วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550

สภาพทางภูมิศาสตร์
เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงใน ปี พ.ศ. 2310 ตำแหน่งเจ้าพระยานครศรีธรรมราชว่างอยู่ หลวงสิทธนายเวรมหาดเล็ก(หนู)ซึ่งออกไปรับราชการตำแหน่งปลัดเมือง เป็นผู้รักษาราชการเมืองนครศรีธรรมราช ครั้นทราบว่ากรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ไม่มีเจ้านายปกครองประเทศ หลวงสิทธิจึงตั้งตัวเป็นเจ้าผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช เป็นอิสระอยู่ก๊กหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2312 พระเจ้ากรุงธนบุรียกกองทัพไปปราบ จับตัวเจ้านครได้ และมีดำริว่าเจ้านครมิได้มีใจกบฏคิดร้ายต่อประเทศ แต่ตั้งตัวขึ้นเนื่องจากบ้านเมืองเป็นจลาจล จึงให้มารับราชการอยู่ที่กรุงธนบุรี และให้เจ้านราสุริยวงศ์หลานเธอออกไปครองเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาเจ้านราสุริยวงศ์ถึงแก่พิราลัย พระเจ้ากรุงธนบุรีดำริว่า เจ้านครได้เข้ามารับราชการมีความจงรักภักดีและได้ถวายธิดาทำราชการมีราชบุตร (คือพระพงษ์นรินทรและพระอินทร์อภัย) เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง จึงโปรดฯ ให้เจ้านครออกไปครองเมืองนครศรีธรรมราช และสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้านครศรีธรรมราช เจ้าขันธสีมา เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 11 ขึ้น 3 ค่ำ จุลศักราช 1138(พ.ศ. 2319) ปีวอกอัฐศก
ในสมัยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระราชดำริว่า พระเจ้านครศรีธรรมราชมีความชราทุพพลภาพ ไม่สามารถปกครองบ้านเมืองได้ จึงโปรดให้ออกจากตำแหน่ง กลับเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ และโปรดให้ เจ้าอุปราช (พัฒน์) บุตรเขยเจ้านคร ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อวันอังคาร เดือน 8 แรม 11 ค่ำ จุลศักราช 1146 (พ.ศ. 2327) ปีมะโรงศก แต่โปรดให้มียศเพียง เจ้าพระยาตามประเพณีแต่เดิมเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองนครศรีธรรมราชจึงเป็นเมืองที่เคยมีกษัตริย์ปกครอง และมีฐานะเป็นประเทศราช 8 ปี
มีเกร็ดย่อยคือ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) รับราชการจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 มีความชราภาพ จึงทรงยกขึ้นเป็น เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี ตำแหน่งกิตติมศักดิ์ และทรงตั้งพระบริรักษ์ภูเบศร์ (น้อย) บุตรเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราชคนใหม่ แต่มีเรื่องปรากฏหลักฐานในสมัยนั้นว่า เจ้าพระยานคร (น้อย) นี้ที่จริงเป็นราชบุตรลับของพระเจ้ากรุงธนบุรี เนื่องจากเมื่อครั้งเจ้านครทำราชการอยู่ที่กรุงธนบุรี และถวายธิดาทำราชการฝ่ายในแก่พระเจ้ากรุงธนบุรี และมีน้องสาวมาอยู่ด้วยในวังคนหนึ่ง ความปรากฏตามพงศาวดารว่า เจ้าพระยาพิชัยราชา เจ้าเมืองสวรรคโลกให้ไปขอ พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบทรงพระพิโรธ ว่าเจ้าพระยาพิชัยราชาบังอาจจะเป็นคู่เขยของพระองค์ ให้เอาไปประหารเสีย ต่อมาวงศ์ญาติเจ้านครจึงนำธิดาคนนี้ถวายพระเจ้ากรุงธนเสีย ต่อมาเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เมื่อครั้งยังเป็นอุปราชเมืองนครอยู่ ภริยาซึ่งเป็นบุตรเจ้านครเสียชีวิต เจ้าพระยานคร (พัฒน์) ทำความชอบได้เข้าเฝ้าครั้งหนึ่ง พระเจ้ากรุงธนบุรีเห็นว่าภริยาเสียชีวิตก็สงสารจึงจะพระราชทานธิดาเจ้านครให้ใหม่ และให้นำตัวธิดาคนเล็กเจ้านครไปพระราชทาน แต่นางในกระซิบว่า ดูเหมือนว่านางจะขาดระดูอยู่ แต่พระเจ้ากรุงธนตรัสว่า "ได้ออกปากให้เขาแล้ว ก็พาไปเถอะ" เมื่อท้าวนางพาธิดาเจ้านครไปส่งนั้น เจ้าอุปราช (พัฒน์) ก็ทราบความลับนั้น มีความยำเกรงพระบารมีก็ต้องรับไว้เป็นท่านผู้หญิงกิตติมศักดิ์อยู่ตลอดอายุ และนางนั้นก็มีบุตรกับเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เพียงคนเดียว คือ เจ้าพระยานคร (น้อย) คนต่อมา

ประวัติศาสตร์
การปกครองแบ่งออกเป็น 21 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ 165 ตำบล 1428 หมู่บ้าน

อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
อำเภอพรหมคีรี
อำเภอลานสกา
อำเภอฉวาง
อำเภอพิปูน
อำเภอเชียรใหญ่
อำเภอชะอวด
อำเภอท่าศาลา
อำเภอทุ่งสง
อำเภอนาบอน
อำเภอทุ่งใหญ่
อำเภอปากพนัง
อำเภอร่อนพิบูลย์
อำเภอสิชล
อำเภอขนอม
อำเภอหัวไทร
อำเภอบางขัน
อำเภอถ้ำพรรณรา
อำเภอจุฬาภรณ์
อำเภอพระพรหม
กิ่งอำเภอนบพิตำ
กิ่งอำเภอช้างกลาง
อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช
เทศบาลนครนครศรีธรรมราช หน่วยการปกครอง

ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัด: พระบรมธาตุมีรัศมีล้อมรอบด้วย 12 นักษัตรโดยในสมัยเจ้าจันทรภาณุทรงมีพระปรีชาสามารถขยายอาณาเขตได้ครอบคลุมเมืองบริวารทั้งหลาย เมืองบริวารทั้งหมดต้องส่งเครื่องราชบรรณาการแก่เจ้าผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช บรรดาเมืองบริวารทั้ง 12 เมืองได้แก่
เมืองสายบุรี ใช้ตราหนู เมืองสายบุรีเป็นเมืองเก่าบนฝั่งแม่น้ำสายบุรี ประกอบด้วยชุมชนเกษตรกรรมบนพื้นราบริมทะเลหลายแห่ง จัดเป็นหัวเมืองที่ 1 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราหนู (ชวด) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นอำเภอในจังหวัดปัตตานี
เมืองปัตตานี ใช้ตราวัว เมืองตานีเคยเป็นเมืองท่าสำคัญในภาคใต้ฝั่งตะวันออกซึ่งรู้จักในหมู่พ่อค้าต่างชาติช่วงพุทธศตวรรษที่ 10-18 ในชื่อ "ลังกาสุกะ" จัดเป็นหัวเมืองที่ 2 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราวัว (ฉลู) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดปัตตานี
เมืองกลันตัน ใช้ตราเสือ เมืองกลันตันเป็นชุมชนเก่าแก่ทางตะวันออกของคาบสมุทรมลายู แต่เดิมประชาชนนับถือศาสนาพุทธและฮินดู ในราวพุทธศตวรรษที่ 21 จึงเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม จัดเป็นหัวเมืองที่ 3 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราเสือ (ขาล) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งของประเทศมาเลเซีย
เมืองปาหัง ใช้ตรากระต่าย เมืองปาหังเป็นชุมชนทางตอนล่างของแหลมมลายู ติดกับไทรบุรีหรือเกดะห์ จัดเป็นหัวเมืองที่ 4 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตรากระต่าย (เถาะ) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งในประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย
เมืองไทรบุรี ใช้ตรางูใหญ่ เมืองไทรบุรีเป็นชุมชนเก่าทางฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบและบึงตม เดิมประชาชนนับถือพุทธศาสนา ล่วงถึงพุทธศตวรรษที่ 20 จึงเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม จัดเป็นหัวเมืองที่ 5 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตรางูใหญ่ (มะโรง) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งในประเทศมาเลเซีย ชื่อว่า "เกดะห์"
เมืองพัทลุง ใช้ตรางูเล็ก เมืองพัทลุงเป็นชุมชนเก่าแก่แต่ครั้งพุทธศตวรรษที่ 11-13 ได้รับอิทธพลทางพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชอย่างต่อเนื่องทุกยุคสมัย จัดเป็นหัวเมืองที่ 6 ในทำเนียบสิบสองนักษัตร ถือตรางูเล็ก (มะเส็ง) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดพัทลุง
เมืองตรัง ใช้ตราม้า เมืองตรังเป็นเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันตก ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่ควนธานี ต่อมาได้ย้ายไปที่กันตังและทับเที่ยงตามลำดับ จัดเป็นหัวเมืองที่ 7 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราม้า (มะเมีย) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดตรัง
เมืองชุมพร ใช้ตราแพะ เมืองชุมพรเป็นชุมชนเกษตรและท่าเรือบนคาบสมุทรขนาดเล็ก มีประชากรไม่มากนักเนื่องจากดินฟ้าอากาศไม่อำนวยให้ทำมาหากิน จัดเป็นหัวเมืองที่ 8 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราแพะ (มะแม) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดชุมพร
เมืองบันทายสมอ ใช้ตราลิง เมืองบันทายสมอสันนิษฐานว่าเป็นเมืองไชยา ซึ่งเป็นชุมชนใหญ่มาแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๐ เป็นอย่างน้อย มีร่องรอยความเจริญทางเศรษฐกิจและศาสนาพุทธนิกายหินยานและมหายาน รวมทั้งศาสนาฮินดูนิกายไวษณพและนิกายไศวะจำนวนมาก จัดเป็นหัวเมืองที่ 9 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราลิง (วอก) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
เมืองสะอุเลา ใช้ตราไก่ เมืองสะอุเลาสันนิษฐานว่าเป็นเมืองท่าทองอุแทหรือกาญจนดิษฐ์ ซึ่งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำท่าทอง และลุ่มคลองกะแดะ เคยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงชั้นเอกและเป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญของนครศรีธรรมราช จัดเป็นหัวเมืองที่ 10 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราไก่ (ระกา) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคืออำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เมืองตะกั่วป่า ใช้ตราสุนัข เมืองตะกั่วป่าเคยเป็นเมืองท่าสำคัญทางฝั่งทะเลตะวันตก เป็นแหล่งผลิตดีบุกและเครื่องเทศมาแต่โบราณ จัดเป็นหัวเมืองที่ 11 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราสุนัข (จอ) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคืออำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
เมืองกระบุรี ใช้ตราหมู เมืองกระบุรีเป็นชุมชนเล็ก ๆ บนฝั่งแม่น้ำกระบุรี ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่า และภูเขาสลับซับซ้อน จัดเป็นหัวเมืองที่ 12 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราสุกร (กุน) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นอำเภอในจังหวัดระนอง
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกราชพฤกษ์ (Cassis fistula)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: แซะ (Millettia atropurpurea)
คำขวัญประจำเมือง: เราชาวนครอยู่เมืองพระ มั่นในสัจจะศีลธรรม กอปรกรรมดี มีมานะพากเพียร ไม่เบียดเบียนทำอันตรายผู้ใด
คำขวัญประจำจังหวัด: นครศรีธรรมราช เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู
อักษรย่อจังหวัด : นศ. สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

จังหวัดนครศรีธรรมราช สถานที่ท่องเที่ยว

พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
ศาลหลักเมือง
พระพุทธสิหิงค์
ท้าวขัตตุคาม-รามเทพ (ท้าวจตุคาม รามเทพ)
หอพระอิศวร
หอพระนารายณ์
หอพระสูง สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง

อุทยานแห่งชาติเขาหลวง
อุทยานแห่งชาติเขานัน
อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง
อุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีด อุทยานแห่งชาติทางทะเล

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองกะทูน

ไม่มีความคิดเห็น: