพยาบาลอ่าวอุดม และโรงพยาบาลแหลมฉบังอินเตอร
ศูนย์บริการสาธารณสุข 2 แห่ง คือ ศูนย์บริการสาธารณสุข 1 (เครือสหพัฒน์ฯ) ,ศูนย์บริการสาธารณสุข 2 (ทุ่งกราด)
คลินิก ประมาณ 10 แห่ง การสาธารณสุข
สภาพทางเศรษฐกิจภายในเขตเทศบาลแหลมฉบัง ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมเป็นหลักมีอัตราการขยายตัวของการลงทุนด้านอุตสาหกรรมที่สูงมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่เป้าหมายในเขตเศรษฐกิจใหม่ของการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ซึ่งมีภารกิจหลักที่จะต้อง พัฒนา คือ ท่าเรือพาณิชย์ หลักระหว่างประเทศนิคมอุตสาหกรรม และชุมชนเมืองใหม่ ด้านการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคและสาธารณูปการอย่างครบวงจรทำให้เหมาะแก่การจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมแหลมฉบังและในเขตสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒนฯกลุ่มอุตสาหกรรมภายในเขตเทศบาลตำบล แหลมฉบังเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญต่อ จังหวัดชลบุร และภาคตะวันออกเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมีมูลค่าการลงทุนสูงสุดของจังหวัดชลบุรีประมาณไม่ต่ากว่า 1 แสนล้านบาท มีผู้ประกอบการไม่น้อยกว่า 154 บริษัท และมีการจ้างงานเป็นจำนวนมากที่สุดของจังหวัดชลบุรี ประมาณ 5 หมื่นคน มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงที่สุดในสาขาการผลิตของจังหวัด

สภาพเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรมปิโตรเลี่ยมเป็นอุตสาหกรรมที่มีค่าการลงทุนสูงสุดในเขตเทศบาลตำบลแหลมฉบังจังหวัดชลบุรีแยกเป็น

โรงกลั่นน้ำมัน 3 แห่ง คือ โรงกลั่นน้ำมัน บริษัทไทยออยล์ จำกัด โรงกลั่นน้ำมัน บริษัทเอสโซ่แสตนดาร์ด ประเทศไทย(มหาชน)จำกัด และโรงกลั่นน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน บริษัทไทยลู้บเบส จำกัด
คลังเก็บน้ำมันปิโตรเลี่ยม 3 แห่ง ได้แก่ คลังเก็บน้ำมันของบริษัทไทยออยล์จำกัด คลังเก้บน้ำมันของบริษัทเอสโซ่แสตนดาร์ด์ ประเทศไทย(มหาชน)จำกัด และคลังเก็บน้ำมันของการปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทย
คลังเก็บก๊าช LPG ซึ่งเป็นก๊าชหุงต้ม 3 แห่งคือของบริษัทไทยออยล์จำกัด บริษัทเอสโซ่แสตนดาร์ดประเทศไทย(มหาชน)จำกัด และการปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเลียม
นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังเป็นกิจกรรมหลักในการพัฒนาที่สำคัญอย่างหนึ่งในพื้นที่เป้าหมายเขตเศรษฐกิจใหม่บริเวณแหลมฉบังอยู่ในความรับผิดชอบของ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยตั้งอยู่บนพื้นที่ 3,556 ไร่ ตำบลทุ่งสุขลาระหว่าง กม. 126-กม. 129 แบ่งเป็น
- เขตอุตสาหกรรมทั่วไป 1,098 ไร่
- เขตอุตสาหกรรมส่งออก 1,098 ไร่
- เขตพาณิชยกรรม 146 ไร่
ในปัจจุบัน นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง มีบริษัทเข้าไปลงทุนจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ 98 บริษัท

กลุ่มสวนอุตสาหรรมเครือสหพัฒนฯ
ท่าเรือแหลมฉบัง ตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกห่างจากกรุงเทพมหานคร ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 120 กิโลเมตรและห่างจากพัทยาประมาณ 15 กิโลเมตร มีพื้นที่ อาณาบริเวณทางบกประมาณ 6,341 ไร่ (ประมาณ 4 ต.ร.กม.) อาณาบริเวณทางน้ำประมาณ 55 ต.ร.กม. พื้นที่ถมทะเลเพื่อสร้างท่าเทียบเรือในโครงการขั้นที่ 1 ประมาณ 900 ไร่ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อรับเรือบรรทุกตู้สินค้า เรือสินค้าประเภทสินค้าเกษตรกรรมขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถเข้าเทียบท่าเรือกรุงเทพฯได้และการส่งเสริมการส่งออกที่สำคัญของไทยในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น: