วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2550

สภาพทางภูมิศาสตร์
เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงใน ปี พ.ศ. 2310 ตำแหน่งเจ้าพระยานครศรีธรรมราชว่างอยู่ หลวงสิทธนายเวรมหาดเล็ก(หนู)ซึ่งออกไปรับราชการตำแหน่งปลัดเมือง เป็นผู้รักษาราชการเมืองนครศรีธรรมราช ครั้นทราบว่ากรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ไม่มีเจ้านายปกครองประเทศ หลวงสิทธิจึงตั้งตัวเป็นเจ้าผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช เป็นอิสระอยู่ก๊กหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2312 พระเจ้ากรุงธนบุรียกกองทัพไปปราบ จับตัวเจ้านครได้ และมีดำริว่าเจ้านครมิได้มีใจกบฏคิดร้ายต่อประเทศ แต่ตั้งตัวขึ้นเนื่องจากบ้านเมืองเป็นจลาจล จึงให้มารับราชการอยู่ที่กรุงธนบุรี และให้เจ้านราสุริยวงศ์หลานเธอออกไปครองเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาเจ้านราสุริยวงศ์ถึงแก่พิราลัย พระเจ้ากรุงธนบุรีดำริว่า เจ้านครได้เข้ามารับราชการมีความจงรักภักดีและได้ถวายธิดาทำราชการมีราชบุตร (คือพระพงษ์นรินทรและพระอินทร์อภัย) เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง จึงโปรดฯ ให้เจ้านครออกไปครองเมืองนครศรีธรรมราช และสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้านครศรีธรรมราช เจ้าขันธสีมา เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 11 ขึ้น 3 ค่ำ จุลศักราช 1138(พ.ศ. 2319) ปีวอกอัฐศก
ในสมัยรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระราชดำริว่า พระเจ้านครศรีธรรมราชมีความชราทุพพลภาพ ไม่สามารถปกครองบ้านเมืองได้ จึงโปรดให้ออกจากตำแหน่ง กลับเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ และโปรดให้ เจ้าอุปราช (พัฒน์) บุตรเขยเจ้านคร ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อวันอังคาร เดือน 8 แรม 11 ค่ำ จุลศักราช 1146 (พ.ศ. 2327) ปีมะโรงศก แต่โปรดให้มียศเพียง เจ้าพระยาตามประเพณีแต่เดิมเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองนครศรีธรรมราชจึงเป็นเมืองที่เคยมีกษัตริย์ปกครอง และมีฐานะเป็นประเทศราช 8 ปี
มีเกร็ดย่อยคือ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) รับราชการจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 มีความชราภาพ จึงทรงยกขึ้นเป็น เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี ตำแหน่งกิตติมศักดิ์ และทรงตั้งพระบริรักษ์ภูเบศร์ (น้อย) บุตรเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราชคนใหม่ แต่มีเรื่องปรากฏหลักฐานในสมัยนั้นว่า เจ้าพระยานคร (น้อย) นี้ที่จริงเป็นราชบุตรลับของพระเจ้ากรุงธนบุรี เนื่องจากเมื่อครั้งเจ้านครทำราชการอยู่ที่กรุงธนบุรี และถวายธิดาทำราชการฝ่ายในแก่พระเจ้ากรุงธนบุรี และมีน้องสาวมาอยู่ด้วยในวังคนหนึ่ง ความปรากฏตามพงศาวดารว่า เจ้าพระยาพิชัยราชา เจ้าเมืองสวรรคโลกให้ไปขอ พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบทรงพระพิโรธ ว่าเจ้าพระยาพิชัยราชาบังอาจจะเป็นคู่เขยของพระองค์ ให้เอาไปประหารเสีย ต่อมาวงศ์ญาติเจ้านครจึงนำธิดาคนนี้ถวายพระเจ้ากรุงธนเสีย ต่อมาเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เมื่อครั้งยังเป็นอุปราชเมืองนครอยู่ ภริยาซึ่งเป็นบุตรเจ้านครเสียชีวิต เจ้าพระยานคร (พัฒน์) ทำความชอบได้เข้าเฝ้าครั้งหนึ่ง พระเจ้ากรุงธนบุรีเห็นว่าภริยาเสียชีวิตก็สงสารจึงจะพระราชทานธิดาเจ้านครให้ใหม่ และให้นำตัวธิดาคนเล็กเจ้านครไปพระราชทาน แต่นางในกระซิบว่า ดูเหมือนว่านางจะขาดระดูอยู่ แต่พระเจ้ากรุงธนตรัสว่า "ได้ออกปากให้เขาแล้ว ก็พาไปเถอะ" เมื่อท้าวนางพาธิดาเจ้านครไปส่งนั้น เจ้าอุปราช (พัฒน์) ก็ทราบความลับนั้น มีความยำเกรงพระบารมีก็ต้องรับไว้เป็นท่านผู้หญิงกิตติมศักดิ์อยู่ตลอดอายุ และนางนั้นก็มีบุตรกับเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เพียงคนเดียว คือ เจ้าพระยานคร (น้อย) คนต่อมา

ประวัติศาสตร์
การปกครองแบ่งออกเป็น 21 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ 165 ตำบล 1428 หมู่บ้าน

อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
อำเภอพรหมคีรี
อำเภอลานสกา
อำเภอฉวาง
อำเภอพิปูน
อำเภอเชียรใหญ่
อำเภอชะอวด
อำเภอท่าศาลา
อำเภอทุ่งสง
อำเภอนาบอน
อำเภอทุ่งใหญ่
อำเภอปากพนัง
อำเภอร่อนพิบูลย์
อำเภอสิชล
อำเภอขนอม
อำเภอหัวไทร
อำเภอบางขัน
อำเภอถ้ำพรรณรา
อำเภอจุฬาภรณ์
อำเภอพระพรหม
กิ่งอำเภอนบพิตำ
กิ่งอำเภอช้างกลาง
อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช
เทศบาลนครนครศรีธรรมราช หน่วยการปกครอง

ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัด: พระบรมธาตุมีรัศมีล้อมรอบด้วย 12 นักษัตรโดยในสมัยเจ้าจันทรภาณุทรงมีพระปรีชาสามารถขยายอาณาเขตได้ครอบคลุมเมืองบริวารทั้งหลาย เมืองบริวารทั้งหมดต้องส่งเครื่องราชบรรณาการแก่เจ้าผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช บรรดาเมืองบริวารทั้ง 12 เมืองได้แก่
เมืองสายบุรี ใช้ตราหนู เมืองสายบุรีเป็นเมืองเก่าบนฝั่งแม่น้ำสายบุรี ประกอบด้วยชุมชนเกษตรกรรมบนพื้นราบริมทะเลหลายแห่ง จัดเป็นหัวเมืองที่ 1 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราหนู (ชวด) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นอำเภอในจังหวัดปัตตานี
เมืองปัตตานี ใช้ตราวัว เมืองตานีเคยเป็นเมืองท่าสำคัญในภาคใต้ฝั่งตะวันออกซึ่งรู้จักในหมู่พ่อค้าต่างชาติช่วงพุทธศตวรรษที่ 10-18 ในชื่อ "ลังกาสุกะ" จัดเป็นหัวเมืองที่ 2 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราวัว (ฉลู) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดปัตตานี
เมืองกลันตัน ใช้ตราเสือ เมืองกลันตันเป็นชุมชนเก่าแก่ทางตะวันออกของคาบสมุทรมลายู แต่เดิมประชาชนนับถือศาสนาพุทธและฮินดู ในราวพุทธศตวรรษที่ 21 จึงเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม จัดเป็นหัวเมืองที่ 3 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราเสือ (ขาล) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งของประเทศมาเลเซีย
เมืองปาหัง ใช้ตรากระต่าย เมืองปาหังเป็นชุมชนทางตอนล่างของแหลมมลายู ติดกับไทรบุรีหรือเกดะห์ จัดเป็นหัวเมืองที่ 4 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตรากระต่าย (เถาะ) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งในประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย
เมืองไทรบุรี ใช้ตรางูใหญ่ เมืองไทรบุรีเป็นชุมชนเก่าทางฝั่งตะวันตกของแหลมมลายู พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบและบึงตม เดิมประชาชนนับถือพุทธศาสนา ล่วงถึงพุทธศตวรรษที่ 20 จึงเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม จัดเป็นหัวเมืองที่ 5 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตรางูใหญ่ (มะโรง) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นรัฐหนึ่งในประเทศมาเลเซีย ชื่อว่า "เกดะห์"
เมืองพัทลุง ใช้ตรางูเล็ก เมืองพัทลุงเป็นชุมชนเก่าแก่แต่ครั้งพุทธศตวรรษที่ 11-13 ได้รับอิทธพลทางพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชอย่างต่อเนื่องทุกยุคสมัย จัดเป็นหัวเมืองที่ 6 ในทำเนียบสิบสองนักษัตร ถือตรางูเล็ก (มะเส็ง) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดพัทลุง
เมืองตรัง ใช้ตราม้า เมืองตรังเป็นเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันตก ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่ควนธานี ต่อมาได้ย้ายไปที่กันตังและทับเที่ยงตามลำดับ จัดเป็นหัวเมืองที่ 7 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราม้า (มะเมีย) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดตรัง
เมืองชุมพร ใช้ตราแพะ เมืองชุมพรเป็นชุมชนเกษตรและท่าเรือบนคาบสมุทรขนาดเล็ก มีประชากรไม่มากนักเนื่องจากดินฟ้าอากาศไม่อำนวยให้ทำมาหากิน จัดเป็นหัวเมืองที่ 8 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราแพะ (มะแม) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคือจังหวัดชุมพร
เมืองบันทายสมอ ใช้ตราลิง เมืองบันทายสมอสันนิษฐานว่าเป็นเมืองไชยา ซึ่งเป็นชุมชนใหญ่มาแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๐ เป็นอย่างน้อย มีร่องรอยความเจริญทางเศรษฐกิจและศาสนาพุทธนิกายหินยานและมหายาน รวมทั้งศาสนาฮินดูนิกายไวษณพและนิกายไศวะจำนวนมาก จัดเป็นหัวเมืองที่ 9 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราลิง (วอก) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
เมืองสะอุเลา ใช้ตราไก่ เมืองสะอุเลาสันนิษฐานว่าเป็นเมืองท่าทองอุแทหรือกาญจนดิษฐ์ ซึ่งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำท่าทอง และลุ่มคลองกะแดะ เคยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวงชั้นเอกและเป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญของนครศรีธรรมราช จัดเป็นหัวเมืองที่ 10 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราไก่ (ระกา) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคืออำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เมืองตะกั่วป่า ใช้ตราสุนัข เมืองตะกั่วป่าเคยเป็นเมืองท่าสำคัญทางฝั่งทะเลตะวันตก เป็นแหล่งผลิตดีบุกและเครื่องเทศมาแต่โบราณ จัดเป็นหัวเมืองที่ 11 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราสุนัข (จอ) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันคืออำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
เมืองกระบุรี ใช้ตราหมู เมืองกระบุรีเป็นชุมชนเล็ก ๆ บนฝั่งแม่น้ำกระบุรี ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่า และภูเขาสลับซับซ้อน จัดเป็นหัวเมืองที่ 12 ในทำเนียบเมืองสิบสองนักษัตร ถือตราสุกร (กุน) เป็นตราประจำเมือง ปัจจุบันมีฐานะเป็นอำเภอในจังหวัดระนอง
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกราชพฤกษ์ (Cassis fistula)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: แซะ (Millettia atropurpurea)
คำขวัญประจำเมือง: เราชาวนครอยู่เมืองพระ มั่นในสัจจะศีลธรรม กอปรกรรมดี มีมานะพากเพียร ไม่เบียดเบียนทำอันตรายผู้ใด
คำขวัญประจำจังหวัด: นครศรีธรรมราช เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู
อักษรย่อจังหวัด : นศ. สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

จังหวัดนครศรีธรรมราช สถานที่ท่องเที่ยว

พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
ศาลหลักเมือง
พระพุทธสิหิงค์
ท้าวขัตตุคาม-รามเทพ (ท้าวจตุคาม รามเทพ)
หอพระอิศวร
หอพระนารายณ์
หอพระสูง สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง

อุทยานแห่งชาติเขาหลวง
อุทยานแห่งชาติเขานัน
อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง
อุทยานแห่งชาติน้ำตกสี่ขีด อุทยานแห่งชาติทางทะเล

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองกะทูน

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2550


พอล แอนเดอร์สัน (Poul Anderson) (25 พ.ย. 2469 -31 ก.ค. 2544) เป็นนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ที่มีผลงานเป็นจำนวนมาก ในช่วงยุคทองของนิยายวิทยาศาสตร์ ในช่วงแรกของการตีพิมพ์ผลงาน เขาใช้นามแฝงหลายชื่อ ได้แก่ "A. A. Craig", "Michael Karageorge", และ "Winston P. Sanders". นอกจากเรื่องแนววิทยาศาสตร์แล้ว พอล แอนเดอร์สัน ยังเขียนเรื่องแนวแฟนตาซีอีกด้วย เช่นเรื่องชุด the King of Ys.
แอนเดอร์สัน เกิดเมื่อ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) ที่ Bristol, เพนซิลเวเนีย, สหรัฐอเมริกา. ถึงแก่กรรมเมื่อ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
พอล แอนเดอร์สันพอล แอนเดอร์สัน

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2550

จูเลียส ซีซาร์จูเลียส ซีซาร์ ชีวประวัติและผลงาน
จูเลียส เกิดในวันที่ 12 กรกฎาคม เมื่อประมาณ 100 ปี ก่อนคริสตศักราช(พ.ศ. 444) ในตระกูลขุนนางเก่าตระกูลหนึ่ง มีบิดาชื่อเคอุส จูเลียส และมารดาชื่ออรอเรเลีย บิดาของเขาแม้จะมั่งคั่งร่ำรวย แต่ก็มิได้มีตำแหน่งสูงนักในทางราชการ จูเลียสเป็นกำพร้าบิดาตั้งแต่อายุยังน้อย คงมีแต่มารดาซึ่งคอยให้ความปกป้องคุ้มครองดูแลต่อมา
นับตั้งแต่เด็กมา จูเลียสไม่เคยคิดที่จะยึดเอาการทหารเป็นอาชีพอย่างแท้จริงเลยทั้ง ๆ ที่เขาเคยเข้าฝึกทหารอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เขาตั้งใจจะเป็นทนายความ หรือเป็นนักกฎหมายซึ่งเป็นอาชีพที่ขึ้นหน้าขึ้นตาในสมัยนั้นมากกว่า ครั้งหนึ่งเขาเคยถูกโจรสลัดจับตัวไปเรียกค่าไถ่ เมื่อเขารอดชีวิตกลับมาเขากลับรวบรวมสมัครพรรคพวกและเรือทั้งหลาย กลับไปยังเกาะที่เขาเคยถูกนำตัวไปกักไว้ ได้สู้รบกับบรรดาโจรสลัดจนได้ชัยชนะนำพวกโจรกลับมารับการลงโทษ เหตุการณ์นี้ได้แสดงให้เห็นว่า จูเลียสนั้นเป็นผู้ที่ชอบการสู้รบมาตั้งแต่เด็กๆ และก็ดูเหมือนว่าเขาจะมีชื่อเสียงที่สุดในด้านการทหาร เมื่ออายุ 21 ปี เขาได้รับเหรียญกล้าหาญในฐานะที่ได้ช่วยชีวิตทหารคนหนึ่งไว้ได้จากการรบ สามารถตีชนะประเทศต่าง ๆ ถึง 300 ประเทศ ได้เมืองต่าง ๆ ไว้ในอำนาจถึง 800 เมือง แม้แต่ในวงการทหารสมัยปัจจุบันก็ยังอดแปลกใจไม่ได้ว่าทำไมจูเลียส ซีซาร์ จึงสามารถเดินทัพ และทำสงครามเผด็จศึก ได้อย่างรวดเร็วถึงเพียงนั้น ทัพของโรมันได้ชัยชนะตั้งแต่ยุโรปทางตอนเหนือจรดยุโรปตอนใต้ จากสเปนไปจนถึงอาเซียนน้อยและเรื่อยไปจนถึงอียิปต์ ตลอดเวลาของการเดินทัพ จูเลียสจะกินอยู่หลับนอนร่วมกับทหารเลวทั้งหมด ทั้งมักจะชอบแสดงถึงความกล้าหาญ ปราศจากความกลัวในภยันตรายทั้งหลายทั้งปวงให้เหล่าทหารได้เห็น ครั้งหนึ่งเขาควบม้าอย่างรวดเร็ว เต็มฝีเท้าแต่กลับปล่อยมือจากสายบังเหียน แล้วยกขึ้นประสานไว้เหนือศีรษะ และอีกครั้งหนึ่งเขาได้ขอลองขึ้นขี่ม้าที่ขึ้นชื่อว่าดุที่สุด จนไม่มีใครกล้าขี่ ในการบุกทุกครั้ง จูเลียสจะเข้าร่วมอยู่ในกลุ่มทหาร ปฏิเสธไม่ยอมใส่แม้แต่หมวกเหล็กเพื่อให้ทหารจำได้ เขาไม่เคยตกใจจนทำอะไรไม่ถูกและไม่ว่าจะทำอะไรเขาจะทำอย่างเชื่อมั่นในตนเอง ตลอดเวลาเขามักจะคิดถึงแต่ความสง่างามความยิ่งใหญ่ของเขาในฐานะเป็นผู้นำ
ครั้งหนึ่งในการทำสงครามที่เฟซาเลีย ซึ่งในที่สุดโรมันก็เป็นฝ่ายได้ชัยชนะ ฟาร์เนเซส เจ้าผู้ครองแคว้นได้ก่อการกบฎขึ้น โดยปฏิเสธไม่ยอมสวามิภักดิ์ด้วย จูเลียสจึงยกทัพเข้าตะลุมบอน และได้ชัยชนะภายในเวลาเพียงวันเดียว ผลจากการสู้รบครั้งนี้เอง ทำให้เราได้รู้จักคำพูดที่เป็นอมตะประโยคหนึ่งของจูเลียส ซีซาร์ ซึ่งได้รายงานกลับมาโรมว่า Veni, Vedi, Vici! ซึ่งแปลว่า "ข้าไปถึงแล้ว ข้าได้เห็น และข้าก็ได้ชัยชนะ"

ช่วงต้นของชีวิต
เหตุการณ์ที่สำคัญนั้นก็คือ การยกทัพเข้ารุกรานเกาะอังกฤษ ที่เรียกว่าสำคัญก็ด้วยเหตุผลประการหนึ่งคือ ทำให้คนรุ่นหลังได้รู้จักประวัติของเกาะเล็ก ๆ เกาะหนึ่งซึ่งก่อนหน้านั้นไม่เคยมีอยู่บนแผนที่เลยด้วยซ้ำ ปีนั้นตรงกับปีที่ 55 ก่อนคริสตศักราช ซีซาร์ได้ครองอาณาจักรโกล ซึ่งปัจจุบันคือประเทศฝรั่งเศสเรียบร้อยแล้ว แต่พวกโกลมักจะได้รับความช่วยเหลือจากชนชาติหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าของเกาะเล็ก ๆ ที่อยู่ตรงข้ามเมืองคาเล่ส์ให้ก่อการกบฎอยู่เสมอ และถ้าพ่ายแพ้ พวกนี้ก็มักจะอพยพหนีไปพำนักพักพิงชั่วคราวอยู่ ณ เกาะเล็ก ๆ แห่งนั้น เกาะนั้นจะเป็นเกาะอะไร มีพลเมืองมากน้อยเพียงใด มีความเป็นอยู่อย่างไร จูเลียส ซีซาร์ หาได้มีความรู้แม้แต่น้อยไม่ แต่กระนั้น เขาก็ตัดสินใจยกทัพเข้ารุกรานทันที จูเลียส สั่งเตรียมทหารให้มาพร้อมกันลงเรือที่เมืองบูโลญราว 10,000 คน เพียงข้ามคืนเดียว กองทัพโรมก็จะขึ้นฝั่งได้แถบบริเวณโดเวอร์ แต่ชาวพื้นเมืองเตรียมต่อสู้อย่างเต็มที่ ทำให้จูเลียสต้องสั่งทหารให้แล่นเรือต่อไปรอบ ๆ เกาะจนถึงดีส จึงขึ้นบกและขับไล่ชาวพื้นเมืองให้หนีไปได้ เหตุการณ์เป็นปกติเรียบร้อย จนถึงวันที่สี่นับจากการยึดครองเกาะได้ คืนนั้นเป็นคืนพระจันทร์เต็มดวง น้ำทะเลขึ้นสูง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ชาวโรมันไม่เคยได้รู้จักมาก่อน กำลังน้ำทำลายเรือเสียมากต่อมาก ในที่สุดซีซาร์ต้องออกคำสั่งให้ถอยทัพกลับยุโรป พอดีกับเหตุการณ์วุ่นวายในแถบยุโรปตะวันออก ซึ่งซีซาร์ต้องเสียเวลาปราบปรามอยู่พักหนึ่ง
เดือนเมษายนปีต่อมา จูเลียส ซีซาร์ สั่งให้เตรียมกองทัพเรืออีกครั้ง คราวนี้มีเรือถึง 600 ลำ กองทหารถึง 28 กอง และเมื่อถึงวันที่ 20 กรกฎาคม ก็เริ่มออกเดินทาง คราวนี้ชาวเกาะมิได้คิต่อสู้เลย คงจะเกิดความกลัวตั้งแต่เห็นความยิ่งใหญ่ของกองเรือ จึงพากันอพยพหนีขึ้นไปทางเหนือ ซีซาร์ยกทัพตามขึ้นไปจนถึงเมืองเซนต์ อาลลานส์ เมื่อฤดูหนาวใกล้เข้ามาก็ตัดสินใจยกทัพกลับโรม โดยนำเชลยติดมาด้วยเป็นจำนวนมาก ชาวโรมันตื่นเต้นกันมากในชัยชยะครั้งนี้
เมื่อวัยหนุ่ม ซีซาร์ได้เดินทางไปรับการศึกษา ณ เกาะโรดส์ระหว่างนั้นได้เกิดสงครามขึ้น และซีซาร์ก็ได้ไปร่วมรบด้วย ทำให้เขามีชื่อเสียงขึ้น และเมื่อกลับมายังโรม เขาจึงได้รับแต่งตั้งเป็นมอนติเฟดส์ และเริ่มสนใจทางการเมือง เขาร่วมมือกับปอมเปย์ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทัพโรมัน และเครสซัส เศรษฐีคนหนึ่งเรียกคณะของตนว่า ไตรอุมวิเรท มีอำนาจควบคุมกิจการบริหารในสมัยนั้นอย่างมากมาย
ต่อมาราว 59 ปี ก่อนคริสตศักราช จูเลียสได้รับเลือกเป็นกงสุลและได้มีการแบ่งอำนาจกันระหว่างคู่สัญญาทั้งสาม ซึ่งทำให้จูเลียสได้โอกาสแผ่ขยายอำนาจต่อไปได้เต็มที่ จนปอมเปย์อิจฉา จนในที่สุดเกิดเป็นสงครามขึ้น ตอนนี้แครสซัสตายแล้ว จูเลียสได้ชัยชนะ ปอมเปย์หนีไปอียิปต์ และไปถูกฆ่าตายที่นั้น ราว 48 ปี ก่อนคริสตศักราช เขาได้เข้าเมืองอียิปต์ช่วยจัดการให้คลีโอพัตรา ซึ่งกำลังมีเรื่องแย่งราชสมบัติกับพระอนุชาให้ได้ขึ้นครองราชบัลลังก์ จนมีเรื่องลื่อกระฉ่อนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเขากับพระนางคลีโอพัตรา
อย่างไรก็ตาม ในตอนนี้จูเลียสก็ได้มีอำนาจเต็มที่ในโรมเขากลับมาถึงโรม และได้รับการยกย่องให้เป็น "ผู้มีอำนาจปกครองโดยเผด็จการ" โดยกำหนดให้มีอำนาจอยู่ครั้งละสิบปี และต่อมาเมื่อเขาปราบปรามตีดินแดนทางแถบอาฟริกาและสเปนได้ เขาจึงได้รับการอนุมัติให้เป็น "หัวหน้าผู้เผด็จการ" ตลอดชีวิต

ด้านมืด และจุดจบของซีซาร์
ซีซาร์เป็นเผด็จการแต่ก็ไม่เคยเป็นจักรพรรดิ แม้ว่าเขาจะมีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนั้น อันเป็นเหตุให้ถูกลอบสังหารในที่สุด คำพูดสุดท้ายของซีซาร์ได้แก่ καὶ σύ, τέκνον (kaì sú, téknon)ในภาษากรีก ภาษาของบุคคลชั้นสูงในกรุงโรม (หรือแปลเป็นภาษาละตินโดยซูเอโทนว่า "Tu quoque, fili" ซึ่งแปลว่า "เจ้าก็ด้วย ลูกชายของข้า") มีความเห็นต่างๆกันไปเกี่ยวกับความหมายในคำพูดสุดท้ายของจูเลียส ซีซาร์

การตีความที่พบบ่อยที่สุด คือซีซาร์รู้สึกประหลาดใจที่บุตรชายของตนเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้วางแผนทรยศ
บางคนเชื่อว่านี่เป็นคำสาปที่ซีซาร์แช่งให้บรูตุสได้รับชะตากรรมเดียวกับตน
การตีความอีกรูปแบบมีการอ้างอิงถึงสุขภาพที่ทรุดโทรมของซีซาร์ก่อนถึงแก่อสัญกรรม เขาอาจจะเป็นโรคเรื้อน ซึ่งทำให้เกิดอาการท้องเสีย อาเจียนอย่างรุนแรง ไม่ฟังเสียงทัดทานของคนรอบข้าง และเลือกจะจบชีวิตตนเองในที่สุด คำพูดสุดท้ายของซีซาร์จึงอาจตีความได้ว่า "เจ้าก็ด้วย ลูกชายของข้า เจ้าจะต้องแก่และอ่อนแอ และมีชะตากับเดียวกับข้า"
และท้ายสุด เป. อาร์โนด์ ได้เสนอแนวทางตีความต่อไปนี้ เราพบว่าซูเอโทนก็ใช้คำว่า καὶ σύ, τέκνον เมื่อ ซีซาร์ออกุสตุส กล่าวถึง กัลบา บุตรชาย (ซึ่งได้กลายเป็นจักรพรรดิในเวลาต่อมา) ในความหมายว่า "เจ้าก็ด้วย บุตรของข้า เจ้าจะสืบทอดอำนาจข้าต่อไป" แม้แต่ดิออน ซาสซิอุส ก็ใช้คำนี้เพื่อบอกเล่าเรื่องของ 'ทิเบรุส เคลาดิอุส เนโร' กล่าวกับกัลบา คนเดียวกัน ดังนั้น เมื่อซีซาร์ถูกลอบสังหารอย่างเป็นทางการเพื่อปกป้องสาธารณรัฐ เขาจึงได้กล่าวโทษบรูตุสซึ่งต้องการขึ้นสู่อำนาจเช่นเดียวกับเขา และได้กล่าวทำนายการลอบสังหารบรูตุสในอนาคตว่าจะเป็นเหตุผลเดียวกันกับที่เขาถูกลอบสังหาร

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2550

ภาษาแม่
คิมิงะโยะ (「君が代」 Kimi ga Yo) เป็นเพลงชาติของประเทศญี่ปุ่น เนื้อเพลงถูกนำมาจากบทกลอนในยุคสมัยเฮอัง ประมาณ 1 พันกว่าปีก่อน เนื้อเพลงเขียนโดยชาวอังกฤษชื่อ J. W. Fenton ในปี 1869 และนักดนตรีในยุคอิมพีเรียลได้นำเนื้อเพลงมาเรียบเรียงใหม่ ซึ่งใช้กันมาถึงปัจจุบัน โดยเนื้อเพลงมีดังนี้่

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2550

พ.ศ. 604
พุทธศักราช 604 ใกล้เคียงกับ ค.ศ. 61

พ.ศ. 604 วันเกิด

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550


เทศบาลตำบลแหลมฉบัง เป็นเทศบาลรูปแบบพิเศษที่จัดตั้งเพื่อรองรับการเป็นเมืองท่าพาณิชย์หลักของประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นเมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สำคัญของประเทศอีกด้วย โดยตั้งอยู่ในเขตอำเภอศรีราชา และ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

เมืองแหลมฉบัง ที่ตั้งและอาณาเขต
ปัจจุบันคาดว่ามีประชากรในเขตเทศบาลตำบลแหลมฉบังเป็นจำนวนไม่ต่ำกว่า 70,000 คนในแต่ละวัน ในขณะที่สถิติของสำนักงานทะเบียนราษฎรท้องถิ่นเทศบาลตำบลแหลมฉบัง ณ มีจำนวน 45,012 คนแยกเป็นชาย 22,412 คนหญิง 22,601 คน ซึ่งส่วนมากจะเป็นประชากรแฝงประมาณ 40,000 คนที่เข้ามาทำงานในเขตนิคมอุตสาหกรรม ท่าเรือแหลมฉบัง และเครือสหพัฒน์ฯ และที่อื่น ๆ โดยที่ไม่มีการย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาอยู่แต่อย่างใด โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย รับจ้างทั่วไป และบางส่วนประกอบอาชีพเกษตรและประมง

ประชากร
ภายในเขตเทศบาลตำบลแหลมฉบังมีวัด จำนวน 14 แห่ง สำนักสงฆ์ 2 แห่ง และศาลเจ้า 4 แห่ง

ศาสนสถาน
ภายในเขตเทศบาลตำบลแหลมฉบัง มีสถานการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน

โรงเรียนสังกัดเทศบาล ได้แก่ โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 และโรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 2
โรงเรียนสังกัด สปช. จำนวน 10 โรงเรียน คือ โรงเรียนวัดมโนรม โรงเรียนบริษัทไทยกสิกรสงเคราะห์ โรงเรียนวัดใหม่เนินพยอม โรงเรียนบ้านชากยายจีน โรงเรียนวัดบ้านนา โรงเรียนวัดประทานพร โรงเรียนบ้านบางละมุง โรงเรียนวัดสุกรีย์บุญญาราม โรงเรียนบ้านทุ่งกราด และโรงเรียนวัดหนองคล้า
โรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา คือ โรงเรียนทุ่งศุขลาวิทยา "กรุงไทยอนุเคราะห์"
โรงเรียนเอกชน จำนวน 3 โรงเรียน คือ โรงเรียนบุญจิตวิทยา โรงเรียนทนาพรวิทยา และโรงเรียนเทคโนโลยีแหลมฉบัง
ระดับอุดมศึกษา หนึ่งแห่ง คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตศรีราชา) เมืองแหลมฉบัง การศึกษา
ภายในเทศบาลตำบลแหลมฉบัง มีสถานพยาบาลสำหรับบริการประชาชน ดังนี้

โรงพยาบาล 2 แห่งคือ โรงพยาบาลอ่าวอุดม และโรงพยาบาลแหลมฉบังอินเตอร
ศูนย์บริการสาธารณสุข 2 แห่ง คือ ศูนย์บริการสาธารณสุข 1 (เครือสหพัฒน์ฯ) ,ศูนย์บริการสาธารณสุข 2 (ทุ่งกราด)
คลินิก ประมาณ 10 แห่ง การสาธารณสุข
สภาพทางเศรษฐกิจภายในเขตเทศบาลแหลมฉบัง ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมเป็นหลักมีอัตราการขยายตัวของการลงทุนด้านอุตสาหกรรมที่สูงมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่เป้าหมายในเขตเศรษฐกิจใหม่ของการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ซึ่งมีภารกิจหลักที่จะต้อง พัฒนา คือ ท่าเรือพาณิชย์ หลักระหว่างประเทศนิคมอุตสาหกรรม และชุมชนเมืองใหม่ ด้านการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคและสาธารณูปการอย่างครบวงจรทำให้เหมาะแก่การจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมแหลมฉบังและในเขตสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒนฯกลุ่มอุตสาหกรรมภายในเขตเทศบาลตำบล แหลมฉบังเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญต่อ จังหวัดชลบุร และภาคตะวันออกเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมีมูลค่าการลงทุนสูงสุดของจังหวัดชลบุรีประมาณไม่ต่ากว่า 1 แสนล้านบาท มีผู้ประกอบการไม่น้อยกว่า 154 บริษัท และมีการจ้างงานเป็นจำนวนมากที่สุดของจังหวัดชลบุรี ประมาณ 5 หมื่นคน มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงที่สุดในสาขาการผลิตของจังหวัด

สภาพเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรมปิโตรเลี่ยมเป็นอุตสาหกรรมที่มีค่าการลงทุนสูงสุดในเขตเทศบาลตำบลแหลมฉบังจังหวัดชลบุรีแยกเป็น

โรงกลั่นน้ำมัน 3 แห่ง คือ โรงกลั่นน้ำมัน บริษัทไทยออยล์ จำกัด โรงกลั่นน้ำมัน บริษัทเอสโซ่แสตนดาร์ด ประเทศไทย(มหาชน)จำกัด และโรงกลั่นน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน บริษัทไทยลู้บเบส จำกัด
คลังเก็บน้ำมันปิโตรเลี่ยม 3 แห่ง ได้แก่ คลังเก็บน้ำมันของบริษัทไทยออยล์จำกัด คลังเก้บน้ำมันของบริษัทเอสโซ่แสตนดาร์ด์ ประเทศไทย(มหาชน)จำกัด และคลังเก็บน้ำมันของการปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทย
คลังเก็บก๊าช LPG ซึ่งเป็นก๊าชหุงต้ม 3 แห่งคือของบริษัทไทยออยล์จำกัด บริษัทเอสโซ่แสตนดาร์ดประเทศไทย(มหาชน)จำกัด และการปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเลียม
นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังเป็นกิจกรรมหลักในการพัฒนาที่สำคัญอย่างหนึ่งในพื้นที่เป้าหมายเขตเศรษฐกิจใหม่บริเวณแหลมฉบังอยู่ในความรับผิดชอบของ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยตั้งอยู่บนพื้นที่ 3,556 ไร่ ตำบลทุ่งสุขลาระหว่าง กม. 126-กม. 129 แบ่งเป็น
- เขตอุตสาหกรรมทั่วไป 1,098 ไร่
- เขตอุตสาหกรรมส่งออก 1,098 ไร่
- เขตพาณิชยกรรม 146 ไร่
ในปัจจุบัน นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง มีบริษัทเข้าไปลงทุนจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ 98 บริษัท

กลุ่มสวนอุตสาหรรมเครือสหพัฒนฯ
ท่าเรือแหลมฉบัง ตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกห่างจากกรุงเทพมหานคร ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 120 กิโลเมตรและห่างจากพัทยาประมาณ 15 กิโลเมตร มีพื้นที่ อาณาบริเวณทางบกประมาณ 6,341 ไร่ (ประมาณ 4 ต.ร.กม.) อาณาบริเวณทางน้ำประมาณ 55 ต.ร.กม. พื้นที่ถมทะเลเพื่อสร้างท่าเทียบเรือในโครงการขั้นที่ 1 ประมาณ 900 ไร่ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อรับเรือบรรทุกตู้สินค้า เรือสินค้าประเภทสินค้าเกษตรกรรมขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถเข้าเทียบท่าเรือกรุงเทพฯได้และการส่งเสริมการส่งออกที่สำคัญของไทยในอนาคต

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2550


พุทธศักราช 2147 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 1604 - มีนาคม ค.ศ. 1605
ค.ศ. 1604 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน
ค.ศ. 1605 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน
ปีมะโรง ฉศก จุลศักราช 966 (วันที่ 9 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
มหาศักราช 1526 ค.ศ. 1604 เหตุการณ์

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2550

แดเนียล แรดคลิฟฟ์
แดเนียล จาคอบ แรดคลิฟฟ์ (Daniel Jacob Radcliffe) (เกิด 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2532) มีชื่อเสียงจากการเป็นนักแสดงในบทบาทของ แฮร์รี่ พอตเตอร์ ซึ่งนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์จากบทประพันธ์ของ เจ. เค. โรว์ลิ่ง

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2550

เอ็ม (เจมส์ บอนด์)
เอ็ม เป็นตัวละครในนิยายชุดเจมส์ บอนด์ แต่งโดยเอียน เฟลมมิง ซึ่งรวมถึงภาพยนตร์และวิดีโอเกมในชุดเจมส์ บอนด์ด้วย
"เอ็ม" เป็นรหัสเรียกตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานสืบราชการลับของสหราชอาณาจักร (MI6) เชื่อกันว่าเอียน เฟลมมิงนั้นได้แรงบันดาลใจมาจากผู้อำนวยการหน่วยสืบราชการลับคนแรกเซอร์แมนสฟิลด์ สมิธ-คัมมิง (Mansfield Smith-Cumming) ซึ่งใช้ตัวย่อในเอกสารว่า "ซี" (C) และประเพณีถูกดำเนินต่อมาโดยผู้อำนวยการคนอื่นๆ
ในฉบับนิยาย ชื่อจริงของ "เอ็ม" คือ "Sir Miles Messervy" โดยจะมีผู้ช่วยเป็นเลขานุการชื่อมิสมันนี่เพนนี และหัวหน้าสต๊าฟชื่อบิล แทนเนอร์

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2550

ปู้ยี
ชาวปู้ยี (ภาษาจีน:布依族) (พินอิน:Bùyīzú) มีถิ่นที่อยู่ที่มณฑลเจียงซู รวมจ้วงเหนือแถบเขตปกครองตนเองกวางสีจ้วง มณฑลกุ้ยโจว และตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ที่มักเรียกตนเองว่า ปู้ยี ไม่เรียกตนเองว่าจ้วง ก็จะมีปู้ยี 2,049,203 คน ปู้ยีมีภาษาและวัฒนธรรมคล้ายจ้วง ชาวปู้ยีพูดภาษาไท และภาษาจีน นับถือลัทธิดั้งเดิม และบางส่วนก็หันไปนับถือคริสตศาสนา

วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550

ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ประวัติ
เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2525 จากนั้นในปี พ.ศ.2528 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และในปี พ.ศ.2532 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ ต่อมาในปี พ.ศ.2540 ได้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ระดับ 11 นอกจากภาระหน้าที่อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์แล้ว ยังได้ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ เช่น
ในระดับนานาชาติ ระหว่างปี พ.ศ. 2533 – 2536 ศ.นพ.ธีระวัฒน์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ WHO Collaborating Center for Research on Rabies Pathogenesis and Prevention และในปี พ.ศ.2533 ถึงปัจจุบันเป็น Member of WHO Expert Advisory Panel on Rabies และตั้งแต่พ.ศ. 2543 ได้รับคัดเลือกเป็น Member of American Neurological Association และล่าสุด พ.ศ. 2547 เป็น Member of Scientific Committee จากสถาบันปาสเตอร์ ประเทศฝรั่งเศส

กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
อนุกรรมการจริยธรรม แพทยสภา
ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
กรรมการองค์การเภสัชกรรม[1]
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้[2]

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2550

สหสมภพ ศรีสมวงศ์
สหสมภพ ศรีสมวงศ์ เกิดที่กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายสหสมภพ เดิมชื่อ สมภพ ศรีสมวงศ์ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น สหสมภพ ในปี พ.ศ. 2538
สหสมภพ ศรีสมวงศ์ เป็นโปรโมเตอร์และผู้จัดการนักมวยหลายราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักมวยสากล มีค่ายมวยเป็นของตนเองคือค่าย " ส.จิตรลดา " ซึ่งเป็นค่ายที่ฝึกสอนเฉพาะมวยสากลเพียงอย่างเดียว และเป็นผู้จัดการและผู้จัดการร่วมของนักมวยไทยหลายรายที่ได้เป็นแชมป์โลกจำนวนมาก เช่น พเยาว์ พูลธรัตน์, สด จิตรลดา, สามารถ พยัคฆ์อรุณ, นภา เกียรติวันชัย, สมาน ส.จาตุรงค์ เป็นต้น และเป็นผู้แทนของสภามวยโลก (WBC) ในประเทศไทยและเป็นผู้ก่อตั้งสภามวยแห่งเอเชีย (ABCO) ขึ้นมาด้วยในปี พ.ศ. 2542
ในทางสังคมและการเมือง นายสหสมภพเคยลงสมัครเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ประจำปี พ.ศ. 2540 ที่กรุงเทพมหานครด้วย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง
นายสหสมภพ ศรีสมวงศ์ เสียชีวิตอย่างกระทันหันในต้นปี พ.ศ. 2543 ด้วยอาการหัวใจวาย โดยได้เข้านอนในเวลากลางคืนและเสียชีวิตไปในระหว่างหลับ เมื่อภรรยาและลูกสาวขึ้นไปปลุกก็ปรากฎว่าเสียชีวิตแล้ว โดยตำแหน่งสุดท้ายนั้น นายสหสมภพเป็นผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมพิเศษของช่อง 7อยู่ด้วย
เมื่อยังมีชีวิตอยู่ นายสหสมภพถือได้ว่าเป็นบุคคที่นักมวยและบุคคลในวงการมวยให้การยอมรับ และนับถือเป็นอย่างมาก ด้วยความเป็นคนมีน้ำใจและไม่เอารัดเอาเปรียบใคร โดยมีรายการมวยชกเคลื่อนไหวประจำทุกวันพุธทุกกลางเดือน ชื่อรายการ " ศึกดาวรุ่งทีวี 7 สี มุ่งแชมเปี้ยนโลก " ทำการชกกันที่ลานเพลิน ช่อง 7 และมีการถ่ายทอดทางช่อง 7 ประจำ อีกทั้งในบางครั้งยังขึ้นเวทีให้น้ำและสอนนักมวยในระหว่างพักยกเหมือนกับเป็นเทรนเนอร์เสียเอง และในบางครั้งยังสามารถเสนอชื่อของนักมวยให้ติดอันดับของสภามวยโลกได้โดยยังไม่มีตัวตนของนักมวยรายนั้นอยู่เลยก็มี
นายสหสมภพ มีชื่อเล่นว่า อึ่ง จึงถูกเรียกกันจนติดปากว่า บิ๊กอึ่ง ในขณะที่นักมวยจะเรียกว่า คุณผู้ชาย เมื่อเสียชีวิตไปแล้ว นายชัยวัฒน์ ศรีสมวงศ์ ลูกชายคนโตเป็นผู้ดูแลกิจการมวยแทนที่อยู่ช่วงหนึ่งก่อนที่จะถ่ายโอนมาเป็น พล.ต.อ.โกวิท ภักดีภูมิ อย่างในปัจจุบัน

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2550


พุทธศักราช 879 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 336 - มีนาคม ค.ศ. 337
มหาศักราช 258 พ.ศ. 879 วันเกิด

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2550

เดอะบลูมาร์เบิล
เดอะบลูมาร์เบิล (The Blue Marble) เป็นรูปภาพที่มีชื่อเสียงมาก ถ่ายจากอวกาศโดยยานอพอลโล 17 เมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1972 เป็นภาพถ่ายภาพแรกที่เห็นโลกทั้งใบ ชื่อของภาพเกิดจากรูปไปเหมือนกับลูกหินกลมลายหินอ่อนสีฟ้านั่นเอง

ภาพถ่ายปี ค.ศ. 1972

The one, the only, photograph of Earth รายการบอกว่าภาพนี้ถูกนำไปใช้ที่ไหนบ้าง
Apollo Image Atlas Photos from magazine NN of the 70mm Hasselblad camera used on Apollo 17 (รวมถึงเดอะบลูมาร์เบิล และภาพอื่น ๆ ที่ใกล้เคียง)

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2550

ถนนราชดำเนิน
ถนนราชดำเนิน เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยถนน 3 สาย ได้แก่

ถนนราชดำเนินใน (Thanon Ratchadamnoen Nai) อยู่ในท้องที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร มีระยะทางตั้งแต่ถนนหน้าพระลาน เลียบสนามหลวงด้านทิศตะวันออก ขึ้นไปทางทิศเหนือจนถึงสะพานผ่านพิภพลีลา
ถนนราชดำเนินกลาง (Thanon Ratchadamnoen Klang) อยู่ในท้องที่แขวงตลาดยอดและแขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร มีระยะทางตั้งแต่สะพานผ่านพิภพลีลา ไปทางทิศตะวันออก ผ่านสี่แยกคอกวัว อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และป้อมมหากาฬ สิ้นสุดที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ
ถนนราชดำเนินนอก (Thanon Ratchadamnoen Nok) มีระยะทางตั้งแต่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในท้องที่แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร ตัดกับถนนวิสุทธิกษัตริย์ (สี่แยก จ.ป.ร.) เข้าสู่ท้องที่แขวงบางขุนพรหม ตัดกับถนนกรุงเกษม (สี่แยกมัฆวานรังสรรค์) เข้าสู่ท้องที่แขวงดุสิต เขตดุสิต จากนั้นตัดกับถนนพิษณุโลก (สี่แยกสวนมิสกวัน) และมุ่งไปทางทิศเดิมจนถึงถนนศรีอยุธยา (สี่แยกหน้าลานพระบรมรูปทรงม้า)

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2550


หน่วยความจำภายนอก (external memory) หมายถึง สื่อต่าง ๆ ที่ใช้เป็นตัวเก็บข้อมูลเพิ่มจากหน่วยความจำหลัก (main memory) ในคอมพิวเตอร์ เช่น แถบบันทึก (tape) จานบันทึก (disk) เพราะราคาถูกกว่ามาก ถึงจะไม่เปิดไฟ ก็สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ หน่วยความจำหลักในคอมพิวเตอร์นั้นไม่มีที่พอจะนำข้อมูลจำนวนมาก ๆ เข้าไปเก็บไว้ได้หมด (ยิ่งมีขนาดใหญ่ ก็ยิ่งแพงมาก) เพื่อช่วยประหยัด เราอาจเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำรอง หรือหน่วยความจำช่วย (auxiliary storage) นี้ก่อน และจะดึงไปไว้ในหน่วยความจำหลักเฉพาะเมื่อเวลาต้องการเรียกใช้ มีความหมายเหมือน external storage, secondary memory และ auxiliary storage
หน่วยความจำภายนอก
เขตภาษีเจริญ
เขตภาษีเจริญ เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครอง ของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตตากสิน ซึ่งถือเป็นแหล่งจ้างงานใหม่ แหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก และศูนย์ราชการทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร

ที่ตั้งและอาณาเขต
ชื่อของเขตนั้นนำมาจากชื่อของ คลองภาษีเจริญ ที่ขุดขึ้นเชื่อมแม่น้ำท่าจีน (ที่ตำบลดอนไก่ดี อำเภอกระทุ่มแบน แขวงเมืองสมุทรสาคร) กับคลองบางกอกใหญ่ เพื่อเป็นการสัญจรทางน้ำ ซึ่งเน้นการส่งอ้อยและน้ำตาลจากต่างจังหวัดเข้าสู่เมืองหลวง โดยเริ่มขุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2401 เสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2415 และชื่อคลองตั้งตามชื่อพระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ต่อมาเป็น พระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์) ผู้เป็นแม่กองดูแลงานขุดคลองนี้

ที่มาของชื่อเขต
จากนั้นมีผู้คนย้ายมาตั้งถิ่นฐานอยู่ริมคลองภาษีเจริญมากขึ้นเป็นชุมชนใหญ่ ราชการจึงได้จัดตั้ง อำเภอภาษีเจริญ ขึ้นในปี พ.ศ. 2442 มีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดธนบุรี ซึ่งภายหลังได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและกรุงเทพมหานคร และได้เปลี่ยนการเรียกเขตการปกครองใหม่ด้วย อำเภอภาษีเจริญจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตภาษีเจริญ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 มีหน่วยการปกครองย่อย 10 แขวง และต่อมากรุงเทพมหานครได้จัดตั้งเขตภาษีเจริญ สาขา 1 ดูแลแขวงบางแค บางแคเหนือ และบางไผ่ และในปี พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศแบ่งพื้นที่ปกครองของเขตภาษีเจริญ สาขา 1 ออกไปตั้งเป็นเขตบางแค

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2550


โรงเรียนจิตรลดา เป็นโรงเรียนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้นสำหรับพระราชโอรสและพระราชธิดา บุตรข้าราชบริพารในพระราชวัง ตลอดจนเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปได้ร่วมเรียน ตั้งอยู่ในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ เปิดสอนชั้นอนุบาลขึ้น ณ ห้องชั้นล่างของพระที่นั่งอุดร บริเวณพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2498 ด้วยมีพระราชประสงค์ให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาได้ทรงเรียนร่วมกับเด็กอื่นๆ อีก 7 คน นับเป็นนักเรียนรุ่นแรกของโรงเรียน โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา ทรงมีเลขประจำตัวนักเรียน หมายเลข 1
ต่อมาเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2500 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารเรียนชั้นเดียวในบริเวณสวนจิตรลดา และพระราชทานนามโรงเรียนว่า โรงเรียนจิตรลดา และได้จดทะเบียนเป็นโรงเรียนราษฎร์ และได้ขยายชั้นเรียนจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลายตั้งแต่ปีการศึกษา 2511 โดยรับนักเรียนทั่วไป ตามกฎเกณฑ์ของโรงเรียนแต่ละปีการศึกษา เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนทั่วไปได้เข้ามาเรียนโดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นเชื้อพระวงศ์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นค่าใช้จ่ายของโรงเรียนมาจนถึงปัจจุบัน นักเรียนที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้ามาเรียนในโรงเรียนจิตรลดา จึงไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน

โรงเรียนจิตรลดา ผู้บริหาร
โรงเรียนจิตรลดามีจุดกำเนิดจากความรักและความห่วงใยของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ความรัก ในฐานะผู้ปกครองแผ่นดิน พระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีต่อพสกนิกรในทุก ๆ ด้าน ไม่เว้นแม้แต่เรื่องพัฒนาการศึกษา
ความรัก และในฐานะผู้ให้กำเนิด ทั้งสองพระองค์ทรงให้ความใส่พระราชหฤทัย ในการเลี้ยงดูพระราชโอรสและพระราชธิดาอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะสมเด็จพระนางเจ้าฯ บรมราชินีนาถ ทรงทำหน้าที่พระราชมารดาได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เช่น ทรงทำอาหารว่าง หรือทรงเล่านิทานพระราชทานแก่ พระราชโอรส และพระราชธิดา ก่อนบรรทมด้วยพระองค์เอง
ด้วยความรักทั้งสองประการได้หลอมรวมให้เกิดแนวพระราชดำริที่จะตั้งโรงเรียน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปิดโรงเรียนอนุบาลขึ้นในเขตพระราชฐาน และโปรดเกล้าฯ ให้ ดร.ทัศนีย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา (ท่านผู้หญิงทัศนีย์ บุณยคุปต์)รับสนองพระบรมราโชบายเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2498

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2550

แคลคูลัสเวกเตอร์
ทฤษฎีบทมูลฐานของแคลคูลัส | ฟังก์ชัน | ลิมิตของฟังก์ชัน | ความต่อเนื่อง | แคลคูลัสกับพหุนาม | ทฤษฎีบทค่าเฉลี่ย | แคลคูลัสเวกเตอร์ | แคลคูลัสเทนเซอร์
กฎผลคูณ | กฎผลหาร | กฎลูกโซ่ | อนุพันธ์โดยปริยาย | ทฤษฎีบทของเทย์เลอร์
แคลคูลัสเวกเตอร์ เป็นแขนงหนึ่งของคณิตศาสตร์ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของของเวกเตอร์ในมิติที่สูงกว่าหรือเท่ากับสองมิติ เนื้อหาประกอบด้วยเทคนิคในการแก้ปัญหา และ สูตรคำนวณที่เกี่ยวข้องต่างๆ ซึ่งมีประโยชน์ใช้งานมากในทางวิศวกรรม และ ฟิสิกส์
สนามเวกเตอร์ ใช้หมายถึง การระบุค่าเวกเตอร์ให้กับทุกๆ จุดในปริภูมิที่พิจารณา เช่นเดียวกับ สนามสเกลาร์ ซึ่งเป็นการระบุค่าสเกลาร์ให้กับทุกๆ จุดในปริภูมิ เช่น อุณหภูมิของน้ำในสระ เป็นสนามสเกลาร์ โดยเป็นการระบุค่าอุณหภูมิ ซึ่งเป็นปริมาณสเกลาร์ให้กับแต่ละตำแหน่ง ส่วนการไหลของน้ำในสระนั้นเป็นสนามเวกเตอร์ เนื่องจากการไหลของน้ำที่แต่ละจุดนั้นจะถูกระบุด้วย เวกเตอร์ความเร็ว
ตัวดำเนินการที่สำคัญในแคลคูลัสเวกเตอร์:
ตัวดำเนินการอีกตัวหนึ่งคือ ตัวดำเนินการลาปลาซ ได้จากการประยุกต์ ไดเวอร์เจนซ์ และ เกรเดียนต์ รวมกัน
ทฤษฎีที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับตัวดำเนินการดังกล่าว คือ
การวิเคราะห์เหล่านี้สามารถทำความเข้าใจได้ไม่ยาก โดยการใช้วิธีการทางเรขาคณิตเชิงอนุพันธ์ (แคลคูลัสเวกเตอร์ เป็นสาขาย่อยหนึ่งของ เรขาคณิตเชิงอนุพันธ์)
เกรเดียนต์ (gradient) ใช้สัญลักษณ์ ,operatorname{grad}~varphi, หรือ ,nablavarphi, : เป็นตัวดำเนินการใช้วัดอัตรา และ ทิศทาง ความเปลี่ยนแปลงของสนามสเกลาร์ ดังนั้นเกรเดียนต์ของสนามสเกลาร์ จะได้เป็นสนามเวกเตอร์
ไดเวอร์เจนซ์ (divergence) ใช้สัญลักษณ์ ,operatorname{div}~vec F, หรือ ,nabla cdot vec F, : เป็นตัวดำเนินการใช้วัด ความลู่เข้า หรือ ลู่ออก(เป็นจุดกำเนิดสนาม)ของ สนามเวกเตอร์ ณ จุดใดๆ
เคิร์ล (curl) ใช้สัญลักษณ์ ,operatorname{curl}~vec F, หรือ ,nablatimesvec F, : เป็นตัวดำเนินการใช้วัดระดับความหมุนวน ณ จุดใดๆ โดย เคิร์ลของสนามเวกเตอร์ จะได้เป็นอีกสนามเวกเตอร์หนึ่ง
ทฤษฎีเกรเดียต์
ทฤษฎีไดเวอร์เจนซ์
ทฤษฎีของสโตคส์